ตามรายงานล่าสุด ประชากรของ “งูหลามพม่า” กำลังขยายตัวไปทางเหนือของฟลอริดา มันเป็นรายงานที่เก็บรวบรวมตามการจับและการพบเห็นในเขตปาล์มบีช
งูหลามพม่าไม่ได้มีถิ่นกำเนิดในรัฐหรือแม้แต่ในประเทศอเมริกา มันถูกระบุว่าเริ่มปรากฏตัวที่เอเวอร์เกลดส์ในช่วงทศวรรษที่ 1980 มีแนวโน้มว่าจะถูกนำเข้ามาในฐานะเป็นสัตว์เลี้ยง และเพราะมันมีขนาดใหญ่มาก พวกมันจึงอาจถูกปล่อยหรือหลบหนีออกมาอยู่ในธรรมชาติ นับแต่นั้นมาพวกมันก็เพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว
สำหรับงูหลามพม่า ฟลอริดาเป็นเหมือนสวรรค์สำหรับพวกมัน ทั้งสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มันแทบไม่ต้องกลัวอะไร แทยไม่มีสัตว์ชนิดไหนเอาชนะมันได้ง่ายๆ แม้แต่มนุษย์ก็มีไม่มากที่จะจับงูหลามพม่าโตเต็มวัยได้
พวกมันออกล่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก และแข่งขันกับสัตว์พื้นเมืองชนิดอื่นๆ จนเมื่อไม่กี่ปีก่อนคณะกรรมการอนุรักษ์ปลาและสัตว์ป่าแห่งฟลอริดา ได้ประกาศว่ามันเป็นภัยคุกคามต่อสัตว์พื้นเมืองอย่างแท้จริง
ในตอนนี้เจ้าหน้าที่ของเขตจัดการน้ำเซาท์ฟลอริดา กำลังวางกลยุทธ์ว่าจะจัดการกับภัยคุกคามที่มาจากงูหลามพม่าที่ขยายตัวต่อไปในพื้นที่ได้อย่างไร ..แต่ความพยายามในการควบคุมงูที่อื่นในรัฐยังไม่ประสบความสำเร็จอย่างสิ้นเชิง
การศึกษาที่ตีพิมพ์ในปี 2012 งูชนิดนี้เชื่อมโยงกับการลดลงอย่างมากของสายพันธุ์พื้นเมืองหลายชนิด โดยนักวิจัยพบว่าประชากรแรคคูน โอพอสซัม และบ็อบแคตลดลง 99.3, 98.9 และ 87.5 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับตั้งแต่ปี 1997 สายพันธุ์อื่นๆ เช่น กระต่ายบึง กระต่ายคอตต้อน และสุนัขจิ้งจอก “หายตัวไปอย่างรวดเร็ว”
การศึกษายังพบว่าระยะเวลาและรูปแบบทางภูมิศาสตร์ของจำนวนประชากรสัตว์พื้นเมืองที่ลดลง ใกล้เคียงกับการเพิ่มขึ้นและการแพร่กระจายของงูหลามพม่า
ในความพยายามที่จะควบคุมจำนวนประชากรงูนอกจากจะจัดการแข่งขันล่างู การจัดให้มันอยู่ในเมนูอาหาร การล่างูเหลือมบนที่ดินส่วนตัวก็ถูกทำให้เป็นเรื่องที่ถูกกฎหมาย ที่สามารถทำได้ตลอดเวลาหากได้รับอนุญาตจากเจ้าของที่ดิน โดยไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาต และคณะกรรมการอนุรักษ์ปลาและสัตว์ป่าแห่งฟลอริดาก็สนับสนุนให้ทำเช่นนั้น
มีลำตัวที่อ้วนป้อมกว่า อีกทั้งหางก็สั้นกว่าและมีขีดที่บนหัวเป็นสีขาว เรียกว่า “ศรขาว” อีกทั้งมีสีสันและลวดลายที่แตกต่างจากงูเหลือม รวมทั้งอุปนิสัยที่ไม่ดุต่างจากงูเหลือม จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงของผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลาน นิยมกันมากในตัวที่สีกลายเป็นสีเผือกและลวดลายแตกต่างไปจากปกติ ..สำหรับในประเทศไทย งูหลามจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพุทธศักราช 2535