หอยแมลงภู่ยักษ์ เคยมีมากในน่านน้ำของประเทศสเปน เป็นหอยที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมาก แต่! จนกระทั้งปี 2016 นักวิจัยก็พบว่า ตัวเลขของพวกมันได้ลดลงไปถึง 99.9% มันถึงจุดที่ยากมากๆ ที่จะช่วยให้รอดพ้นจากการสูญพันธุ์
ในน่านน้ำตื้นที่เป็นทุ่งหญ้าทะเลของพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำ Ebro ประเทศสเปน แทบไม่มีพื้นผิวที่เป็นของแข็งสำหรับสิ่งมีชีวิตให้ยืดเกาะติดได้เลย แต่บริเวณนี้คือที่อยู่ของหอยแมลงภู่ยักษ์ (Pinna nobilis) นอกจากนี้ยังมี ฟองน้ำทะเล ดอกไม้ทะเล สาหร่าย และสิ่งมีชีวิตที่จำเป็นต้องหาที่ยืดเกาะ ซึ่งพวกมันทั้งหมดจะอาศัยอยู่บนเปลือกหอยแมลงภู่ยักษ์นี้ ในขณะที่หมึก หอยนางรม และปลาบางชนิดจะอาศัยอยู่ภายในเปลือก
จากที่กล่าวมา จะเห็นว่าหอยชนิดนี้มีความสำคัญต่อระบบนิเวศมากเพียงใด เพราะไม่เพียงแค่ตัวมัน แต่ยังรวมถึงสัตว์ชนิดอื่นๆ อีกมากมาย แต่ทำไมพวกมันจึงตายเกือบหมด?
ไม่ใช่ฝีมือมนุษย์?
หลายคนอาจคิดว่ามนุษย์ควรเป็นผู้ต้องหาหลัก ที่ทำให้ประชากรหอยชนิดนี้ต้องตายไปถึง 99.99% แต่ความจริงแล้ว หอยแมลงภู่ยักษ์ได้ตกเป็นเหยื่อของปรสิตที่ชื่อ Haplosporidium pinnae โดยตั้งแต่ปี 2016 ปรสิตชนิดนี้ทำให้ประชากรหอยหายไปถึง 99.9% ลดลงจากหลักหลายล้านตัวเหลือเพียงหลักพันตัว
จนในปี 2019 จากเหตุการณ์การตายจำนวนมากนี้ นำไปสู่การเพิ่มชื่อหอยแมลงภู่ยักษ์ (Pinna nobilis) ในรายการสีแดงของสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ให้อยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ขั้นวิกฤต
และในตอนนี้ก็มีความพยายามอนุรักษ์สายพันธุ์นี้อยู่ แต่มันก็ไม่ง่าย เพราะสิ่งที่ฆ่าหอยคือปรสิตที่อาศัยอยู่ในน้ำ และมันก็อันตรายผิดปกติ อาจเพราะเกิดจากมนุษย์ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม .. แต่แม้จะยาก นักวิจัยก็ยังพยายามหาทางอยู่