นกแร้งที่ใกล้สูญพันธุ์ของอินเดีย ถูกปล่อยคืนสู่ป่าเป็นครั้งแรก

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้มีการปล่อยแร้งขาวจำนวนแปดตัวในเขตอนุรักษ์พันธุ์เสือ Buxa ในรัฐเบงกอลตะวันตก ทันทีที่มันถูกปล่อย มันก็สามารถเข้าร่วมกับกลุ่มกับแร้งตามธรรมชาติ และเริ่มกินซากสัตว์ที่ได้มาจากทีมนักวิจัยของสถาบันประวัติศาสตร์ธรรมชาติบอมเบย์ (BNHS)

แร้งพวกนี้ถููกเลี้ยงในสถานที่เพาะเลี้ยงของ BNHS นำโดย Sachin Ranade มันเป็นหนึ่งในโครงการอนุรักษ์และรักษานกแร้งยิปส์ (Gyps) โดยพวกมันจะถูกปล่อยคืนสู่ป่าทีละน้อย เพื่อให้เริ่มปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนๆ ของมันได้ และดูเหมือนจะทำได้ดี ถึงแม้จะมีบางตัวที่ยังวนเวียนอยู่ใกล้ที่เลี้ยงเพราะยังไม่คุ้นเคย ซึ่งต้องใช้เวลาสองถึงสามเดือนในการปรับตัว

นกแร้ง การปล่อยนกคืนสู่ป่าในลักษณะนี้เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ในเดือนมกราคม ได้มีการปล่อยนกแร้งขาวสองตัวในรัฐเบงกอลตะวันตก และเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว มีการปล่อยนกมากถึง 8 ตัว ในทางเหนือของอินเดีย จากศูนย์เพาะพันธุ์ที่ใหญ่สุดในโลก

นกที่เกิดในกรงพวกนี้เป็นพวกแรกๆ ที่ถูกปล่อยกลับคืนสู่ป่า นับตั้งแต่มีความพยายามในการอนุรักษ์เมื่อประมาณ 20 ปีก่อน โดยมุ่งเน้นไปยังสายพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างเช่น นกแร้งเรียว, นกแร้งขาวและนกแร้งอินเดีย ตั้งแต่วันนั้นโครงการขยายพันธุ์ประสบความสำเร็จและมีลูกนกใหม่ทุกปี มันเป็นลูกนกนับร้อยตัวในหนึ่งปี

ด้านนักวิจัยจาก BNHS ได้ประเมินว่าในช่วงทศวรรษที่ 1980 อินเดียเป็นบ้านของแร้งมากถึง 40 ล้านตัว จากนั้นจำนวนของพวกมันมันลดลงอย่างน่าตกใจ จนในปี 1990 มันถูกประเมินว่าลดลงมากถึง 97%

ส่วนใหญ่มาจากการตายเพราะกินซากวัวที่มีการใช้ยาฆ่าเชื้อที่เรียกว่า ไดโคลฟีแนค และอินเดียก็มีประชากรวัวมาก ซึ่งซากของพวกมันคือแหล่งอาหารชั้นดีของแร้ง ดร. Vibhu Prakash รองผู้อำนวยการของ BNHS ได้เห็นตัวเลขของประชากรแร้งที่ลดลงในระหว่างทำการวิจัยที่อุทยานแห่งชาติเคอลาดีโอของรัฐราชสถาน

โดยช่วงกลางยุค 90 เราเห็นแร้งที่ตายและป่วยหนัก จากนั้นพวกมันมักจะตายภายใน 10 ถึง 15 วัน หลังจากชันสูตรศพเผยให้เห็นคราบขาวขุ่นตามอวัยวะภายในของพวกมัน ซึ่งเป็นผลกระทบจากสารพิษ

ในปี 2001 ดร. Prakash และทีมงานของเขาได้จัดตั้งศูนย์ดูแลนกแร้งในเมืองพินโจรา เพื่อศึกษาสาเหตุการตายและเพื่อการรักษาพวกมัน ในช่วงเวลาเดียวกันนักวิจัยชาวอเมริกันในปากีสถาน ซึ่งกำลังตรวจสอบพวกแร้งที่ตายที่นั้นก็ตรวจพบสารไคโคลฟีแนค ในร่างกายพวกมัน แสดงว่าพวกมันไปกินซากวัวและควายที่ได้รับยาที่มีสารไคโคลฟีแนคซึ่งมีผลทำให้แร้งตายได้ แร้งที่ปากีสถานนั้นมีการตายแบบเดียวกับแร้งที่อินเดีย

