ตะโขงหรือจระเข้ปากกระทุงเหว (Malayan gharial) ชื่อวิทยาศาสตร์ Tomistoma schlegelii ในปัจจุบันเหลือตะโขงเพียงสองชนิด คือตะโขงอินเดียและตะโขงมลายู ซึ่งสองชนิดนี้ มีความต่างกันคือตะโขงอินเดียปากจะแหลมยาวและจมูกจะมีตุ่ม ซึ่งต่างจากตะโขงมลายูมาก
จุดแตกต่างของตะโขงและจระเข้คือสีที่ออกน้ำตาลและมีลวดลาย ตะโขงมลายูนั้นมีขนาดประมาณ 2.8-3 เมตร ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าตะโขงอินเดีย แต่ก็มีรายงานว่าในธรรมชาติมีขนาดถึง 5 เมตร โดยตัวเมียจะมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้
และเรื่องที่น่าสนใจคือมันเป็นสัตว์จำพวกจระเข้ที่มีกะโหลกยาวที่สุด ถึงแม้อาหารหลักของมันจะเป็นปลา แต่มีรายงานว่าตะโขงมลายูนั้นสามารถโจมตีและกินสัตว์ขนาดใหญ่ได้เช่นกัน
ในมาเลเซียเคยมีรายงานว่ามันทำร้ายมนุษย์ถึงตายได้ ซึ่งถือว่าเป็นรายงานครั้งแรกของการทำร้ายมนุษย์ของตะโขง ..ในปัจจุบันยังเหลือพบได้ในอินโดนีเซีย และมาเลเซียและบางส่วนในหมู่เกาะของออสเตรเลีย ปัจจุบันจำนวนพวกมันลดลงอย่างมาก ส่วนในสิงค์โปรนั้นคาดการว่าในธรรมชาตินั้นสูญพันธุ์ไปแล้ว เหลือแค่ในสวนสัตว์
ตะโขงในประเทศไทย
ข้อมูลในประเทศไทยนั้นยังค่อนข้างคลุมเครือมาก เพราะบางที่ก็ว่าสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว แต่บางที่ก็ว่าเหลือน้อยมากๆ เดิมมีรายงานพบมันที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน และทางภาคใต้ เป็นไปได้ว่าถิ่นที่อยู่สุดท้ายของตะโขงในประเทศไทยคือป่าพรุที่จังหวัดนราธิวาส
โดยการค้นพบแบบมีหลักฐานภาพถ่ายชัดเจนครั้งสุดท้ายคือเมื่อปีพ.ศ 2550 ที่ฝายเก็บน้ำคลองถูป อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี แต่ก็ไม่มีการค้นพบอีก จนมีความเป็นได้ว่าพวกมันอาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว
แต่ก็ยังมีความโชคดีอยู่บ้าง ในปีพ.ศ. 2562 ทางสวนสัตว์โคราชสามารถเพาะพันธุ์ตะโขงมลายูได้สำเร็จ ซึ่งในปัจจุบันทางองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยมีตะโขงมลายูอยู่ 10 ตัว แต่ถึงจะสามารถจะเพาะพันธุ์ได้แล้ว แต่มันก็ยังไม่เหมาะที่จะอยู่ในธรรมชาติในประเทศไทย เพราะถิ่นที่อยู่อาศัยเดิมถูกมนุษย์ยึดครองไปจนหมด
ในปัจจุบันนั้นเราสามารถเยี่ยมชมตะโขงไทยได้ที่สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์โคราช สวนสัตว์เขาเขียว สวนสัตว์สงขลา และที่ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ ถึงแม้มันอาจจะสูญพันธุ์ไปในธรรมชาติแล้ว แต่ยังโชคดีที่มันยังเหลืออยู่ในสวนสัตว์ สิ่งที่ตอนนี้เราทำได้คือฟื้นจำนวนมันให้กลับมาเยอะในที่เพาะเลี้ยง ในอนาคตอาจจะพอปล่อยมันกลับสู่เขตอนุรักษ์ที่พวกมันเคยอยู่ก็เป็นได้