เรื่องของตัวเบ็ด สนิม และรูปแบบทั้ง 4 ของตัวเบ็ด

เราได้รู้ถึงส่วนประกอบของตัวเบ็ดไปเกือบครบถ้วนแล้ว โดยเฉพาะกับส่วนปลายแหลมของตัวเบ็ด ที่มีความหลากหลายกับรูปแบบของมัน ปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตบางรายได้พัฒนาส่วนของคมเบ็ดเพิ่มขึ้นไปอีก เช่น บางรุ่นปรับส่วนของปลายแหลมเป็นพิเศษ คือ แหลมคมและแข็งกว่าตัวเบ็ดรุ่นก่อนๆ โดยให้ชื่อรุ่นว่า Power Point ส่วนบางรุ่นปรับส่วนแหลมให้เกิดความคมแบบใบมีดเพิ่มขึ้นเรียกว่ารุ่น Accu-Point เป็นต้น

ตัวเบ็ดตกปลา

เมื่อเราได้ทำความรู้จักกับส่วนประกอบของตัวเบ็ดกั้นไปครบแล้ว ก็จะมาถึงรูปแบบและขนาดของตัวเบ็ดกันต่อไป ซึ่งมีเรื่องน่ารู้อยู่พอสมควร นักตกปลาบ้านเราในยุคแรกๆ ของการตกปลาแบบสากล เลือกใช้ตัวเบ็ดเท่าที่จะหาได้ในบ้านเรา หลายส่วนก็มาจากการแนะนำของชาวประมงในแต่ละท้องถิ่น

อ่านเรื่อง > ตัวเบ็ด ชุดปลายสายสำคัญ

ซึ่งซื้อตัวเบ็ดแบบธรรมดา ๆ จากร้านขายอุปกรณ์ประมงเป็นหลัก จนกระทั่งปี 2512 เป็นต้นมา เมื่อมีกลุ่มนักตกปลาขาวต่างชาติเข้ามาทำงานในบ้านเราและได้จัดตั้งกลุ่มตกปลาขึ้น ก็มีคนไทยที่ชอบการตกปลาเข้าไปร่วมด้วย ทำให้การเลือกใช้ตัวเบ็ดตกปลาได้รูปแบบมาจากนักตกปลาต่างประเทศเหล่านั้น แต่ก็ยังหาซื้อตัวเบ็ดที่ต่างออกไปจากของเดิมได้ยากอยู่ดี

ความแข็งของตัวเบ็ด

Advertisements

เนื่องจากไม่มีผู้สั่งเข้ามาขายมากนักในยุคนั้น อีกหลายปีต่อมาจึงมีร้านจำหน่ายอุปกรณ์ เริ่มสั่งตัวเบ็ดหลากหลายรูปแบบเข้ามาเพิ่มเติม นักตกปลาจึงมีโอกาสเลือกใช้ตัวเบ็ดที่ต่างไปจากเดิม แต่ก็ยังไม่ได้ให้ความสนใจกับรูปแบบของตัวเบ็ดเท่าใดนัก

ส่วนมากจะเน้นไปยังวัสดุที่ใช้ผลิต เช่น นักตกปลาบางกลุ่มนิยมใช้ตัวเบ็ดที่ทำด้วยสเตนเลส เพราะมีความมั่นใจว่าตัวเบ็ดจะไม่เกิดสนิม แต่มันจะอ่อนกว่าตัวเบ็ดที่เป็นสนิมจึงง้างออกได้ง่ายหรือนักตกปลาบางกลุ่มชอบในด้านความแข็งแรงของตัวเบ็ด เป็นพิเศษ ก็จะเลือกตัวเบ็ดที่ระบุว่า เอ็กซ์ตร้า สตรอง (Extra Strong) ความแข็งแรงในระดับเอ็กซ์ตร้าสตรอง มีอยู่หลายระดับด้วยกันคือตั้งแต่ระดับ 1x 2x และ 3x ซึ่งเป็นตัวเบ็ดที่มีความแข็งแกร่งมาก

ตัวเบ็ดแบบที่แข็งมากๆ ถูกออกแบบมาให้ใช้กับงานตกปลาทะเลเป็นส่วนมาก โดยมุ่งใช้กับปลาที่มีขอบปากแข็ง เช่น ปลากะโทงแทง ปลาทูน่า และปลาทาร์บ่อนขนาดใหญ่เป็นการเฉพาะ นอกจากนี้นักตกปลาบางท่านอาจะเลือกวัสดุที่ใช้ผลิต เช่น จำพวกเหล็กผสม หรือเหล็กอัลลอยด์ ซี่งมีความแข็งกว่าเหล็กธรรมดา และเป็นสนิมน้อยกว่า แต่ก็จะมีจุดด้อยที่มันจะหักได้ง่ายกว่าเหล็กธรรมดา