เมื่อนักวิจัยที่เมืองพินโจราได้ตรวจสอบเนื้อเยื่อ พบว่า 76% นกที่ตายนั้นมาจากสารไดโคลฟีแนค ในปี 2004 ทีม BNHS ได้ปรึกษากับ ศาสตราจารย์ Rhys Green จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เพื่อทำความเข้าใจว่าซากสัตว์ที่มีไดโคลฟีแนคเจือปนในปริมารถเท่าไรที่ทำให้แร้งตายได้ ซึ่งจากการประเมินพบว่า หากมีซากวัวอย่างน้อย 0.8% ที่มีไคโคลฟีแนคก็อาจทำให้เกิดการตายมากแบบนี้ได้ จากการสุ่มตัวอย่างจากซากวัวและควาย มากกว่า 2,000 ตัวพบว่ามีสารไดโคลฟีแนคมากถึง 11%

Advertisements

ในปีเดียวกัน ทีมงาน BNHS ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศและทั่วโลก จากภาครัฐและเอกชน ได้จัดทำแผนการเพื่อฟื้นฟูประชากรนกแร้ง รวมถึงโปรแกรมการเพาะพันธุ์เพื่อการอนุรักษ์และการหยุดใช้สารไดโคลฟีแนก

ศูนย์ดูแลในเมืองพินโจรา ถูกดัดแปลงเป็นศูนย์เพาะพันธุ์ โดยมีกรงขนาดใหญ่สำหรับเป็นพื้นที่ทำรัง และค่อยๆ มีการตั้งศูนย์เพาะพันธุ์แห่งใหม่อีกสามที่ในรัฐเบงกอลตะวันตก อัสสัมและมัดฮายา ทีมของ ดร. Prakash ทำงานร่วมกับหน่วยงานสวนสัตว์แห่งชาติเพื่อเปิดศูนย์ขนาดเล็กอีกสี่แห่งในประเทศ

การเพาะพันธุ์แร้งเป็นขั้นตอนที่ช้า พวกมันจะโตเต็มที่เมื่อมีอายุ 5 ปี และออกไข่เพียงครั้งละฟองเท่านั้น ทีมงานใช้วิธีการฟักไข่ตามธรรมชาติและเลี้ยงดูตัวอ่อนที่ฟักออกมาจนโตขึ้น ปัจจุบันมีแร้งมากกว่า 700 ตัวในศูนย์เพาะพันธุ์

จนในปี 2006 รัฐบาลอินเดียได้สั่งห้ามการใช้สารไดโคลฟีแนคในสัตว์หลังจากสามารถหายาทดแทนได้ แต่มันก็มีทำให้แร้งตายได้เช่นกัน เนื่องจากมันยังมียาที่ใช้ในมนุษย์ได้และมีการขายแบบผิดกฏหมาย เจ้าของวัวได้ใช้กับวัวในการรักษาสัตว์ แต่สุดท้ายสามารถก็ผลักดันให้เหลือปริมาณที่ขายในขนาดปกติสำหรับมนุษย์ได้ โดยลดขนาดลงเหลือ 3 มล. ในปี 2015

ในขณะเดียวกัน นักวิจัยอย่าง Ranade ซึ่งดูแลศูนย์อนุรักษ์ในรัฐเบงกอลตะวันตกและอัสสัม กำลังสร้างเขตปลอดภัยของแร้ง ซึ่งมีความพยายามต่อเนื่องในการบรรลุเป้าหมายนี้ รวมถึงการพบกับเจ้าหน้าที่ ผู้นำหมู่บ้านและเจ้าของปศุสัตว์ เกี่ยวกับการใช้สารไดโคลฟีแนคและสำรวจประชากรของแร้งในพื้นที่

การใช้สารไดโคลฟีแนคลดลงมากเนื่องจากความพยายามของกลุ่มอนุรักษ์ และการสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ เช่น สถาบันอนุรักษ์แร้งเอเซียจากการสูญพันธุ์ (SAVE) ซึ่งเป็นพันธมิตรหลัก แต่ Prakash กล่าวว่ายังมีงานต้องทำอีกมาก ปีที่แล้วทาง BNHS ร่วมมือกับทางรัฐบาลอินเดียเพื่อเปิดตัวแผนปฏิบัติการห้าปี ซึ่งมีการเพิ่มศูนย์เพาะพันธุ์และทดสอบความปลอดภัยของยา

สำหรับการปล่อยนกเพิ่ม ทีมงานจะติดตามพวกที่ปล่อยไปจากเครื่องติดตามผ่านทางดาวเทียม จากนั้นจะพิจารณาต่อไป “หากไม่มีแร้งที่ตายจากยา เราจะปล่อยแร้งประมาณ 20 ถึง 30 ตัวต่อปี” Prakash กล่าว โดยตัวเขามั่นใจว่าแร้งในอินเดียจะไม่สูญพันธุ์แน่นอน แต่การอยู่รอดของมันจะขึ้นกับมนุษย์

“เราต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าเราปฏิบัติตามแนวทางด้านสัตวแพทย์ที่ดีที่สุด อาหารพวกมันต้องไม่ปนเปื้อน และต้องกำจัดซากสัตว์อย่างเหมาะสม เรายังมีความหวังอยู่ แต่ต้องขึ้นกับความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย”

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements