สุดยอดนักสะสม
ถ้ำอันน่าสยดสยองที่เต็มไปด้วยกระดูกถูกพบลึกลงไปในบ่อลาวาภูเขาไฟที่ดับไปนานแล้ว เครือข่ายถ้ำลาวานี้เรียกว่า Umm Jirsan ถูกค้นพบในปี 2007 แต่เมื่อไม่นานนี้นักวิจัยได้สำรวจลึกเข้าไปอีก จนไปเจอกับอะไรที่พวกเขาคาดไม่ถึง
Mathew Stewart นักสัตววิทยาจากสถาบันมักซ์ในเยอรมันนี ได้นำทีมนักวิจัยไปตรวจสอบกระดูกและฟันเกือบ 2,000 ชิ้น ที่เป็นของสัตว์อย่างน้อย 14 ชนิด ทั้งวัว ม้า อูฐ หนู แม้กระทั้งมนุษย์ และยังมีกระดูกอีกนับแสนๆ ชิ้นที่ยังไม่ได้วิเคราะห์
ด้วยการตรวจอายุของตัวอย่างแสดงให้เห็นว่ากระดูกพวกนั้นมีอายุตั้งแต่ 439 จนถึง 6,839 ปีก่อน ซึ่งหมายความว่าท่อลาวานี้กลายเป็นถ้ำมานานกว่า 6,000 ปีแล้ว
ไฮยีน่าอาจเป็นสัตว์ที่รวบรวมกระดูกเอาไว้
ไฮยีน่าลาย (Hyaena hyaena) มีขนาดเล็กกว่าไฮยีน่าลายจุดและสีน้ำตาลเล็กน้อย พวกมันมีหัวที่กว้างและตาสีเข้ม ปากหนา หูแหลมใหญ่ มีขนแผงคอยาว ลักษณะเด่นสุดของมันคือขาหน้าที่ยาวกว่าขาหลังมาก ทำให้พวกมันเหมือนเดินกะเผลกตลอดเวลา ซึ่งมีความคล้ายกับพวกเสือเขี้ยวดาบมาก
ไฮยีน่าเป็นสัตว์กินเนื้อที่ออกหากินในเวลากลางคืน โดยปกติในช่วงกลางวันพวกมันจะอยู่ในถ้ำหรือโพรงที่ขุดลึกลงไป บางครั้งพวกมันจะเข้ายึดรังของสัตว์อื่นๆ ก่อนจะขนกระดูกไปกินเอง หรือให้ตัวอ่อน ไม่ก็เก็บตุนไว้สำรอง
เป็นที่ทราบกันดีว่ารังของพวกมันนั้นไม่มีความเป็นระเบียบ การพบกระดูกในรังไฮยีน่าเป็นเรื่องปกติ แต่อย่างไรก็ตามกระดูกมหาศาลในถ้ำลาวานี่ก็สร้างความตื่นตกใจอย่างมาก
ไฮยีน่าสามารถกินทุกส่วนของมนุษย์ได้ ยกเว้นแต่กะโหลก
ถึงแม้พวกเขาจะไม่พบไฮยีน่าที่นี่ แต่นักวิจัยมั่นใจว่านี่เป็นถ้ำของพวกมันโดยดูจากบาดแผล รอยกัด และร่องรอยการย่อยบนกระดูก การพบกะโหลกมนุษย์ยังบ่งบอกถึงการที่พวกมันมักจะคุ้ยหลุมศพเพื่อหาอาหาร ปกติมันสามารถกินทุกส่วนของมนุษย์ได้ยกเว้นกะโหลกศีรษะ
“ขนาดและองค์ประกอบของการสะสมกระดูก เช่นเดียวกับซากฟอสซิลของไฮยีน่าแถวนั้น ทำให้ทราบว่าเจ้าของผลงานนี้คือพวกไฮยีน่าลายทาง”
มันไม่น่าเป็นไปได้ที่หัวกระโหลกหกชิ้นที่พบซึ่งมีร่องรอยแทะนั้นจะมากจากมนุษย์ที่โดนไฮยีน่าฆ่า พวกมันส่วนใหญ่เป็นสัตว์กินซาก แต่เมื่อพวกมันล่ามันมักจะล่าพวกกระต่าย นก และกวางแอนทีโลป แต่ก็ยังมีความเป็นไปได้ที่มนุษย์อาจจะโดนฝูงไฮยีน่ารุมฆ่า
แต่ในปัจจุบัน ไฮยีน่าลายทางเป็นสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ไปจากซาอุดิอาระเบีย แต่เมื่อหลายพันปีก่อนพบเห็นพวกมันได้ทั่วไปในคาบสมุทรอาหรับ การศึกษาเครือข่ายถ้ำ Umm Jirsan เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยขนาดใหญ่ที่มุ่งเน้นติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศในทะเลทรายอาหรับในช่วงหนึ่งล้านปีที่ผ่านมา
สิ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษคือการอพยพของมนุษย์และสัตว์ในภูมิภาคนี้ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป นี่เป็นเป้าหมายที่ท้าทายในการศึกษาเพราะสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย โชคดีที่ถ้ำลาวาสร้างแคปซูลกาลเวลาทำให้นักวิจัยสามารถศึกษาบริเวณนั้นเมื่อหลายพันปีก่อนได้