ตอนนี้ดาวอังคารมี ‘ขยะ’ หนักกว่า 7 ตัน อยู่บนพื้นผิวดาว

แม้ข่าวเกี่ยวกับการสำรวจดาวอังคารจะเพิ่งเห็นได้บ่อยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่รู้หรือไม่ว่าการสำรวจดาวอังคารมีมานานกว่า 50 ปี และตามรายงานของสำนักงานกิจการอวกาศแห่งสหประชาชาติ ประเทศต่างๆ ได้ส่งวัตถุที่มนุษย์สร้างจำนวน 18 ชิ้นไปยังดาวอังคาร และตลอดหลายทศวรรษของการสำรวจ เราได้ทิ้งเศษซากไว้บนพื้นผิวของดาวอังคาร

ดาวอังคาร

ในช่วงกลางเดือนสิงหาคม 2022 NASA ยืนยันว่า Perseverance ของยานสำรวจดาวอังคาร ได้เห็นเศษขยะที่ถูกทิ้งระหว่างการลงจอด ซึ่งดูเหมือนจะเป็นตาข่ายที่ยุ่งเหยิง และนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่นักวิจัยพบขยะบนดาวอังคาร นั่นเป็นเพราะขยะพวกนั้มีจำนวนมาก

เศษขยะพวกนี้มาจากไหน?

Advertisements

ขยะบนดาวอังคารมาจากแหล่งหลักสามแหล่งคือ ฮาร์ดแวร์ที่ถูกทิ้ง ยานอวกาศที่ไม่ใช้งาน และยานอวกาศที่ตกลงบนดาวอังคาร

ในทุกภารกิจที่จะลงจอดบนพื้นผิวดาวอังคาร จะต้องใช้โมดูลสำหรับปกป้องยานอวกาศ โมดูลนี้ประกอบด้วยแผ่นกันความร้อนเมื่อยานบินผ่านชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ และอุปกรณ์ร่มชูชีพและอุปกรณ์ที่จำเป็นเพื่อให้สามารถลงจอดได้อย่างนุ่มนวล

ยานอวกาศทุกลำที่ลงจอดบนดาวอังคาร จะมีอุปกรณ์ที่ใช้ได้เพียงครั้งเดียว เช่น เปลือกป้องกันอันนี้ก็ถูกทิ้งไว้บนพื้นผิว

ยานจะทิ้งชิ้นส่วนของโมดูลในขณะที่ลงมา และชิ้นส่วนเหล่านี้สามารถลงจอดในตำแหน่งที่แตกต่างกันบนพื้นผิวของดาวเคราะห์ เมื่อเศษซากเหล่านี้ตกลงมาที่พื้น มันอาจจะแตกเป็นชิ้นเล็กๆ ได้ ดังที่เกิดขึ้นระหว่างยานสำรวจ Perseverance ที่ลงจอดในปี 2021 และเศษชิ้นเล็กๆ เหล่านี้สามารถปลิวไปรอบๆ ได้เนื่องจากลมของดาวอังคาร

มีการพบขยะขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เช่นเดียวกับวัสดุตาข่ายที่เพิ่งค้นพบเมื่อเร็วๆ นี้ เมื่อ 13 มิถุนายน 2022 .. Perseverance rover พบผ้ากันความร้อนขนาดใหญ่ที่ส่องประกายแวววาว ซึ่งฝังอยู่ในหินบางก้อนอยู่ห่างจากจุดที่รถลงจอด 1.25 ไมล์ (2 กิโลเมตร) .. นอกจากนี้ยังมียานอวกาศ ที่ไม่ใช้งานอีก 9 ลำอยู่บนพื้นผิวดาวอังคาร

เศษตาข่ายชิ้นนี้เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2022

เมื่อรวมมวลของยานอวกาศทั้งหมดที่เคยส่งไปยังดาวอังคาร จะได้ประมาณ 22,000 ปอนด์ (9,979 กิโลกรัม) ลบน้ำหนักของยานที่ปฏิบัติการอยู่บนพื้นผิว 6,306 ปอนด์ (2,860 กิโลกรัม) แล้วจะเหลือซาก 15,694 ปอนด์ (7,119 กิโลกรัม) บนดาวอังคาร

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
แหล่งที่มาscience.howstuffworks