ในตอนนี้ความรู้ทั้งหมดของเราที่เกี่ยวกับเนื้อของดาวอังคาร (Mars’s mantle) ซึ่งเป็นส่วนของหินที่อยู่นอกแกนกลางของดาวเคราะห์ มาจากอุกกาบาตบนดาวอังคาร จำนวน 3 ดวง ที่ตกลงบนพื้นโลกหลังการระเบิดอย่างรุนแรงบนดาวอังคารได้แก่ Shergotty, Nakhla และ Chassingy
โดยการวิเคราะห์ก่อนหน้านี้ของ Chassigny ซึ่งตกลงในฝรั่งเศสช่วงปี 1818 ได้พบไอโซโทปของซีนอน (Xenon) ซึ่งเป็นก๊าซเฉื่อยทางเคมีที่สามารถดำรงอยู่ได้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นเวลาหลายล้านปี ไอโซโทปเหล่านี้ .. อะตอมที่แตกต่างกันไปตามจำนวนนิวตรอน จะเกิดขึ้นในอัตราส่วนเฉพาะที่สามารถเชื่อมโยงกับสถานที่และเวลาได้
และอัตราส่วนไอโซโทปจาก Chassigny ดูเหมือนจะตรงกับอัตราส่วนของชั้นบรรยากาศดาวอังคารและเนบิวลาสุริยะ ซึ่งเป็นเมฆก๊าซขนาดใหญ่ที่ระบบสุริยะยุคแรกเริ่มก่อตัวขึ้น
สิ่งนี้จึงนำไปสู่สมมติฐานที่ว่า องค์ประกอบระเหยง่ายของดาวอังคาร เช่น ไฮโดรเจน คาร์บอน และออกซิเจน มาจากเนบิวลาสุริยะ และองค์ประกอบเพิ่มเติมมาจากอุกกาบาตซึ่งถูกเติมเข้ามาภายหลัง
ในตอนนี้ Sandrine Péron ที่ ETH Zurich ในสวิตเซอร์แลนด์และ Sujoy Mukhopadhyay จาก University of California เมือง Davis ได้วิเคราะห์ตัวอย่างจาก Chassigny เพื่อดูไอโซโทปของคริปทอน (krypton) เป็นก๊าซเฉื่อยอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งจะช่วยให้สามารถวัดได้แม่นยำยิ่งขึ้น
ด้วยคริปทอน เราจะเห็นความแตกต่างระหว่างแหล่งที่มาที่อาจเกิดขึ้น เช่น จากแสงอาทิตย์หรืออุกกาบาตได้ดีขึ้น ..แต่ไอโซโทปของคริปทอนนั้น วัดได้ยากกว่าไอโซโทปของซีนอน นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมมันจึงไม่เคยทำกันมาก่อน และที่สำคัญ นักวิจัยยังพบว่าไอโซโทปนี้ ยังบอกเป็นนัยว่า ชั้นบรรยากาศของดาวอังคารซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยไอโซโทปเนบิวลาสุริยะ ไม่ได้มาจากก๊าซที่หลั่งออกจากแสงอาทิตย์อย่างที่เราคิดไว้จนถึงตอนนี้
สุดท้าย.. งานวิจัยนี้ สามารถเปลี่ยนแปลงภาพที่เราเข้าใจเกี่ยวกับการก่อตัวของดาวอังคาร รวมทั้งสนับสนุนทฤษฎีการก่อตัวดาวเคราะห์ในระบบสุริยะของเราอีกด้วย