การค้นพบใหม่ ‘งูจงอาง’ ไม่ได้มี 1 สายพันธุ์ แต่มีถึง 4 สายพันธุ์

งูจงอาง (King cobra) งูพิษขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และยังเป็นงูที่ผลิตพิษได้มากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยงูจงอางสามารถยาวได้ถึง 600 เซนติเมตร ตัวยาวที่สุดที่เคยบันทึกไว้คือ 559 เซนติเมตร เป็นงูจงอางที่จับได้ในประเทศไทย แต่โดยทั่วไปงูชนิดนี้จะยาวประมาณ 400 - 500 เซนติเมตร และจากงานวิจัยล่าสุดได้เปิดเผยให้เห็นว่างูชนิดนี้ ไม่ได้ปกครองโดยสายพันธุ์เดียวแต่มันมีสี่สายพันธุ์ที่แตกต่างกัน

สี่สายพันธุ์ที่เพิ่งถูกนำเสนอ ซึ่งยังไม่มีชื่ออย่างเป็นทางการ เป็นงูที่มีเชื้อสายมาจากอินเดียตะวันตกเฉียงใต้ เชื้อสายอินโดจีนในอินโดนีเซียและจีนตะวันตก เชื้อสายอินโด-มาเลย์ ซึ่งครอบคลุมอินเดียและมาเลเซีย และ เชื้อสายที่มาจากเกาะลูซอนที่พบในฟิลิปปินส์

นักนิเวศวิทยาเชิงวิวัฒนาการ ที่สถาบันวิทยาศาสตร์อินเดียในบังกาลอร์กล่าวว่า “การมีอยู่ของงูจงอางหลายสายพันธุ์ เป็นเรื่องน่าประหลาดใจ เพราะพวกมันมีลักษณะคล้ายกัน มีถิ่นที่อยู่ใกล้เคียงกัน และพวกมันยังแสดงพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกันอีกด้วย”

แต่แม้พวกมันจะมีความคล้ายคลึงกัน แต่งูที่พบในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์อันกว้างใหญ่นี้ มีความแตกต่างทางกายภาพบางอย่าง ตัวอย่างเช่น งูที่โตเต็มวัยในประเทศไทย จะมีวงแหวนสีขาวนวลอยู่ประมาณ 70 วง ในขณะที่งูในฟิลิปปินส์จะมีวงแหวนเพียงไม่กี่วง

งูจะแสดงพฤติกรรมที่แตกต่างกันในระดับภูมิภาคเช่นกัน โดยงูจงอางเป็นงูพิษสายพันธุ์เดียว ที่รวบรวมวัสดุและสร้างรังสำหรับไข่ของพวกมัน แต่ไข่ในรังนั้น อาจได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างกันไป ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับภูมิภาค ในบางภูมิภาคแม่งูจะเลื้อยออกไปทันทีหลังจากวางไข่แล้ว แต่บางภูมิภาคแม่งูจะฟักไข่ในลักษณะเดียวกับที่นกทำ

แต่ไม่ใช่แค่ความแตกต่างทางร่างกายและพฤติกรรม ที่แยกสายเลือดงูทั้งสี่นี้ออกจากกัน นักวิจัยยังจำเป็นต้องทราบด้วยว่า ประชากรงูจงอางมีความแตกต่างทางพันธุกรรมหรือไม่? การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงูพิษที่ใหญ่ที่สุดในโลกนั้นเป็นงานที่ท้าทายมาก

ด้วยเหตุนี้ ทีมวิจัยและผู้เชี่ยวชาญงูจงอาง ในเมืองกรณาฏกะ ประเทศอินเดีย ต้องใช้เวลาหลายปีในการท่องป่าเขตร้อน เพื่อค้นหางูที่สามารถดักจับและศึกษาได้ “ถ้าเป็นกบ ถ้าเป็นเต่า คงจะง่ายกว่า แต่เพราะมันคือ งูจงอาง ทุกอย่างจึงเป็นเรื่องยาก” นักวิจัยกล่าวกับ เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก

แต่หลังจากพยายามอยู่นาน ในที่สุดทีมงานก็สามารถรวบรวมสารพันธุกรรมได้มากพอ ที่จะวิเคราะห์ DNA จากตัวอย่างงูจงอาง 62 ตัวอย่างที่พบในบริเวณต่างๆ นักวิจัยได้รวบรวมเกล็ดจากงูที่มีชีวิต และเก็บเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อจากงูที่ตายแล้ว และยังรวบรวม DNA จากตัวอย่างในพิพิธภัณฑ์ซึ่งตายไปนานแล้วอีกด้วย

Advertisements

ในขั้นต้นนักวิจัยได้ตรวจสอบไมโทคอนเดรียยีน (Mitochondrial genes) ซึ่งถ่ายทอดจากแม่สู่ลูก และระบุสายเลือดที่แตกต่างกันสี่สาย จากนั้นพวกเขามองไปที่ความแตกต่างใน DNA ที่มีอยู่ในนิวเคลียสของเซลล์ ระหว่างสายเลือดของผู้สมัครทั้งสี่ นักวิจัยพบว่า สายเลือดทั้งสี่ ไม่ใช่สายพันธุ์ในภูมิภาคของสายพันธุ์หนึ่ง แต่พวกมันถูกแยกจากกันทางพันธุกรรม

“ความหลากหลายทางพันธุกรรมที่ทับซ้อนกัน กับพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่แยกจากกัน แสดงให้เห็นว่าสปีชีส์นี้ มีการพัฒนาแยกจากกันโดยไม่มีการไหลของยีนระหว่างกัน (gene flow) การค้นพบนี้จะมีความหมายต่อการอนุรักษ์สายพันธุ์เหล่านี้ …และในตอนนี้ เรายังต้องการเวลาเพื่อศึกษาพวกมันเพิ่มเติม ก่อนที่จะตั้งชื่ออย่างเป็นทางการให้กับงูเหล่านี้

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements