‘ออร์ก้า’ เรียนรู้วิธีกินบุฟเฟ่ต์ฟรีมากขึ้น แถมยังสอนเพื่อนให้ทำเช่นเดียวกัน

หากคุณให้ปลาหนึ่งตัว เขาจะมีกินเพียงหนึ่งวัน แต่หากสอนเขาจับปลา เขาจะมีกินตลอดชีวิต นี่คือสุภาษิตที่หลายคนน่าจะเคยได้ยิน แต่มันไม่เหมือนเรื่องของ "ออร์ก้า" เพราะเมื่อคุณให้ปลากับออร์ก้าหนึ่งตัว มันจะกินได้หนึ่งวัน แน่นอนว่ามันไม่พอใจ และแม้คุณจะพยายามเก็บปลาให้พ้นจากออร์ก้า มันก็หาวิธีกินจนได้ แถมไม่ต้องให้คุณสอนมัน ซ้ำยังไปสอนเพื่อนๆ ของมันให้ทำเช่นเดียวกันอีกด้วย .. คลิปท้ายเรื่อง

กินบุฟเฟ่ต์ฟรี

ออร์ก้าหรือที่รู้จักในชื่อวาฬเพชฌฆาต เป็นที่ทราบกันมานานแล้วว่ามันเป็นสัตว์น้ำที่ฉลาดมาก และยังชอบกินปลาที่ผู้คนจับ ไม่ว่าจะจับด้วยเบ็ดราวหรืออวน และบทความใหม่ที่ตรวจสอบปรากฏการณ์นี้ ได้วาดภาพว่าสัตว์ที่มีความซับซ้อนทางสังคมตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปตามกิจกรรมของมนุษย์อย่างไร

งานที่ตีพิมพ์ล่าสุดในวารสาร Biology Letters ได้วิเคราะห์ข้อมูลหลายปี ที่เกี่ยวข้องกับประชากรวาฬเพชฌฆาตสองกลุ่มที่แตกต่างกัน ใกล้หมู่เกาะโครเซตในมหาสมุทรอินเดีย

ตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมา ภูมิภาคนี้กลายเป็นจุดจับปลาเชิงพาณิชย์ของปลา Patagonian toothfish ซึ่งเป็นปลาที่มักออกวางตลาดภายใต้ชื่อ “Chilean sea bass” (บ้านเราอาจเรียกปลาหิมะ)

โดยปลาชนิดนี้จะจับด้วย “เบ็ดราว” ที่มีความยาวหลายกิโลเมตร ซึ่งหมายความว่าเบ็ดตกปลาขนาดใหญ่หนึ่งเส้นจะมีเหยื่อและตะขอนับพันตัว และทั้งหมดจะถูกทิ้งไว้ในทะเลเป็นเวลานาน ก่อนจะถูกเก็บขึ้นเรือ

เมื่อสายเบ็ดถูกลากขึ้นมาจากน้ำลึก สิ่งนี้จะกลายเป็น “สายพานลำเลียงในซูชิบาร์” อย่างที่ Luke Rendell อาจารย์สอนชีววิทยาชาวสก็อตที่ไม่เกี่ยวข้องกับการศึกษานี้ นำมารวมไว้ในบทความสำหรับ The Conversation

ปลาหิมะ

นักวิจัยดูข้อมูลทั้งแต่ปี 2003 – 2018 และตั้งข้อสังเกตว่า เหตุการณ์ที่วาฬเพชรฆาตกินปลาจากเบ็ดที่เรียกว่า “การปล้นสะดม” ค่อยๆ เพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ดูเหมือนว่าจะเกิดจากการที่วาฬเพชฌฆาตแต่ละตัว จดจำเอาพฤติกรรมของกันและกัน หนึ่งในประชากรวาฬเพชฌฆาตที่นักวิทยาศาสตร์ศึกษา ได้รับรายงานครั้งแรกว่ากินปลาที่จับด้วยเบ็ดราวได้ในปี 1996 จากนั้นภายในปี 2014 วาฬเพชฌฆาตทั้งหมด 80 – 100 ตัวในกลุ่มได้เริ่มทำตาม




Advertisements
นอกจากง่ายเมื่อมันต้องหากินปลาจากสายเบ็ดแล้ว อีกเหตุผลหนึ่งที่เอื้อต่อพฤติกรรมการจับปลาแบบนี้ อาจเป็นเพราะการจับปลามากเกินไปของมนุษย์ โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษ 2000 และเมื่อจำนวนประชากรปลาเล็กลดลง มันกลายเป็นเรื่องยากมากขึ้นสำหรับนักล่าอย่างวาฬเพชฌฆาต ที่จะจับปลาทูน่าด้วยตัวเอง แต่จากนั้นพวกมันก็พบกับโอกาสที่ “เพิ่มขึ้นแถมยังคาดเดาได้” ในการเอาเหยื่อออกจากสายเบ็ด

โดยรวมแล้ว นักวิจัยรู้สึกประทับใจกับการประมงเชิงพาณิชย์ ที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของวาฬเพชรฆาตได้ และยังโชคดีมากที่วาฬเพชรฆาตฉลาดซะจนยากที่มันจะติดเบ็ดซะเอง

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements