ความรู้คันเบ็ดอ่านไว้ได้ประโยชน์ (ไกด์)

ก็ต่อจากคันเบ็ดนะครับ จริงๆ ก็เป็นเรื่องเดียวกันนั้นละ เพราะยังไงซะถ้าไม่มีไกด์ คันเบ็ดก็เรียกว่าคันเบ็ดฝรั่งไม่ได้ โดยไกด์ถือเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับคันเบ็ด และก็เป็นตัวชี้วัดคุณภาพของคันเบ็ดอีกด้วย นักตกปลาจึงจำเป็นต้องทำความรู้เรื่องราวเกี่ยวกับไกด์เอาไว้บ้าง

ก็ต่อจากคันเบ็ดนะครับ จริงๆ ก็เป็นเรื่องเดียวกันนั้นละ เพราะยังไงซะถ้าไม่มีไกด์ คันเบ็ดก็เรียกว่าคันเบ็ดฝรั่งไม่ได้ 55+ โดยไกด์ถือเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับคันเบ็ด และก็เป็นตัวชี้วัดคุณภาพของคันเบ็ดอีกด้วย นักตกปลาจึงจำเป็นต้องทำความรู้เรื่องราวเกี่ยวกับไกด์เอาไว้บ้าง

ยี่ห้อของไกด์
ไกด์เป็นอะไรที่เลือกไม่ยาก เพราะเกือบจะมียี่อห้อเดียวเลยทีนักตกปลาชาวไทยเชื่อใจ และคันเบ็ดดีๆ ก็เลือกใช้ไกด์ยี่ห้อนี้ซะด้วย แต่จริงๆ แล้วไกด์สำหรับตกปลาจะมีอยู่หลายยี่ห้อนะครับ แน่นอนว่ามีอยู่หลายแบบด้วย แต่ผมจะเลือกเอามาเฉพาะไกด์สำหรับตีเหยื่อปลอม และเน้นที่งานน้ำจืดเท่านี้น โดยยี่ห้อที่ผมใช้มาพูดถึงไกด์ฟูจิ  “Fuji” ด้วยเหตุที่ว่าเป็นไกด์ที่นักตกปลาส่วนใหญ่ให้การยอมรับ ..ต่อไปเป็นรายละเอียดส่วนประกอบของไกด์ผมขอเลือกแนะนำแค่ที่จำเป็นนะครับ

Fuji001

A: Fuji Ring materials (วงไกด์)
จำเป็นต้องเป็นวัสดุที่เรียบลืนทนทาน โดยปกติแล้วในส่วนวงไกด์จะทำจากจากวัสดุหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น Silicon Carbide, Alconite, Silcon Nitride,  Hardloy, Aluminum Oxide เป็นต้น

p41_1 Silicon Carbide (SiC) : ถือเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการใช้ทำ “วงไกด์” จุดสังเกตคือเป็นสีดำ เรียบ มันเงา เป็นวงไกด์ที่ทนความร้อน, ระบายความร้อนได้ดี และที่สำคัญลื่นมากที่สุดด้วย  ใช้ได้ดีทั้งกับสายเอ็นและ PE* จากการใช้งานจริงคันเบ็ดไกด์ SiC คือให้ความรู้สึกที่นุ่มนวลในการตี สายออกค่อนข้างเงียบ เมื่อสู้กับปลาเสียงที่สายสัมผัสกับวงไกด์จะมีเสียงเล็กน้อย แต่สิ่งยอดเยี่ยมที่สุดของวงไกด์ SiC คือ มีเฟรม Titanium ซึ่งเป็นวัสดุที่เบาและแกร่งมากๆ ให้เลือกใช้มากมาย หากถูกนำไปประกอบเป็นคันเบ็ดก็จะทำให้ได้คันที่มีน้ำหนักไม่ถึง 150 กรัม หรือบ้างยี่ห้อหนักไม่ถึง 100 กรัมด้วยซ้ำ
p41_3 Alconite : เป็นวงไกด์ที่คันเบ็ดส่วนใหญ่เลือกใช้ (คันราคาถูกจนถึงกลาง) เพราะในเรื่องความแข็ง ลื่น กับระบายความร้อนเป็นรองเพียง SiC ถือเป็นวงไกด์แบบที่ใกล้เคียงกับ SiC มากที่สุด ที่สำคัญราคาถูกด้วย แต่ข้อเสียคือมีนำหนักมากที่สุดในวงไกด์ทุกประเภท* จริงๆ แล้ว Alconite ถือว่าลื่น และแกร่งมากพอที่จะใช้เป็นวงไกด์ของคันตีเหยื่อปลอม แต่ติดตรงที่มันหนัก และยังไม่สุดสำหรับคนที่ชอบความสมบูรณ์แบบ ในเรื่องตีสายออกจะมีเสียงเล็กน้อย ทำระยะดีไม่ต่างจาก SiC มากนัก แต่เมื่อสู้กับปลา หากใช้สาย PE จะมีเสียงสายสัมผัสกับวงไกด์ดังอย่างชัดเจน หากเป็นนักตกปลาที่เลือกใช้สายที่มีขนาดต่ำกว่า PE 1 ดูจะไม่เหมาะที่จะใช้ Alconite แต่ก็ช่วยให้ดีขึ้นได้ด้วยการเปลี่ยนไกด์ตัวทิปท็อป (ไกด์ตัวบน) ให้เป็น SiC จะช่วยได้เยอะทีเดียว
p41_2 Silcon Nitride (SiN) : วัสดุตัวนี้ไม่ค่อยจะเห็นในวงไกด์สักเท่าไร ตัวผู้เขียนเองก็ไม่เคยใช้ด้วย แต่ตามข้อมูล เป็นวัสดุที่แข็งแกร่งมาก มักถูกใช้ทำลูกปืนคุณภาพสูง รวมทั้งชิ้นส่วนเครื่องบินเจ็ท
p41_4 Hardloy : วงไกด์จะออกสีเทาๆ ดำๆ แข็ง และลื่นน้อยกว่าวัสดุอื่นๆ ระบายความร้อนอยู่ในระดับที่ช้าที่สุด ข้อดีคือมีน้ำหนักเป็นรองเพียง SiC เท่านั้น
p41_5 Aluminum Oxide : วงไกด์โทนสีดำ ความเงาน้อยกว่า SiC เป็นไกด์ที่มักจะถูกเลือกมาใช้กับคันราคาถูก เพราะมีราคาที่ถูก ในเรื่องความแข็งพอๆ กับ Hardloy แต่ก็มีน้ำหนักมากกว่าด้วย ส่วนการระบายความร้อนถือว่าดีกว่า Hardloy เล็กน้อย

