ค้นพบ ‘ตุ่นทองคำ’ หลังสูญหายไปนาน 86 ปี

ตุ่นทองคำ ที่พูดถึงในเรื่องนี้คือ ตุ่นทองคำของเดอวินตัน (De Winton's golden mole) มันเป็นสัตว์ที่อยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ขั้นวิกฤติ ถูกพบครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2480 (1937) หรือเมื่อ 86 ปีก่อน จนเมื่อไม่นานนี้ ก็มีข่าวการพบตุ่นทองคำชนิดนี้อีกครั้ง มันเป็นการยืนยันว่าสัตว์ที่เข้าใจยากชนิดนี้ ยังมีชีวิตอยู่ใต้เนินทรายอันกว้างใหญ่ ต่อไปเป็นเรื่องราวที่เรารู้เกี่ยวกับตุ่นทองคำชนิดนี้

ตุ่นทองคำของเดอวินตัน คืออะไร?

Advertisements

สำหรับตุ่นทองคำ หรือ ตุ่นทองคำของเดอวินตัน (De Winton’s golden mole) มีชื่อวิทยาศาสตร์ คริปโตคลอริส วินโทนี่ (Cryptochloris wintoni) เป็นสัตว์ประจำถิ่นของแอฟริกาใต้ พบในพื้นกึ่งเขตร้อนที่แห้งแล้ง และชายฝั่งที่เป็นทราย ปัจจุบันอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ขั้นวิกฤติ และอยู่ในรายชื่อสายพันธุ์ที่สูญหาย 25 อันดับแรก (top 25 most wanted)

หากได้รู้ว่าตุ่นชนิดนี้มันใช้ชีวิตยังไง ผมว่าหลายคนน่าจะคิดคล้ายผม ว่าคงไม่แปลกที่จะไม่ได้เจอตัวมันมานาน ก็น่ะมันเป็นตุ่นที่อยู่ใต้ดินแทบตลอดเวลา แถมวิธีการเคลื่อนตัวที่ใต้ดินของมันก็ไม่เหมือนสัตว์ขุดดินชนิดอื่น ความจริงมันเหมือนว่าตุ่นชนิดนี้ “ว่ายน้ำ” มากกว่า

เคล็ดลับของ “ตุ่นทองคำ” ก็คือมันไม่ได้มีขนสีทองแต่อย่างใด แต่ขนจะเป็นสีเทาออกเหลือง ขนแต่ละเส้นจะมีโคนเป็นสีเทา ก้านสีขาว และปลายเป็นสีน้ำตาล แต่เหตุที่มันได้ชื่อว่าตุ่นทองคำ เนื่องจากสารคัดหลั่งที่จะเคลือบขนจนมันเงาแลดูเป็นสีทอง ซึ่งช่วยให้มันสามารถแหวกว่ายอยู่ใต้เนินทรายได้อิสระ และด้วยสิ่งนี้ มันจะไม่สร้างอุโมงค์แบบที่เข้าใจกัน ไม่มีการทิ้งหลุมหรือร่องรอยที่เด่นชัดเอาไว้ …ด้วยเหตุนี้ จึงยากที่จะติดตามตัวนั้นเอง

การพบอีกครั้งหลังผ่านมา 86 ปี

ตุ่นทองคำ เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ใต้ดินเกือบตลอดเวลา มันตาบอด แต่ก็มีการรู้จากการได้ยินและแรงสั่นสะเทือน และมันก็ไม่ถูกพบเห็นมานานถึง 86 ปี แต่ต้องขอบคุณความพยายามของนักอนุรักษ์ พวกเขาต้องใช้เวลานานถึง 2 ปี พร้อมสุนัขพันธุ์บอร์เดอร์คอลลี่ (Border Collie) ที่ชื่อว่าเจสซี มันเป็นสุนัขที่ได้รับการฝึกมาเพื่อค้นหาตุ่นทองคำโดยเฉพาะ

Advertisements

ในการค้นหา สุนัขเจสซีจะเดินไปเดินมาและจะแจ้งเตือนทีมนักวิจัยว่าได้กลิ่นของตุ่นทองคำ ด้วยการนอนราบตรงจุดที่พบ ในแต่ละครั้งที่เจสซีหยุด พวกเขาจะเก็บตัวอย่างดิน ซึ่งจะถูกส่งไปตรวจสอบในภายหลัง พวกเขาจะตรวจสอบ eDNA จากเซลล์ผิวหนัง ของเสีย และเมือก ซึ่งตุ่นทองคำจะปล่อยออกมา ในขณะที่มันเคลื่อนผ่านเนินทราย

ด้วยวิธีนี้ ทำให้ทีมนักวิจัยค้นหาเนินทรายได้ไกลถึง 18 กิโลเมตรภายในหนึ่งวัน และพวกเขายังเก็บตัวอย่างได้ถึง 100 ตัวอย่าง และในที่สุด! พวกเขาก็พบเข้ากับสัตว์ที่น่าจะเป็น “ตุ่นทองคำของเดอวินตัน” สองตัว …ซึ่งก็เป็นเรื่องเมื่อปี พ.ศ.  2564

หลังการวิจัยภาคสนามเสร็จสิ้น ทีมวิจัยก็คิดว่า พวกเขาได้เจอกับ  “ตุ่นทองคำของเดอวินตัน” แล้วจริงๆ แต่เพราะตุ่นชนิดนี้ค่อนข้างเหมือนตุ่นอีกหลายชนิดเช่นกัน ดังนั้น! การค้นพบนี้จึงยังไม่ได้รับการยืนยัน จนกว่าจะได้รับตัวอย่างหลักฐานที่หนักแน่นกว่านี้ หรืออย่างน้อยก็ต้องได้รับผลการตรวจสอบทางพันธุกรรมจากดินที่พวกเขาเก็บมา

และเพราะมีตุ่นทองคำมากถึง 21 ชนิด และส่วนใหญ่ก็อาศัยอยู่ในแอฟริกาใต้ และจากรายงานจากสปริงเกอร์ไซเอนซ์ และจากตรวจสอบ eDNA พวกเขาก็ตัดจนเหลือตุ่นทองคำ 4 ชนิด ที่อาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกับ “ตุ่นทองคำของเดอวินตัน” และจนกว่าการตรวจสอบ eDNA จะเสร็จสิ้นสมบรูณ์ เรายังไม่สามารถระบุได้ 100% ว่า สิ่งที่พบคือ “ตุ่นทองคำของเดอวินตัน” จริงหรือไม่? แต่อย่างน้อยก็มีโอกาสสูงที่จะเป็น  “ตุ่นทองคำของเดอวินตัน”

Advertisements

และสุดท้าย ในตอนนี้ พื้นที่อาศัยของตุ่นทองคำเหล่านี้ กำลังถูกคุกคามจากการขุดเพชร สิ่งเร่งด่วนที่ต้องทำคือ จำเป็นต้องระบุพื้นที่เพื่อมุ่งเน้นไปที่การอนุรักษ์ และต้องรักษาความปลอดภัยพื้นที่คุ้มครอง เพื่อให้แน่ใจว่ายังมีบ้านสำหรับสายพันธุ์ที่เข้าใจได้ยากเหล่านี้

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements