ไอโซพอดยักษ์ ‘สายพันธุ์ใหม่’ ถูกพบที่ส่วนลึกที่สุดของมหาสมุทร

นักวิจัยระบุสายพันธุ์ใหม่ของครัสเตเชียน มันเป็น 'ไอโซพอดยักษ์' ที่อาศัยอยู่ในส่วนที่ลึกที่สุดของมหาสมุทร และไอโซพอดยักษ์ชนิดนี้ถูกเรียกว่า Bathynomus yucatanensis ตามผลการศึกษาใหม่ใน Natural History

จากการศึกษาแบบพิชญพิจารณ์ (Peer review) ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Natural History โดยนักวิจัยจากไต้หวัน ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมการประมงต่อชีววิทยาทางทะเล

ในตอนนี้เรารู้จัก ‘ไอโซพอด’ ประมาณ 20 สปีชีส์ และ Bathynomus ซึ่งเป็นสกุลที่ไม่ค่อยมีใครเข้าใจในตัวพวกมัน เนื่องจากแหล่งที่อยู่อาศัยที่ห่างไกลและยังลึกมากอีกด้วย .. Bathynomus มีความเกี่ยวข้องกับสัตว์เดคาโพดา (Decapods) เช่น กุ้ง ปู เป็นต้น

ไอโซพอดยักษ์ (Bathynomus) และกุ้งทะเลน้ำลึก (red deep-sea shrimp) ที่ Tokyo Sea Life Park ประเทศญี่ปุ่น

จากการค้นพบ B. yucatanensis ซึ่งเป็นสายพันธุ์ใหม่ ขณะนี้จึงมี Bathynomus อยู่ 3 สายพันธุ์ที่รู้จัก อาศัยอยู่ในอ่าวเม็กซิโก รวมทั้ง B. maxeyorum และ B. giganteus ..นักวิจัยตั้งข้อสังเกตว่า B. yucatanensis มีความแตกต่างทางกายภาพอย่างมีนัยสำคัญจากอีกสองสายพันธุ์

ความแตกต่างทางกายภาพ? ..เมื่อ B. yucatanensis เทียบกับ B. giganteus แล้ว B. yucatanensis ดูจะมีสัดส่วนของร่างกายที่เรียวกว่าและมีความยาวรวมที่สั้นกว่า … และ Pereopods (แขนขาของทรวงอก) ก็ดูเรียวกว่า”

นอกจากนี้ B. yucatanensis ยังมีหนวดที่ยาวกว่าและมีหนาม Pleotelson จำนวนเท่ากัน ซึ่งยื่นออกมาจากปลายหางเหมือน B. giganteus

นักวิจัยกล่าวเสริมว่า Bathynomus บางชนิด ตกเป็นเป้าหมายของการประมงอวนลากในทะเลลึก ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องตระหนักว่าสัตว์ชนิดนี้ก็ตกอยู่ในอันตราย

ไอโซพอดยักษ์เป็นสัตว์กินเนื้อ และเมื่อโยนจระเข้ลงไป

Advertisements

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements