การแสดงของ ‘หิ่งห้อย’ สร้างแสงสีที่น่าตืนตาในอินเดีย

Sriram Murali ได้ถ่ายภาพช่วงเวลาที่เป็นดังเวทมนตร์ ในเขตอนุรักษ์เสือโคร่งอานามาลัยในอินเดีย เนื่องจากมีหิ่งห้อยนับล้านส่องแสงอยู่เต็มผืนป่า .. คลิปท้ายเรื่อง

หิ่งหอย

Murali ซึ่งเป็นอาสาสมัครให้กับ International Dark Sky Association จึงใช้ใช้ภาพยนตร์และภาพถ่ายนี้ เพื่อสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับมลภาวะทางแสงและความสำคัญของความมืดในสิ่งแวดล้อม

สำหรับคลิปนี้มีความยาวประมาณ 5 นาที .. Murali อธิบายว่า หิ่งหอยเป็นแมลงตัวเล็กๆ ที่จะขโมยช่วงเวลาการแสดงในตอนกลางคืน ซึ่งสิ่งนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนในคลิปนี้




หิ่งห้อยหลายล้านตัว ส่องแสงระยิบระยับท่ามกลางความมืดมิดของป่ารอบๆ พวกมันสวยงามและน่าดึงดูดอย่างไม่น่าเชื่อ แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลากลางวันพวกมันกลับไม่โดดเด่นเลย และยังถูกมองข้ามไปได้ง่ายๆ เพราะมันก็เป็นแค่แมลงปีกแข็งสีน้ำตาลตัวเล็กที่ไม่อวดดี

เพื่อแสดงตัว หิ่งห้อยเป็นแมลงที่พึ่งพาความมืดเป็นอย่างมาก ลักษณะเรืองแสงของพวกมันเกิดจากกระบวนการทางเคมีที่เรียกว่า “การเรืองแสงของสิ่งมีชีวิต (Bioluminescence)” ซึ่งปกติจะเกิดขึ้นในช่องท้องส่วนล่างของมัน

แล้วจะไม่มีปัญหา? หากก้นของมันเรืองแสง? แน่นอนว่าสำหรับหิ่งหอยไม่มีปัญหาที่ตูดเรืองแสง .. การเรืองแสงจะถูกใช้เพื่อสื่อสารในระหว่างพิธีกรรมการเกี้ยวพาราสี และสารเรืองแสงมักถูกใช้เพื่อดึงดูดเหยื่อหรือยับยั้งผู้ล่าได้




และเพื่อให้หิ่งห้อยส่องแสงได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริเวณนั้นๆ ต้องมืดมิด แต่เพราะปริมาณมลพิษทางแสงที่เพิ่มขึ้นจากแหล่งกำเนิดแสงเทียม เช่น หลอดไฟฟ้าหรือดอกไม้ไฟ กระแสธรรมชาติของสัตว์ป่าจะหยุดชะงัก และสิ่งมีชีวิต เช่น หิ่งห้อย ก็จะสูญเสียผลประโยชน์ในยามราตรี ดังนั้น คราวหน้าถ้าคุณคิดจะเปิดไฟที่ระเบียงให้นึกถึงหนอนเรืองแสง




อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements