ก้าวแรกสู่การตกปลา ตอน ปลากับสัญชาติญาณการหาอาหาร

มองรู้แน่ชัดแล้วว่าเหยื่อหรืออาหารของมันจะต้องมีพฤติการณ์ที่เป็นไปตามธรรมชาติ มันจึงจะพุ่งเข้าสไตร๊ค์หรือเข้าฉวย แล้วด้วยสัญชาติญาณอันนี้นี่เองที่ทำให้มนุษย์เรานำมาใช้ประโยชน์ในการที่จะดัดแปลงเหยื่อปลอม หรือพัฒนาปรับปรุงวิธีการประกอบสายลีดเดอร์และเทคนิคการเกี่ยวเหยื่อ เพื่อให้มีสภาพคล้ายคลึงกับเหยื่อที่ปรากฎตามธรรมชาติมากที่สุด

มองรู้แน่ชัดแล้วว่าเหยื่อหรืออาหารของมันจะต้องมีพฤติการณ์ที่เป็นไปตามธรรมชาติ มันจึงจะพุ่งเข้าสไตร๊ค์หรือเข้าฉวย แล้วด้วยสัญชาติญาณอันนี้นี่เองที่ทำให้มนุษย์เรานำมาใช้ประโยชน์ในการที่จะดัดแปลงเหยื่อปลอม หรือพัฒนาปรับปรุงวิธีการประกอบสายลีดเดอร์และเทคนิคการเกี่ยวเหยื่อ เพื่อให้มีสภาพคล้ายคลึงกับเหยื่อที่ปรากฎตามธรรมชาติมากที่สุด

การทดลองของ ดร.บอริ โอลลา (Dr.Bori Olla)

Advertisements

ร่วมกับนักค้นคว้าอีกหลายคน ได้ทำการศึกษาวิจัยพฤติกรรมของปลาบลูฟิชฝูงหนึ่งที่เอามาเลี้ยงไว้ในอะแควเรี่ยมขนาด 30,000 แกลลอนที่ห้องทดลองทางทะเล Sandy Hook ด้วยการศึกษาทดลองนับร้อยๆ ครั้ง นักวิจัยกลุ่มนี้ก็สามารถรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของปลาล่าเหยื่อชนิดนี้ไว้ได้ อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งทำให้เราได้ประโยชน์จากผลของการค้นคว้าในเรื่องนี้อย่างมากมาย

เมื่อโยนปลาเหยื่อในปริมาณที่เหมาะสมลงไปในอะแควเรี่ยมยักษ์นั้น ฝูงบลูฟิชจะก่อความโกลาหลอลหม่านขึ้นในทันที พวกมันว่ายไล่และกัดกินทุกสิ่งทุกอย่างที่มองเห็น แม้ว่าปลาเหยื่อที่ตกใจว่ายหนีอย่างสุดชีวิต แตกฝูงไปไกลเท่าไหร่ ก็ดูจะเป็นที่หมายปองของนักล่าฝูงนั้น และก็แน่นอนที่ว่าไม่มีตัวใดหนีพ้นไปได้

พฤติกรรมของปลาเหยื่อที่ลอยตัวนิ่งอยู่เฉยๆ ไม่มีอาการเคลื่อนไหวว่ายไปมา แม้ว่าครั้งแล้วครั้งเล่าที่บลูฟิชทำท่าจะพุ่งเข้าชาร์จ มันก็ไม่ว่ายหนี จนในที่สุดเหล่านักล่าก็เลิกล้มความตั้งใจที่จะเข้าขม้ำปลาเหยื่อตัวนั้นไปเอง หันเหเป้าหมายไปหาตัวอื่นที่ว่ายหนี แต่ในทันทีที่ปลาเหยื่อตัวที่ลอยนิ่งๆ อยู่นั้นเริ่มขยับตัวง่ายไปมา จุดจบของมันก็เข้าไปอยู่ในท้องของนักล่าตัวหนึ่งทันที

พฤติกรรมที่สามารถคาดการณ์ได้

โดยทั่วไป สัตว์จะแสดงพฤติกรรมหนีในลักษณะอาการที่ไม่สามารถคาดเอาได้ แต่สำหรับสัตว์จำพวกปลาจะมีรูปแบบของการแสดงออกโดยเฉพาะ มันจะเกิดความระวังตัวขึ้นมาทันที เมื่อรู้สึกหรือได้เห็นถึงสิ่งที่ผิดปกติไปจากธรรมชาติที่เคยเป็นอยู่ ถึงแม้จะเป็นพวกปลาล่าเหยื่อที่แสนดุร้ายก็ตามที ทุกตัวก็จะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของตัวมันเองก่อนเป็นอันดับแรก อะไรก็ตามที่มีลักษณะผิดแผกไปจากธรรมชาติ จะทำให้มันเกิดความตื่นกลัวในสิ่งที่มันคิดว่าอาจจะเป็นศัตรูตัวร้ายของมัน

