เรื่องทำให้ฉลามหยุดเคลื่อนไหว มันเป็นเหมือนเรื่องที่ไม่สามารถอธิบายได้ แต่ความจริงมันเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาก หากคุณจับที่จมูกของมัน ฉลามจะชะงัก ว่ายด้วยความงง หรืออาจถึงขนาดหยุดการเคลื่อนไหวไปนานถึง 15 นาที เรื่องนี้สามารถทำได้กับฉลามแทบทุกชนิด
สิ่งที่เรียกว่า Tonic immobility
Tonic immobility คือภาวะสะท้อนกลับของอัมพาตที่มีอยู่ในหลากหลายสายพันธุ์ ตั้งแต่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แมลง ไปจนถึงปลาหลายชนิด สิ่งนี้มีตัวกระตุ้นหลายอย่าง มนุษย์สามารถเข้าสู่สภาวะนี้เนื่องจากอาการบาดเจ็บได้ ในขณะที่ไก่สามารถ “สะกดจิต” ได้โดยการจับหัวไก่ให้ปากไก่ใกล้พื้น จากนั้นก็เอานิ้ว (หรือดินสอ) ลากเส้นจากปากไก่ไปที่พื้นด้านนอก เมื่อทำสำเร็จไก่นิ่ง (เอาไปลองทำดูก็ได้) วิธีปลุกก็สะกิดมันแรงหน่อยๆ
ในกรณีฉลามที่มี Tonic immobility ที่รุนแรง มันสามารถถูกกระตุ้นได้ด้วยการกระทำสองอย่าง อย่างแรกคือ พลิกฉลามทั้งตัวกลับหัวกลับหาง หรืออย่างที่สอง (ในฉลามบางตัว) แค่เอามือจับจมูกของมัน ก็อาจทำให้นิ่งไปเลย
นักประดาน้ำที่เชี่ยวชาญสามารถคว้าจับจมูกของฉลาม แล้วนวดให้ยอมจำนนก่อนที่จะพลิกตัว ปล่อยให้นักดำน้ำติดแท็ก – ตรวจสอบร่างกาย เพียงแค่เพื่อป้องกันพวกมันเข้ามาใกล้เกินไป ในคลิปเป็นฉลามเสือขนาด 4 เมตร เป็นการแสดงวิธีหยุดฉลามด้วยการจับที่จมูกและพลิกตัวมันเพื่อติดแท็ก มันดูง่าย แค่ความจริงไม่ง่ายในทางปฏิบัติ
เมื่อวางมือเบาๆ ที่จมูกทั้งสองข้างใกล้กับตาฉลาม เชื่อกันว่า Ampullae of Lorenzini จะถูกกระตุ้นมากเกินไป และฉลามจะกลายเป็นอัมพาต สิ่งนี้มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะกับ “ฉลามเสือ” แต่มีอัตราความสำเร็จต่ำกับ “ฉลามขาว” โดยไม่ทราบสาเหตุ บางคนคาดการณ์ว่าจมูกของฉลามขาวนั้นใหญ่เกินกว่าจะกระตุ้นรูขุมขนได้สำเร็จ