สนิมกับตัวตัวเบ็ด

การเกิดสนิมกับวัสดุที่เป็นเหล็ก อันเป็นวัสดุหลักที่ใช้ทำตัวเบ็ด ทำให้ผู้ผลิตต้องทำการเคลือบ หรือชุบผิวนอกของตัวเบ็ดเพื่อป้องกันสนิม เราจะเห็นได้ว่าถ้าเป็นตัวเบ็ดที่ใช้กับงานตกปลาน้ำจืดจะเคลือบผิวเป็นสีน้ำตาลเข้ม น้ำเงิน และดำเท่านั้น เพราะเพียงพอจะป้องกันสนิมได้เมื่อใช้กับงานตกปลาน้ำจืด แต่ก็มีบางส่วนที่จะชุบเป็นสีเงินหรือบรอนซ์ (Bronze-plated) และสีทองหรือโกลด์ (Gold-plated) อีกด้วย

ตัวเบ็ดขึ้นสนิม

ส่วนตัวเบ็ดที่ออกแบบมาให้ใช้กับน้ำทะเลเป็นพวกเหล็กผสมชุบดีบุกหรือทิน-เพลท (Tin-plated) เป็นสีเงินด้านหรือบางรุ่นก็จะชุบนิเกิ้ล (Nickel-plated) ส่วนตัวเบ็ดที่ทำจากสเตนเลสนั้นจะขัดผิวกึ่งด้านกึ่งมัน การที่ตัวเบ็ดที่ใช้งานเกิดเป็นสนิมได้ จากวัสดุจำพวกเหล็กที่ใช้ ทำให้ผู้ผลิตต่างก็ค้นคิดวิธีการเคลือบผิวป้องกันสนิมให้ทนทานยิ่งขึ้น เช่น บางรายระบุกรรมวิธีของคนที่คิดค้นขึ้นมาว่า ซีการ์ด (Sea Guard) เป็นต้น

ดังนั้นการเลือกซื้อตัวเบ็ดควรตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ที่ผู้ระบุมากับกล่องใส่ตัวเบ็ดแต่ก็เป็นเรื่องทำได้ยาก เพราะนักตกปลาส่วนมากจะซื้อตัวเบ็ดแบบแบ่งขาย คือซื้อกันครั้งละ 10-20 ตัวเป็นเกณฑ์ รวมทั้งผู้ขายก็มักจะแบ่งตัวเบ็ดบรรจุเป็นของจำหน่ายอยู่แล้ว ก็เลยทำให้นักตกปลาไม่รู้ข้อมูลของตัวเบ็ด แต่จะว่าไปแล้วก็ไม่มีนักตกปลาคนใด ให้ความสนใจในเรื่องนี้เท่าใดนัก

การออกแบบตัวเบ็ดของผู้ผลิตนั้นจะคำนึงถึงการนำไปใช้งานเป็นหลักว่า จะใช้ตกปลาประเภทใด เช่น ปลา ขอบปากแข็งหรือขอบปากบอบบาง ใช้ในแหล่งน้ำจืดหรือน้ำทะเล ปลา สภาพของแหล่งตกปลาเป็นแบบใด เช่น มีสาหร่ายหรือพืชน้ำมาก เหล่านี้เป็นต้น

ดังนั้นเหมือนนักตกปลาที่เลือกใช้ตัวเบ็ดแบบต่างๆ จะต้องคำนึงถึงข้อมูลจากผู้ผลิตว่าเขาผลิตแบบนั้นๆ ออกมาเพื่อจุดประสงค์ใด แต่นักตกปลาส่วนมากก็ไม่ค่อยรู้ หรือไม่ได้คำนึงถึงเรื่องเท่าใดนัก ขอให้เป็นตัวเบ็ดที่ดูว่าพอใช้งานได้ก็พอแล้ว อย่างมากก็จะคำนึงแค่ขนาดของตัวเบ็ดหรือความยาวของตัวเบ็ดเป็นหลัก ดังนั้นเพื่อให้เป็นแนวทางในการเลือกใช้ตัวเบ็ดอย่างถูกต้อง จะขอนำเอาตัวเบ็ดระดับพื้นฐานที่นักตกปลาในต่างประเทศเขาใช้กันอยู่ มาแนะนำกันนั่นก็คือ