กัปตันฟลิปบัลลอท ไกด์ตกปลาผู้ช่ำชองคนหนึ่งได้กล่าวถึงเรื่องของ “การเผชิญหน้ากัน” จากการสังเกตดูปฏิริยาการกินเหยื่อของปลาทั้งเหยื่อจริงและเหยื่อปลอม เขาได้กล่าว่าปลาทุกตัวจะสมบูรณ์เจริญเติบโตอ้วนพีในแหล่งที่มันค้นว่ามีสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด แต่ถ้ารู้สึกว่ามีสิ่งผิดปกตกล้ำกลายบุกรุกเข้าไปในอาณาจักรของมัน มันจะเกิดความระแวงขึ้นมาทันที ทำให้เกิดสภาวะหยุดกินอาหารไปด้วย ปลาอาจจะว่ายตามเหยื่อที่เคยเป็นอาหารอันโอชะของมันก็จริงอยู่แต่จะไม่เข้าโจมตีเหยื่อเลย

“การเผชิญหน้า” ระหว่างเหยื่อกับผู้ล่า ของฟลิปได้พิจารณาถึงแฟคเตอร์หลายประการ แต่เมื่อสรุปแล้วเขากล่าวว่า ปลาจะเวียนว่ายอยู่ในพื้นน้ำตรงบริเวรที่มันคาดว่าอาหารของมันจะต้องลอยมาตามกระแสน้ำผ่านเข้ามาตรงจุดนี้ ดังนั้นแม้คุณจะเหวี่ยงเหยื่อให้ตกลงตรงหัวปลาพอดีแต่กับการเหวี่ยงเหยื่อให้เลยออกไปแล้วปล่อยให้ลอยเข้าหาตัวปลานั้นจะได้ผลดีกว่า เพราะลักษณะเป็นธรรมชาติมากกว่า

พฤติการณ์ที่เป็นจริง

หลักสำคัญนั้นอยู่ที่ว่าเราต้องทำให้ปลาเข้าฉวยเหยื่อที่อยู่ที่ปลายสายเบ็ด ในลักษณะเดียวกันกับที่มันเข้าคว้ากินอาหารตามธรรมชาติที่ไม่ได้ห่อหุ้มตัวเบ็ดเอาไว้ ถ้าคุณใช้เทคนิควิธีการเกี่ยวหยื่อหรือลากเหยื่อปลอมอย่างประณีต คุณก็สามารถเดาได้เลยว่า “เผชิญหน้า” ระหว่างเหยื่อและปลาจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

เหล่านักล่าไม่ว่าจะมีขนาดใหญ่โตแค่ไหน ไม่เคยคิดเอาไว้ในใจเลยว่ามันจะต้องกลายเป็นฝ่ายถูกล่าเพราะธรรมชาติไม่เคยวางรูปแบบให้มันมีลักษณะนิสัยเช่นนั้น ส่วนพวกปลาเหยื่อก็ย่อมรู้ตัวเองดีว่าพวกมันจะต้องพยายามหลีกเลี่ยงสภาพการเป็นอาหารอันโอชะให้มากที่สุด

ดังนั้นพวกมันจะไม่มีการว่ายเข้าไปหาอันตรายมีแต่ว่ายหนีห่างให้ไกลลูกเดียว ถ้าคุณเหวี่ยงเหยื่อให้ตกลงอยู่ในแนวเส้นทางของปลาล่าเหยื่อ แล้วลากหนีให้ห่างจากตัวมัน โอกาสที่จะถูกไตร๊ค์ก็ย่อมเกิดขึ้นได้ง่ายๆ อย่างไมน่าเชื่อ ขณะนักล่าพุ่งรี่ตรงเข้า “เผชิญหน้า” กับอาหารอร่อยขึ้นนั้น เหยื่อก็ต้องพยายามว่ายหนี ปลาใหญ่ก็จะต้องว่ายไล่ฉวย อันเป็นกฎเกณฑ์ที่ธรรมชาติได้บัญญัติขึ้นมา ไม่ใช่เหยื่อจะพุ่งเกือบเข้าชนมัน

