เรียกคืนปลาตัดต่อ GMOs รุกพันธุ์พื้นเมือง เสี่ยงถูกกีดกันการค้า

กรมประมงออกกฎเข้มห้ามเพาะ ผสมข้ามพันธุ์ปลาเรืองแสง GMOs ห่วงทำสายพันธุ์ดั้งเดิม เสี่ยงถูกกีดกันการค้า หลังไทยส่งออก 20 ล้านตัวต่อปี มูลค่า 200 ล้านบาทต่อปี ขีดเส้นขอคืน 3 เดือน

ปลาเรืองแสง

นางอรุณี รอดลอย ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์น้ำและพรรณไม้น้ำสวยงามกรมประมง เกี่ยวกับสถานการณ์สัตว์น้ำดัดแปลงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) โดยเฉพาะกลุ่มปลาสวยงาม ซึ่งประเทศไทยเป็นอันดับในการส่งออกปลาสวยงามของโลก

นางอรุณี อธิบายว่าหลายประเทศไม่ยอมรับเรื่องการดัดแปลงพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิต จึงออกกฎมาควบคุม เพราะอาจส่งผลให้เกิดการปนเปื้อนทางพันธุกรรมกับชนิดพันธุ์ที่มีในท้องถิ่น โดยเฉพาะปลาสวยงาม เมื่อมีการแทรกเข้าไปอยู่ในยีนแล้วเป็นเรื่องยากที่จะจัดการ ที่สำคัญอาจสูญเสียความเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิม

หากหลุดรอดไปจะกลายเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของแหล่งน้ำในธรรมชาติ เสี่ยงต่อการรุกรานสัตว์น้ำท้องถิ่น สร้างความเสียหายต่อเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

อย่างกรณีล่าสุด พบการเพาะเลี้ยง “ปลาเรืองแสง” หรือปลาจีเอ็มโอ ด้วยเทคนิคการนำยีนที่ได้จากแมงกะพรุน หรือดอกไม้ทะเลบางชนิดไปใส่ไว้ในดีเอ็นเอที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมของปลา สร้างโปรตีนที่มีลักษณะเด่นขึ้นมา เมื่อถูกกระตุ้นด้วยแสงไฟ จะทำให้ตัวปลาเรืองแสง สร้างสีสันแปลกตา ดึงดูดคนให้ซื้อไปเลี้ยง

ปลาสวยงามหลากหลายชนิดที่นำมาพัฒนาพันธุ์ด้วยวิธีการตัดต่อพันธุกรรมเป็นปลาเรืองแสง ยกตัวอย่าง เช่น ปลาเสือเยอรมัน ปลาม้าลาย ปลากลุ่มเตตร้า ปลาเทวดา ปลากาแดง

จากการสำรวจพบว่าปลาเหล่านี้ราคาขายปลีกตัวละไม่เกิน 10 บาท หากมาจากฟาร์มจะมีราคาถูกลงไปอีก ชนิดของปลาเรืองแสงในปัจจุบันมีทั้งสีเขียว สีฟ้า สีแดง สีส้ม สีชมพู และสีม่วง โดยกลุ่มคนที่นิยมเลี้ยงปลาเรืองแสง จะเป็นกลุ่มที่นิยมปลาสวยงาม เลี้ยงไว้ในตู้ปลาประดับไว้ในบ้าน เมื่อโดนแสงจะมีสีสัน โดดเด่น จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงกันทั้งในประเทศและต่างประเทศ

เรื่องนี้กลายเป็นโจทย์ให้ กรมประมงต้องสกัดไม่ให้เกิดปัญหาหลุดรอดไปในแหล่งน้ำธรรมชาติ เพราะถ้าไม่ยับยั้งในอนาคตเกิดการปนเปื้อนกับชนิดปลาในท้องถิ่น ทำให้ถูกกีดกันทางการค้า สร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมปลาสวยงามของไทย

Advertisements

เหตุผลดังกล่าวจึงนำไปสู่ การเรียกคืนปลาจีเอ็มโอจากเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยง ผู้เลี้ยง โดยกำหนดเวลาต้องนำมาคืนภายใน 3 เดือน (1 ก.ย. – 30 พ.ย.) ก่อนใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเข้มงวด

แม้ขณะนี้ในธรรมชาติยังไม่พบการปนเปื้อนของปลาเรืองแสงจีเอ็มโอในแหล่งน้ำธรรมชาติของไทย และสถานการณ์ไม่น่ากังวลเท่าปลาเอเลี่ยน หรือ สัตว์น้ำต่างถิ่น ชนิด ๆ อื่น แต่พบมีการนำเข้าปลาเรืองแสงเข้ามาเพาะพันธุ์ผสมกับปลาสวยงาม แต่จำเป็นต้องเฝ้าระวัง เพื่อไม่เกิดความเสียหายตามมา

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements
แหล่งที่มาthaipbs