ในแม่น้ำออสเตรเลียเมื่อ วันที่ 25 พ.ย. เว็บไซต์เดอะซัน เผยแพร่วิดีโอการเผชิญหน้าระหว่าง ฉลามหัวบาตร กและ จระเข้น้ำเค็ม ในแม่น้ำออร์ด ทางตะวันตกเฉียงเหนือไกลของออสเตรเลีย
นางเชลซี วูด และ นายไบรซ์ คอนโนล บันทึกวิดีโอช็อตเด็ดขณะพักผ่อนวันหยุด และแชร์ทางยูทูบแชนเนล Caravan Adventure Aus เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
นางวูดให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอ็นซีเอว่า คนมากมายตกปลาและเด็กๆ เล่นน้ำกัน จึงไม่ค่อยสนใจเท่าไรนัก
“เราสองคนออกไปตกปลาในน้ำลึกถึงหัวเข่า ห่างหลายเมตรจากจุดที่เราเห็นจระเข้ในเวลาต่อมา” นางวูดบอกด้วยว่า จระเข้มีความยาวเกือบ 5 เมตร
วิดีโอดังกล่าวบันทึกจากมุมสูงด้วยโดรน เผยฉลามหัวบาตรว่ายน้ำห่างจากจระเข้ตัวใหญ่กว่า หลังเห็นมันใกล้ๆ ฉลามหัวบาตรจึงดูเล็กกระจิดริดทีเดียวเมื่อเทียบกับจระเข้ตัวดังกล่าวที่เป็นพันธุ์น้ำเค็ม สัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
จระเข้บางตัวในออสเตรเลียโตเต็มที่ด้วยลำตัวยาวถึง 6 เมตร น้ำหนักมากถึง 1,300 กิโลกรัม ส่วนฉลามหัวบาตรตัวผู้จะโตเต็มที่ด้วยลำตัวยาวถึง 2 เมตร
เกี่ยวกับจระเข้น้ำเค็ม
จระเข้น้ำเค็ม หรือ จระเข้น้ำกร่อย หรือ ไอ้เคี่ยม (Saltwater crocodile) ชื่อวิทยาศาสตร์ Crocodylus porosus เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ ในวงศ์ Crocodylidae
มักอาศัยอยู่ในป่าโกงกางหรือป่าชายเลนในที่ที่เป็นน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม ตัวผู้จะถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 16 ปี ตัวเมียอายุ 10 ปี แต่จะให้ไข่ที่สมบูรณ์เมื่ออายุ 12 ปี มีขนาดยาว 2.2 เมตร
มีการผสมพันธุ์ในฤดูร้อนและวางไข่ในฤดูฝน ครั้งละ 25-90 ฟอง การวางไข่จะใช้เวลาประมาณ 20-25 นาที ใช้ระยะเวลาในการฟักไข่ประมาณ 80 วัน ขนาดของไข่จระเข้น้ำเค็มจะใหญ่กว่าจระเข้น้ำจืดเล็กน้อย มีน้ำหนักประมาณ 110-120 กรัม
จระเข้น้ำเค็มมีอุปนิสัยดุร้ายมาก สามารถโจมตีสัตว์ที่โดยปกติไม่ใช่อาหารได้ เช่น มนุษย์ เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบางถิ่นของออสเตรเลียที่ขึ้นชื่ออย่างยิ่งในเรื่องการโจมตีมนุษย์ของจระเข้น้ำเค็ม อีกทั้งมีการกัดของกรามได้อย่างรุนแรงมากที่สุดในโลก โดยมีแรงมากถึง 1,700 ปอนด์ และสามารถกระโดดงับเหยื่อได้ ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้ในสัตว์เลื้อยคลายขนาดใหญ่เช่นนี้ จนกระทั่งมีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า “Man Eater” ซึ่งในสวนสัตว์บางแห่งได้ใช้ความสามารถพิเศษอันนี้หลอกล่อให้จระเข้กระโดดงับเหยื่อที่แขวนล่อไว้เพื่อแสดงแก่ผู้ที่มาเยี่ยมชม
9 อันดับ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก
สงครามระหว่างผู้อาศัยท้องถิ่นกับปลาช่อน ที่ดำเนินมานานกว่า 18 ปี