สะตือ ปลาน้ำจืดอีกสายพันธุ์หายากในไทย

จริงๆ ปลาชนิดนี้ผมเองก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเคยเห็นตัวเป็นๆ กับตาหรือเปล่า เพราะมันปลาที่คล้ายกับปลากราย และก็คล้ายกับปลาตองลายด้วย แต่ไม่เป็นไรเพราะในตอนนี้ผมจะเอาปลาสะตือมาแนะนำให้น้าๆ ได้รู้จักกัน และวิธีดูว่ามันคือปลาสะตือหรือเปล่า นั้นเพราะเดี๋ยวนี้เริ่มมีปลากรายที่ไม่มีจุดออกมาให้เห็นบ้างแล้วด้วย ถ้าดูไม่เป็นเดี๋ยวพอจับได้เห็นไม่มีจุด แล้วจะเหมารวมว่าเป็นสะตือไปซะหมด ..และในเรื่องนี้ผมมีคลิปประกอบด้วย อ่านแล้วดูคลิปกัน

“ปลาสะตือ (Giant featherback) ปลาน้ำจืด มีชื่อวิทยาศาสตร์ Chitala lopis (/ไค-ตา-ลา-โล-ปิส/) อยู่ในวงศ์ปลากราย มีรูปร่างคล้ายปลาชนิดอื่นในสกุลเดียวกัน”

ปลาสะตือ จะมีท้ายทอยเว้าลึกกว่า และลำตัวมีเกล็ดละเอียดกว่า โคนครีบอกมีแต้มคล้ำ และข้างลำตัวมีจุดประสีคล้ำเล็กๆ มีขนาดลำตัวประมาณ 60 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุด 1.5 เมตร

ปลาสะตือ เป็นปลาชนิดที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้เป็นอันดับสองรองจากปลากรายอินเดีย (C. chitala) โดยสถานที่ค้นพบครั้งแรก คือ กรุงจาการ์ตา บนเกาะชวา ในอินโดนีเซีย และชื่อวิทยาศาสตร์ lopis เป็นชื่อสามัญที่เรียกกันในท้องถิ่นของเมืองเซอมารัง อินโดนีเซีย

ปลาสะตือ
นอกจากส่วนหัวที่ต่างจากปลากรายชัดเจนแล้ว สามารถสังเกตุปานสีดำที่อยู่ครีบข้างตัวของปลา แต่ถ้าดันเป็นสะตือเผือกก็ช่วยไม่ได้ เพราะคงไม่เห็น > <

สำหรับปลาสะตือ ถือเป็นปลาที่หายากอีกชนิดหนึ่ง ในประเทศไทยพบอาศัยเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น คือ แม่น้ำสาละวิน, แม่น้ำโขง พบน้อยที่แม่น้ำเจ้าพระยาและสาขา และแม่น้ำตาปี ในต่างประเทศพบที่พม่า, มาเลเซีย และบนเกาะบอร์เนียว โดยอาหารได้แก่ สัตว์น้ำขนาดเล็ก ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว จึงมีพบได้ตามเขื่อน อ่างเก็บน้ำ แต่ก็หาได้ไม่ง่ายอยู่ดี นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม

ปลาสะตือมีชื่อเรียกอื่นอีก เช่น “ปลาตองแหล่” ในภาษาอีสาน “ปลาสือ” ในภาษาใต้ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “ปลาตือ” เป็นต้น

ทำความรู้จักและตกปลาสะตือ

Advertisements

ปลาตองลาย Blanc’s Striped Featherback

ปลากราย (ปลาหางแพน หรือ ปลาตองกราย)

ตกปลากราย ด้วยเหยื่อเป็น จะทำยังไง

Advertisements