 

1.ตัวเบ็ด เจ (J)

Advertisements

อาจพูดได้ว่าเป็นตัวเบ็ดที่นำมาใช้ งานออกแบบอเนกประสงค์ คือใช้ได้กับงานทุกรูปแบบกับปลาทุกประเภทตัวเบ็ดแบบนี้จะมีการดัดแปลงรูปทรงไปอีกหลากหลายแบบ เช่น คมเบ็ดเบี่ยงไปทางซ้ายหรือขวา ตาเบ็ดพับเข้าด้านในหรือหงายออกด้านนอก เหล่านี้เป็นต้น

เบ็ดเบี่ยงไปทางซ้ายหรือขวา ตาเบ็ดพับเข้าด้านในหรือหงายออกด้านนอก เหล่านี้เป็นต้น ตัวเบ็ดดังกล่าวส่วนมากจะเป็นแบบก้านยาว (Long Shank) แต่ก็มีบางส่วนที่เป็นแบบก้านสั้น (Short Shank) อีกด้วย ตัวเบ็ดแบบก้านสั้นบางรุ่นจะมีวงของตัวเบ็ดหรือแก้ป (Gap) ค่อนข้างกว้าง เพื่อผลในการเกี่ยวได้เนื้อที่มากขึ้น สรุปแล้วตัวเบ็ดแบบนี้นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะมีให้เลือกใช้งานค่อนข้างหลากหลายกว่า ตัวเบ็ดทุกแบบ

 

2.ทูน่า (Tuna Hook)

Advertisements

ตัวเบ็ดแบบหน้างุ้มเข้าในหรือแบบทูน่า (Tuna Hook) เป็นตัวเบ็ดที่ถูกออกแบบมาให้ใช้กับงานตกปลาขนาดใหญ่ ที่มีขอบปากแข็งมาก เช่น ปลากะโทงแทง ปลาทูน่า และปลาทาร์บ่อน จุดประสงค์ของการทำให้หน้าเบ็ดงุ้มเข้าด้านในเล็กน้อย ก็เพื่อการยึดหรือล็อค (Lock) กับจุดที่คมเบ็ดฝังตัวได้มั่งคนขึ้น

การออกแบบให้ตัวเบ็ดมีก้านสั้นและหน้าเบ็ดไม่งุ้มจนเกินไป ก็จะยึดตัวเหยื่อได้มั่นคง กว่าตัวเบ็ดหน้าตรงทั่วไป สรุปแล้วตัวเบ็ดแบบนี้มีที่ใช้งานโดยเฉพาะกับปลาบางประเภทที่มีขอบปากเป็นกระดูกแข็ง และกับงานตกปลาบางวิธี เช่น การลากเหยื่อ เป็นต้น แต่ก็มีนักตกปลาบางกลุ่มนำมาใช้กับงานตกปลาทั่วไป ซึ่งก็ถือว่าเป็นความสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น เนื่องจากตัวเบ็ดแบบนี้มีราคาค่อนข้างสูงเอาการ แพงกว่าตัวเบ็ดธรรมดาหลายเท่า ตัวเบ็ดแบบนี้ ขนาด 12/0 หรือ สิบสองโอ

 

3.ตัวเบ็ด Circle Hook

ตัวเบ็ดแบบหน้างุ้มพิเศษ หรือแบบเซอร์เคิ้ล (Circle Hook) เป็นตัวเบ็ดชนิดก้านสั้น ที่ถูกออกแบบมาให้ส่วนของเงี่ยงเบ็ด งุ้มเข้าด้านในค่อนข้างมากและส่วนของปลายคมเบ็ดก็ยังงุ้มเข้าไปอีกเหมือนกันกรงเล็บเหยี่ยว ตัวเบ็ดแบบนี้มีจุดประสงค์ในการใช้งานกับการวางเบ็ดราวน้ำลึก หรือ ลองไลน์ (Long Line)

Advertisements

ทั้งนี้เพื่อจะยึดหรือล็อคจุดที่ตัวเบ็ดเกี่ยวอยู่อย่างมั่นคง ไม่หลุดออกไปง่ายๆ แม้จะเกี่ยวปลาอยู่เป็นเวลานาน หลังจากปลาย สายเบ็ดออกไปแล้ว กว่าจะกลับมากู้อีกครั้งก็กินเวลาอีกหลายชั่วโมง ถ้าใช้ตัวเบ็ดแบบธรรมดาทั่วไป เมื่อปลาติดเบ็ดและดิ้นอยู่เป็นเวลานาน ๆ จะทำให้จุดที่ตัวเบ็ดเกี่ยวอยู่กว้างออก จนตัวเบ็ดหลุดออกไปได้

