ไข่ในไข่ที่ว่านี้ มาจากไดโนเสาร์ขนาดยักษ์ที่ชื่อ “ไททันโนซอร์ (Titanosaurid)” โดยสิ่งนี้เผยให้เห็นเบาะแสที่เกี่ยวข้องกับสัณฐานวิทยาของท่อนำไข่ ซึ่งอาจคล้ายกับของนกที่ได้รับการดัดแปลงมาเป็นอย่างดีเพื่อวางไข่ตามลำดับ นี่อาจบ่งชี้ว่าไดโนเสาร์ซอโรพอดกลุ่มนี้ มีความสามารถในการจัดการไข่ได้ดี เช่นเดียวกับญาติที่ยังหลงเหลืออยู่
“นี่ถือเป็นการค้นพบที่หายากและสำคัญ” ฟอสซิลนี้ได้รับมาจาก Upper Cretaceous Lameta ในรัฐมัธยประเทศ ทางตะวันตกของอินเดียตอนกลาง โดยนักวิจัยได้ค้นพบไข่ในอุทยานแห่งชาติ Dinosaur Fossils Bagh ซึ่งพวกเขาพบซอโรพอดไททันโนซอร์จำนวน 52 รังใกล้หมู่บ้าน Padlya
หนึ่งในรังไดโนเสาร์มีไข่ 10 ฟอง และในนั้นก็มี “ไข่ในไข่” ซึ่งพบว่ามีเปลือกสองชั้นรวมอยู่ด้วย ..ความสำคัญของไข่ในไข่นี้ เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงกลยุทธ์การสืบพันธุ์ของไดโนเสาร์พวกนี้ และลักษณะทางสัณฐานวิทยาของอวัยวะที่เกี่ยวข้องของพวกมัน
ในกรณีของสัตว์เลื้อยคลาน เช่น เต่าทะเล จะวางไข่ในคราวเดียวจากมดลูกทั่วไป ซึ่งการจะวางไข่ได้หลายร้อยฟองในคราวเดียว ในทางกลับกัน นกมีมดลูกพิเศษที่สามารถวางไข่หนึ่งฟองก่อนที่จะเริ่มสร้างไข่ใบที่สอง และด้วยวิธีของนก มันจึงเกิดไข่ที่ผิดปกติเหล่านี้
จระเข้ ก็เป็นอีกตัวอย่าง มันมีมดลูกแบบพิเศษและแบ่งเป็นส่วนๆ ได้คล้ายกับของนก แต่จระเข้จะไม่สร้างไข่แล้ววางออกมาทีละฟอง มันจะสร้างและเก็บไว้ก่อน เมื่อพร้อมมันจะปล่อยทั้งหมดในคราวเดียว ดังนั้นฟอสซิลไข่ในไข่ที่เราพบนี้ สามารถบอกอะไรกับเราเกี่ยวกับซอโรพอดได้บ้าง?
การค้นพบไข่ในไข่จากรังไดโนเสาร์ไททันโนซอร์ แสดงให้เห็นว่าสัณฐานวิทยาของท่อนำไข่มีความคล้ายคลึงกับของนก ที่เปิดโอกาสให้วางไข่ตามลำดับในกลุ่มไดโนเสาร์ซอโรพอดนี้
การค้นพบครั้งใหม่นี้เน้นย้ำว่าพยาธิวิทยาของไข่ในไข่ ไม่ได้มีลักษณะเฉพาะสำหรับนก และซอโรพอดมีพฤติกรรมการสืบพันธุ์ที่คล้ายกับพวกอาร์คซอรัส (อาร์โคซอร์ที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ จระเข้ และ นก)