ดังเช่นกรณีของนักดำน้ำกับฉลามยักษ์ หรือลอยนิ่งอยู่เฉยดังกรณีของปลาบลูฟิชซึ่งต่างเป็นสิ่งที่ผิดปกติไปจากอาหารตามธรรมชาติของมัน และทำให้มันเกิดความระแวงขึ้นมา

นักล่ายักษ์ใหญ่ทั้งหลายที่แอบซ่อนตัวอยู่ตามซากหรือตอไม้ใต้น้ำ เพื่อรอคอยกินอาหารของมัน ก็ไม่เคยนึกคิดไว้เลยว่าจะมีเหยื่อว่ายเข้ามาสะกิดทางด้านหลังแล้วบอกว่า “มากินฉันซิจ๊ะ” มันจะเลือกแหล่มซุ่มซ่อนตัว อย่างมิดชิดที่มันคาดไว้แล้วว่า จะต้องมีเหยื่อเคราะห์ร้ายตัวใดตัวหนึ่งว่ายผ่านมาทางด้านหน้า ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกับที่เราต้องเหวี่ยงเหยื่อลงไป

ด้วยเหตุนี้ การเล็งเป้าตีไปให้เลยหมายจะดี

Advertisements

ในการตีเหยื่ออกไปยังเป้าหมายส่วนมากมักจะคิดว่าตำแหน่งเหยื่อตกที่ถูกต้องคือ ตรงจุดที่เราคิดว่าควรจะอยู่ตรงนั้น เช่นตรงจุดที่มีไม้ล้มอยู่ใต้น้ำหรือมีก้อนหินโผล่ขึ้นมาเหนือผิวน้ำ แต่การเหวี่ยงให้เหยื่อตกเลยขึ้นไปหรือออกไปทางด้านข้างของหมายนั้น แล้วค่อยๆ ให้เหยื่อลอยเข้ามาหรือลากเข้ามาอยู่ในตำแหน่งที่ปลาหลบซ่อนตัวอยู่

ถ้าตกแบบหน้าดินก็ต้องปล่อยเหยื่อลงทางด้านเหนือน้ำแล้วให้เหยื่อสูตรพิเศษของคุณไหลตามน้ำไปหาตัวปลา ก็จะมีโอกาสทำให้ปลาเข้าหาเหยื่อได้มากกว่า เพราะถ้าคุณปล่อยให้เหยื่อตกลงเหนือหัวมันพอดี พวกมันจะเกิดความตระหนกตกใจว่ายหนีออกไปจากบริเวณนั้น ก่อนที่จะกลับเข้ามารวมฝูงใหม่ โดยจะว่ายด้อมๆ มองๆ อยู่แถวนั้นด้วยความหวาดระแวงเพราะต้องการดูให้รู้ว่า “เอ๊ะ! อะไรหล่นมาจากท้องฟ้า”

การตกปลาด้วยเหยื่อขนมปังลอย โดยไม่มีตะกั่วถ่วงจะใช้ได้ผลค่อนข้างดี ในการตกปลาตามฟิชชิ่งปาร์คในยุคสมัยใหม่ และทำง่ายด้วย ก็เป็นผลพวงมาจากความฉลาดของนักตกปลาที่พัฒนาปรับปรุงเทคนิคขึ้นมาใช้ โดยยึดหลักที่ให้เหยื่อลอยเป็นอิสระปราศจากแรงดึงรั้งจากสายเอ็น เพื่อทำให้เหยื่อดูเป็นอาหารตามธรรมชาติที่สุด

การเข้าหาเหยื่อ … เข้าคว้า… เข้าฉวย… เข้าฮุบ หรือคำศัพท์ใดก็ตามที่จะใช้อธิบายอาการกินเหยื่อของปลา… จะเป็นไปตามรูปแบบดังกล่าวที่ว่ามา ถ้าเหยื่อจริงหรือเหยื่อปลอมแสดงออกให้พวกปลาได้เห็นว่าเป็นอาหารที่มันจะเข้าฉกฉวยกินได้อย่างง่ายๆ โดยไม่ต้องระแวงอันตราย เมื่อใดก็เมื่อนั้นคุณจงมั่นใจได้เลยว่าไม่มีตัวปลาใดจะปฏิเสธเหยื่อที่ปลายสายของคุณได้

อ่านเพิ่มเติม ก้าวแรกสู่การตกปลา ตอนทำความเข้าใจปลาให้มากกว่าเดิม

Advertisements