ปัจจุบันมีนักตกปลาจำนวนไม่น้อย นิยมนำมาใช้กับการตกปลาทั่วไป รวมทั้งกับงานลากเหยื่อ หรือ การปล่อยสายลอยเหยื่อปลาเป็นหรือปลาตายอีกด้วย สรุปแล้วตัวเบ็ดแบบนี้ แม้ว่าจะใช้อยู่กับงานตกปลาของชาวประมงเป็นหลักมาแต่เดิม แต่ปัจจุบันก็เริ่มเป็นที่นิยมของนักตกปลาทั่วไปมากขึ้น

อ่านเพิ่มเติมเรื่อง >> Circle Hook

 

4.ตัวเบ็ด Wide Gap

ตัวเบ็ดแบบหน้ากว้างพิเศษ หรือ ไวด์ แก้ป (Wide Gap) ตัวเบ็ดแบบนี้ในอดีตนักตกปลาทางบ้าน เราคงจะไม่ค่อยคุ้นตาเท่าใดนัก เพราะไม่ค่อยมีคนใช้ และไม่มีผู้สั่งเข้ามาจำหน่ายในบ้านเรา ตัวเบ็ดหน้ากว้างพิเศษแบบนี้ถูกออกแบบมาให้ใช้กับการตกปลา น้ำจืดที่มีปากกว้างและฟันคม เช่น ปลาไพด์ และมัสกี้

หน้ากว้างพิเศษของตัวเบ็ด จะทำให้มันเกี่ยวลึกเข้าไปในมุมปากของปลาได้มาก และง่ายพอที่จะปลดตัวเบ็ดออกจากปากปลาที่มีฟันคม เพราะส่วนของตาเบ็ดจะพ้นมุมปากของปลาออกมา จึงทำให้จับได้ง่ายกว่าตัวเบ็ดแบบอื่นที่มักจะติดลึกเข้าไปในปากปลาจนพื้นตากเบ็ด นักตกปลาน้ำจืดที่นิยมตกปลาแล้วปล่อยบางกลุ่มก็เลือกใช้ตัวเบ็ดอีกแบบหนึ่งที่อยู่ออกแบบมาเพื่อใช้งานเฉพาะกับปลาบางชนิดหรืองานบางอย่าง เช่นกัน

สรุป

Advertisements

ตัวเบ็ด 3-4 แบบดังกล่าวมาข้างต้นนั้น ถือได้ว่าเป็นตัวเบ็ดที่มีรูปแบบพื้นฐานที่นักตกปลาทั่วไปเลือกใช้กัน แต่ก็ยังมีตัวเบ็ดที่ถูกออกแบบมาพิเศษ โดยดัดแปลงจากตัวเบ็ดพื้นฐานข้างต้น ให้แยกออกไปใช้งานเฉพาะอย่างอีกหลากหลายแบบด้วยกัน

ซึ่งหลายแบบนั้นนักตกปลาในบ้านเราคงจะเคยเห็นและเคยใช้งานกันมา บ้างแล้ว โดยจะนำมาแนะนำเพิ่มเติมกันในตอนต่อไป รวมทั้งวิธีเลือกขนาดของตัวเบ็ดและเบอร์ของตัวเบ็ดอีกด้วย รวมทั้งวิธีเลือกขนาดของตัวเบ็ดและเบอร์ของตัวเบ็ดอีกด้วย

จะอย่างไรก็ตามนักตกปลาที่เลือกใช้ตัวเบ็ดแบบต่างๆ ที่หาซื้อได้จากร้านจำหน่ายอุปกรณ์ตกปลาทั่วไป ก็ใช่ว่าจะหาตัวเบ็ดที่แปลกๆ ออกไปได้ง่ายนัก นั้นเพราะผู้ที่สั่งตัวเบ็ดเข้ามาจำหน่ายไม่ได้สั่งตัวเบ็ดแบบที่ต่างออกไปจากที่เคยขายอยู่เข้ามา เพราะเกรงว่าจะขายไม่ได้ นักตกปลา ก็เลยไม่ได้โอกาสได้ทดลองใช้ตัวเบ็ดเหล่านั้นว่าจะมีผลต่อการตกปลาของตนอย่างไรบ้าง

Advertisements