Dr. Llewellyn Foxcroft นักวิจัยของ SANParks อธิบาย ผู้บุกรุกทางอากาศมีความพึงพอใจอย่างมากต่อพื้นที่ในเมืองและโดยปกติพวกมันจะไม่ขยายไปสู่พื้นที่ธรรมชาติ ..เขากล่าว
นกเอี้ยงได้แพร่กระจายไปทางตะวันออกทั่วประเทศ ส่งผลให้จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างมากในทุกๆ เมืองที่พวกมันผ่านไป ความจริงเมืองเหล่านี้ เป็นที่อยู่อาศัยในอุดมคติของพวกมันและการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้นกพวกนี้แพร่กระจายไปยังค่ายพักของนักท่องเที่ยว บ้านพักของพนักงานอุทยาน และเริ่มเข้าสู่พื้นที่ของสัตว์ป่าชนิดอื่น
นกเอี้ยงเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นสายพันธุ์ที่ค่อนข้างก้าวร้าว แม้ตอนนี้พวกมันจะอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการตั้งถิ่นฐาน แต่ความเร็วของพวกมันก็น่ากลัว พวกมันสามารถสร้างความเสียหายให้กับนกสายพันธุ์อื่น
แต่เนื่องจากอุทยานแห่งชาติครูเกอร์ มีพื้นที่กว้างใหญ่และซับซ้อน ในตอนนี้นักวิจัยจึงยังไม่สามารถประเมินผลกระทบที่แท้จริงได้
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ นกเอี้ยงสาลิกา
นกเอี้ยงสาลิกา (common myna) หรือ นกสาลิกา (Indian myna) หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า นกเอี้ยง (mynah) ชื่อวิทยาศาสตร์ Acridotheres tristis เป็นนกในวงศ์นกเอี้ยงและนกกิ้งโครง (Sturnidae)
นกเอี้ยงสาลิกาเป็นนกที่พบเห็นได้ง่ายในเขตเมืองหรือชุมชนของมนุษย์ มีความยาวประมาณ 25-26 เซนติเมตร ขาเรียวเล็ก นิ้วตีนแข็งแรง หัวและคอสีดำ ปากและหนังรอบตาสีเหลือง ลำตัวสีน้ำตาล ขอบปีกและปลายหางสีขาว หน้าอก, ท้อง และก้นสีน้ำตาลอ่อน ตัวผู้และตัวเมียคล้ายคลึงกัน
เป็นนกที่หากินอยู่ตามพื้นดินปะปนกับนกชนิดอื่นๆ มักเดินสลับวิ่งกระโดด มีความปราดเปรียว ชอบจิกตีต่อสู้กันเองหรือทะเลาะวิวาทกับนกชนิดอื่น ๆ
พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทวีปเอเชีย ตั้งแต่ อินเดีย, อัฟกานิสถาน, พม่า และภูมิภาคอินโดจีน ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค และปัจจุบันได้ถูกนำเข้าไปในบางพื้นที่ที่ไม่ใช่ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมด้วย
นกเอี้ยงสาลิกาเป็นนกอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง ในประเทศไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535