นักวิจัยค้นพบ ไก่ฟ้า-พิราบหลังดำ นกที่เคยเห็นครั้งเดียวเมื่อ 140 ปีก่อน

ไก่ฟ้า-พิราบหลังดำ (Black-naped Pheasant-pigeon) ถูกพบเห็นครั้งแรกและครั้งสุดท้ายในปี 1882 และในตอนนี้มันถูกพบอีกครั้งโดยกล้องดักถ่ายสัตว์ป่าในปาปัวนิวกินี ..คลิปท้ายเรื่อง

การค้นพบนกชนิดนี้อีกครั้ง ทำให้ทีมสำรวจต้องใช้เวลาหนึ่งเดือนบนเกาะเฟอร์กูสัน (Fergusson Island) ซึ่งเป็นเกาะที่ทุรกันดารในหมู่เกาะ D’Entrecasteaux ทางตะวันออกของปาปัวนิวกินี ซึ่งเดิมมีการบันทึกนกชนิดนี้ไว้

ทีมงานประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติปาปัวนิวกินี ตลอดจนนักวิจัยนานาชาติจาก Cornell Lab of Ornithology และ American Bird Conservancy

เกาะเฟอร์กูสันปกคลุมไปด้วยภูมิประเทศที่ขรุขระและเป็นภูเขา ทำให้การสำรวจครั้งนี้มีความท้าทายและต้องใช้ความพยายามมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะกับกลุ่มนักวิจัย สมาชิกหลายคนบอกกับทีมงานว่า พวกเขาไม่เคยเห็น “ไก่ฟ้า-พิราบหลังดำ” มาหลายทศวรรษแล้ว … เพียงสองวันก่อนที่นักวิจัยจะออกจากเกาะ กล้องดักถ่ายสัตว์ป่าก็สามารถถ่ายภาพของนกหายากชนิดนี้ได้

“หลังจากหนึ่งเดือนของการค้นหา การได้เห็นภาพแรกของไก่ฟ้า-พิราบหลังดำ เรารู้สึกเหมือนได้พบยูนิคอร์น” ​​จอห์น ซี. มิตเตอร์ไมเออร์ ผู้อำนวยการโครงการนกหลงทางที่ American Bird Conservancy และหัวหน้าร่วมของคณะสำรวจกล่าวในเอกสาร “มันเป็นช่วงเวลาที่คุณใฝ่ฝันมาทั้งชีวิตในฐานะนักอนุรักษ์และนักดูนก”

ความดีใจเมื่อรู้ว่าได้ภาพของนกที่ตามหา

ไก่ฟ้า-พิราบหลังดำเป็นนกขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ตามพื้นดิน มันมีหางที่กว้าง ในตอนนี้นักวิจัยยังรู้เรื่องของพวกมันเพียงเล็กน้อย และเชื่อว่าจำนวนประชากรของพวกมันก็มีน้อยและกำลังลดลงอย่างรวดเร็ว

ยังไม่ชัดเจนว่ามีไก่ฟ้า-พิราบหลังดำเหลืออยู่กี่ตัว นั้นเพราะภูมิประเทศที่ทุรกันดารทำให้การระบุจำนวนประชากรทำได้ยาก และแม้ว่าเรารู้ว่ามีพวกมันอยู่ แต่การพบแต่ละตัวก็เป็นได้ยาก อย่างเช่นในการสำรวจในช่วง 2 สัปดาห์ในปี 2019 นักวิจัยก็ไม่พบนกชนิดนี้แม้แต่ตัวเดียว และแม้การสำรวจล่าสุดนี้ เราก็ได้มาเพียงภาพถ่ายเท่านั้น

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements