ปลาเก๋ายักษ์เป็นปลาเก๋าขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มันสามารถกินปลาฉลามขนาด 4 – 5 ฟุต ด้วยการกลืนเพียงครั้งเดียว ปลาชนิดนี้เป็นนักล่าที่ดุดัน มันยาวได้ถึง 8 ฟุต และหนัก 800 ปอนด์ แต่ขนาดมหึมาของพวกมัน ไม่ได้ช่วยให้มันรอดจากการจับเลย เพราะที่ผ่านมา พวกมันได้รับการคุ้มครอง จนดูเหมือนจะไม่กลัวมนุษย์ และยังเป็นปลาขนาดใหญ่ที่อยู่เป็นฝูง มันเป็นหนึ่งในปลาที่กินเบ็ดง่ายที่สุด (แต่เอาขึ้นมาไม่ง่าย) หากอนุญาตให้ทำประมงในฟลอริดา สายพันธุ์นี้จะรอดจากการถูกคุกคามหรือไม่?
ปลาที่ถูกห้ามจับมาตั้งแต่ปี 1990
อย่างที่บอกแม้ที่ผ่านมามันจะถูกห้ามจับ แต่ก็ยังเปิดช่องให้ไว้ในกรณีที่ตกด้วยเบ็ดได้โดยไม่ตั้งใจหรือแม้จะตั้งใจ สิ่งที่ต้องทำเพื่อไม่ให้ผิดกฎหมายคือรีบปล่อยมัน ห้ามนำมันขึ้นจากน้ำและห้ามทำมันตาย
อย่างไรก็ตามคณะกรรมาธิการอนุรักษ์สัตว์ป่าฟลอริดา (FWC) ซึ่งควบคุมการล่าสัตว์และการประมงในรัฐ ได้ประกาศว่ากำลังพิจารณาเรื่องที่จะเลิกคุ้มครองปลาชนิดนี้ เพราะ “ปลาเก๋ายักษ์มีความอุดมสมบูรณ์ขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่การประมงปิดตัวลงในปี 1990”
อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจนี้ได้ทำให้เกิดการต่อต้านอย่างรุนแรง เพราะเป็นการยากที่จะระบุจำนวนปลาเก๋ายักษ์ที่มีอยู่ในน่านน้ำฟลอริดาเพราะนับปลาได้ยาก ถึงกระนั้นนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่าสายพันธุ์นี้กำลังฟื้นตัว แต่ประชากรยังไม่ได้มากขนาดให้ทำประมงได้
โดยเมื่อสามปีที่แล้ว International Union for the Conservation of Nature ซึ่งเป็นหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์ที่ประเมินสถานะการอนุรักษ์ของสายพันธุ์ทั่วโลก ได้ปรับปรุงสถานะของปลาเก๋ายักษ์จากภาวะใกล้สูญพันธุ์ขั้นวิกฤตให้ไปอยู่ในกลุ่มเสี่ยง
แต่นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลหลายคน รวมทั้งคริสโตเฟอร์ มาลิโนฟสกี นักชีววิทยาด้านการอนุรักษ์ ที่ศึกษาปลาเก๋ายักษ์ระหว่างปริญญาเอก การวิจัยที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐฟลอริดา กล่าวว่าการฟื้นตัวของพวกมันต้องเผชิญกับความพ่ายแพ้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และตัวเลขของพวกมันยังต่ำเกินไปที่จะแสดงให้เห็นถึงการยกเลิกการห้ามนี้ “ณ จุดนี้ ข้อมูลไม่สนับสนุนการเปิดให้จับแม้แต่การประมงที่จำกัด” เขากล่าว
จากข้อมูลเขียนเอาไว้ว่า สำหรับ FWC พวกเขากำลังตัดสินใจขั้นสุดท้ายกันอยู่ และถึงแม้จะไม่มีเส้นตายที่แน่นอน แต่ไม่น่าจะเกิดเดือนตุลาคม หากคณะกรรมการลงคะแนนเห็นชอบที่จะอนุญาตให้ทำการประมง คณะกรรมการจะร่างกฎเกณฑ์กำหนดข้อบังคับ เช่น จำนวนปลาที่สามารถจับได้ อุปกรณ์ใดที่ใช้ได้ หรือจับได้บริเวณไหน ร่างกฎหมายจะต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบสาธารณะเป็นเวลานานหลายเดือน ซึ่งคงต้องติดตามดูกันต่อไป
ลงชื่อเพื่อปกป้องปลาชนิดนี้ได้ตามลิงค์ change.org