งานวิจัยใหม่ที่ตีพิมพ์ใน Earth and Planetary Science Letters ได้อธิบายว่า แร่ไตรไดไมต์ (tridymite) ไปอยู่ที่นั้นได้อย่างไร และน้ำในทะเลสาบกับภูเขาไฟบนดาวอังคารสร้างไตรไดไมต์ได้อย่างไร
Dr Kirsten Siebach ผู้เขียนร่วมจากมหาวิทยาลัยไรซ์ กล่าวว่า “การค้นพบไตรไดไมต์ในหินโคลนใน Gale Crater เป็นหนึ่งในข้อสงสัยที่น่าประหลาดใจที่สุด ที่ยานสำรวจคิวริออสซิตี้ (Curiosity) ได้ทำขึ้นในช่วง 10 ปีของการสำรวจดาวอังคาร
“ไตรไดไมต์ (tridymite) มักเกี่ยวข้องกับระบบภูเขาไฟที่ก่อตัวเป็นผลึก ระเบิดและวิวัฒนาการบนโลก แต่เรากลับพบมันที่ก้นทะเลสาบโบราณบนดาวอังคาร ซึ่งภูเขาไฟที่นั้นส่วนใหญ่มีความเก่าแก่มาก”
สถานการณ์ที่พวกเขาเสนอ สามารถอธิบายลักษณะเฉพาะทั้งหมดของการค้นพบนี้ได้ แมกมาดาวอังคาร อาจอยู่สงบนิ่งอยู่ใต้ภูเขาไฟนานกว่าปกติ จนเกิดการตกผลึกจนมีปริมาณซิลิกอนเพิ่มขึ้น ก่อนจะถูกพ่นออกมาในก้อนเถ้าถ่านขนาดใหญ่ที่มีไตรไดไมต์
“จริงๆ แล้วมันเป็นวิวัฒนาการที่ตรงไปตรงมาของหินภูเขาไฟอื่นๆ ที่เราพบในปล่องภูเขาไฟทั่วไป” Siebach กล่าว
“เราโต้แย้งว่าเนื่องจากเราเห็นแร่นี้เพียงครั้งเดียว ภูเขาไฟจึงอาจปะทุในเวลาเดียวกับที่ทะเลสาบอยู่ที่นั่น”
ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ได้เกิดภูเขาไฟระเบิดบนดาวอังคารเมื่อกว่า 3 พันล้านปีก่อน เนื่องจากดาวกำลังเปลี่ยนจากโลกที่เปียกชื้นในอดีตเป็นทะเลทรายที่แห้งและเยือกเย็นในปัจจุบัน
“มีหลักฐานมากมายในการปะทุของภูเขาไฟบนดาวอังคาร แต่นี่เป็นสารเคมีที่มีวิวัฒนาการมากที่สุดเท่าที่เคยพบ” เธอกล่าว .. งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า ดาวอังคารอาจมีประวัติศาสตร์ภูเขาไฟที่ซับซ้อน และน่าสนใจมากกว่าที่เราจะจินตนาการ