 

B : Guide Frames (เฟรมไกด์)

เฟรมไกด์เป็นส่วนที่ถูกออกแบบให้มีรูปร่างแตกต่างกันมากมาย และตัวเฟรมไกด์เองจะเป็นตัวบ่งบอกชื่อซีรีย์ไกด์นั้นๆ ด้วย เช่น K-Series ที่มักจะได้ยินบ่อยๆ ในช่วงปีที่ผ่านมา

xh009
ตัวอย่างลักษณะการวาง และรูปทรงไกด์ K-Series แบบสปินนิ่ง
xh010
ตัวอย่างลักษณะการวาง และรูปทรงไกด์ K-Series แบบเบทคลาสติ่ง

จากภาพทั้งสอง จะเห็นว่าเฟรมของไกด์ K-Series ถูกออกแบบมาให้มีความโค้งทั้งหมด และเอียงไปข้างหน้าอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งจากคำกล่าวอ้างของผู้ผลิตก็เพื่อลดปัญหาสายพันไกด์ ซึ่งก็ช่วยได้เยอะจริงๆ แต่ข้อเสียของ K-Series คือ ไกด์จะดูมีขนาดที่ใหญ่โดยเฉพาะไกด์สปินนิ่ง ด้วยเหตุนี้วัสดุที่นำมาทำเป็นเฟรมไกด์ถือว่ามีความสำคัญต่อน้ำหนักของไกด์ และส่งผลโดยตรงต่อน้ำหนักโดยรวมของคันเบ็ดเช่นกัน โดยวัสดุดีที่สุดที่ผู้ผลิตนำมาทำเฟรมไกด์หลักๆ ที่นิยมนำมาผลิตคือ

  • Titanium : ถือเป็นวัสดุดีที่สุดที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อโครงการอวกาศ สร้างชิ้นส่วนเครื่องบินเจ็ต โดยปกติตัวไทเทเนียมจะมีสีเงินมันวาว มีความแข็งเทียบเท่าเหล็กกล้า แต่มีน้ำหนักที่เบากว่าถึง 45% เป็น ทนการกัดกร่อนของน้ำทะเล, กรด รวมทั้งคลอรีน แถมยังไม่เป็นสนิมอีกด้วย ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้เมื่อถูกนำมาทำเป็นเฟรมไกด์จึงเบา และแกร่งมากๆ
  • Stainless : สเตนเลส หรือเหล็กกล้าไร้สนิม แข็งและทนการกัดกร่อนใกล้เคียงกับ Titanium แต่น้ำหนักจะมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด โดยปกติแล้วจะเป็นสีเงิน แต่ทางผู้ผลิตจะมีการพ่นสีดำ หรือสีอื่นๆ  ข้อดีของไกด์ประเภทนี้คือราคาจะถูกกว่าไทเทเนียมมาก
xh011
แสดงการเปรียบเทียบน้ำหนัก ระหว่างไกด์ที่ใช้ไทเทเนียมเป็นเฟรม กับที่ใช้สเตนเลส

จากภาพไม่ต้องสงสัยเลยว่าคันเบ็ดที่ใช้ไกด์ที่ทำจากไทเทเนียมจะต้องมีน้ำหนักที่เบากว่าสเตนเลส แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคันเบ็ดที่ใช้ไกด์เฟรมสเตนเลสจะหนัก และไม่ดีนะครับเพราะเมื่อใช้งานจริงมันก็ไม่ได้ต่างกันมาก มันขึ้นอยู่กับความเคยชินมากกว่า

หากเป็นสมัยก่อนคันเบ็ดที่ใช้ไกด์ SiC เฟรมไทเทเนียม จะเป็นคันเบ็ดที่มีราคาแพงมาก แต่เมื่อมาถึงยุคที่มีการแข่งขันมากขึ้น ก็ได้มีการใส่ไกด์ Sic เฟรมไทเทเนียม ลงบทคันเบ็ดราคากลางๆ อย่างคันราคา 3000 กว่าๆ ก็มีให้เลือกหลายคันแล้ว (เฉพาะราคาไกด์ก็ทะลุ 2,000 บาทแล้ว) ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักตกปลามือใหม่ที่กำลังมองหาคันเบ็ดดีๆ ในราคาเบาๆ มาใช้กัน ..เอาละจบแล้วสำหรับเรื่องคันเบ็ด กับไกด์ เดี๋ยวมาต่อรอกกันครับ

Advertisements