ค้นพบ กระต่าย ที่หายไปนานกว่า 120 ปี

แม้ว่ากระต่ายจะได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ที่ขยายพันธุ์ได้เร็วมากๆ จนเมื่อมีการพูดถึงอะไรก็ตามที่ขยายพันธุ์ได้เร็ว ก็มักจะเอาไปเทียบกับกระต่าย! แต่ก็ใช่ว่ากระต่ายทุกชนิดที่ขยายพันธุ์ได้เร็ว บนโลกยังมีกระต่ายที่ประชากรที่น้อยมากๆ น้อยซะจนกลายเป็นกระต่ายในตำนาน และในเรื่องนี้ ผมจะมาพูดถึงกระต่ายที่เพิ่งมีรายงานการค้นพบเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา มันคือ กระต่ายหางฝ้ายโอมิลเตเม ซึ่งไม่มีบันทึกทางวิทยาศาสตร์มานานถึง 120 ปี

การค้นพบ กระต่ายหางฝ้าย โอมิลเตเม

Advertisements

กระต่ายหางฝ้ายโอมิลเตเม หรือ โอมิลเตเม คอตเทินเทล (Omilteme cottontail) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ซิลวิลากัส อินโซนัส (Sylvilagus insonus) จัดเป็นกระต่ายที่สาบสูญไปตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1900 และเป็นหนึ่งในกระต่ายที่หายากที่สุดในโลก มันเป็นกระต่ายที่ถูกอธิบายเมื่อปี พ.ศ. 2447 (1904) ซึ่งเป็นการอธิบายจากตัวอย่างไม่กี่ตัว

กระต่ายหางฝ้าย เป็นกระต่ายป่าที่มีหูค่อนข้างยาว มีกะโหลกใหญ่ ซึ่งไม่นานมานี้ มันได้ถูกพบอีกครั้งในเทือกเขา เซียร์รา มาเดร เดล ซูร์ (Sierra Madre del Sur) ของเม็กซิโก โดยการค้นพบนี้ เกิดขึ้นจากความพยายามล่าสุดของกลุ่มนักนิเวศวิทยา ที่เดินทางไปยัง 10 ภูมิภาคในเทือกเขาเป้าหมาย แล้วยังต้องใช้เวลาถึง 5 ปี จนในที่สุดพวกเขาก็ได้พบกับกระต่ายหายากชนิดนี้ 1 ตัว ในภูมิภาคที่ 7 ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในโครงการ เซิร์ช ฟอร์ ลอสต์ สปีชีส์ (Search for Lost Species)

ทั้งนี้! กระต่ายหางฝ้าย ถือเป็นสัตว์ชนิดที่ 13 ที่ถูกค้นพบจากความพยายามของโครงการนี้ ซึ่งมีเป้าหมายในการตามหาสายพันธุ์ที่หายไป

หนึ่งในนักนิเวศวิทยา ได้กล่าวว่า “แค่รู้ว่ามันผ่านกาลเวลามากว่า 100 ปีแล้ว ที่ไม่มีนักวิจัยคนไหนได้เห็นกระต่ายชนิดนี้ ไม่มีแม้แต่รายงานที่น่าเชื่อถือได้ อย่าว่าแต่ตัวที่มีชีวิต แม้แต่ภาพถ่ายก็ไม่เคยมี …มันจึงเป็นเรื่องที่น่าเหลือเชื่อ ที่ได้มีการพบมันอีกครั้ง!!

กระต่ายหางฝ้ายโอมิลเตเม ต่างจากกระต่ายหางฝ้ายชนิดอื่น

กระต่ายหางฝ้ายโอมิลเตเม ที่เพิ่งค้นพบนี้ ต่างจากชนิดอื่น ตรงที่มันไม่มีหางกลมสีขาวที่ดูฟูฟ่อง แต่กลับมีหางสั้นๆ สีดำแทน! แต่ถึงอย่างงั้น ก็ไม่แน่ว่า ตัวอื่นอาจมีหางสีอื่น นั้นเพราะที่ผ่านมา มีตัวอย่างของกระต่างชนิดนี้น้อยจนเกินไป

และแม้หางสีดำจะเป็นลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด ที่สามารถแยกกระต่ายหางฝ้ายโอมิลเตเม ออกจากกระต่ายหางฝ้ายชนิดอื่นๆ แต่ก็ไม่ใช่ลักษณะทางกายภาพเพียงอย่างเดียว ที่ทำให้นักวิจัยแยกความแตกต่างของมันออกจากกระต่ายในพื้นที่! ความจริง กระต่ายหางฝ่ายที่หายากชนิดนี้ จะตัวเล็กกว่าและหูก็เล็กกว่าด้วย

ในเรื่องขนาดตัวของกระต่ายชนิดนี้! แม้ที่ผ่านมาจะมีตัวอย่างเพียงไม่กี่ตัว แถมไม่มีแม้แต่ภาพหลักฐานเก็บเอาไว้เลย แต่ก็พอจะบอกได้ว่า มันมีกระโหลกศีรษะยาวประมาณ 78 มิลิเมตร กว้างประมาณ 32 มิลิเมตร มีช่องสมองค่อนข้างกว้าง มีหูยาวประมาณ 50 มิลิเมตร ซึ่งวัดจากฐาน เท้าหลังยาวปานกลางที่ประมาณ 80 มิลิเมตร และมีหางที่สั้นมาก ..น่าเสียดายที่ยังมีการระบุขนาดตัวและน้ำหนักที่น่าเชื่อถือเอาไว้!

ในเรื่องถิ่นอาศัยที่แท้จริงของกระต่ายชนิดนี้ ถือว่าจำกัดมากๆ มันเป็นสัตว์ประจำถิ่นที่พบได้เฉพาะในป่าสนของ เซียร์รา มาเดร เดล ซูร์ (Sierra Madre del Sur) ซึ่งเป็นเทือกเขาทางภาคใต้ของเม็กซิโก โดยมันจะอาศัยอยู่ที่ความสูงระหว่าง 2,133 – 3,048 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล และอยู่ในพื้นที่จำกัดเพียง 500 ตารางกิโลเมตร หรือก็คือ 1 ใน 3 ของพื้นที่กรุงเทพเท่านั้น! ซึ่งน้อยมากๆ สำหรับสัตว์ป่าอย่างกระต่าย

Advertisements

สุดท้ายแม้ว่าในตอนนี้ นักวิจัยจะยังไม่รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับ นิเวศวิทยา พฤติกรรม รวมถึงขนาดประชากรที่แท้จริงของกระต่ายชนิดนี้ แต่ในเมื่อพวกเขาได้พบตัวอย่างใหม่ มันก็จะเป็นความหวังที่จะให้นักวิจัยได้เรียนรู้เรื่องของพวกมันในอนาคต

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements