ค้นพบ ‘จระเข้แคระยักษ์’ 2 สายพันธุ์ใหม่ ในเคนยา (สูญพันธุ์แล้ว)

อาจฟังดูแปลกที่เรียกมันว่า "จระเข้แคระยักษ์ (Giant dwarf crocodiles)" เพราะจากชื่อจะพางงว่า ตกลงตัวเล็กหรือใหญ่กันแน่ แต่นักวิจัยก็เรียกมันแบบนั้นเพราะทั้ง 2 สายพันธุ์ที่พบใหม่นี้ ค่อนข้างเหมือนจระเข้แคระยุคใหม่ แต่ตัวใหญ่กว่ามาก

จระเข้แคระยักษ์

จระเข้แคระยักษ์ 2 สายพันธุ์ใหม่นี้ ได้รับการระบุตัวจากกะโหลกที่เป็นฟอสซิลของพวกมัน ซึ่งพบในประเทศเคนยา คาดว่าจระเข้ทั้ง 2 สายพันธุ์ ท่องไปทั่วทวีปแอฟริกาในช่วงยุคไมโอซีน (Miocene) หรือเมื่อ 18 – 15 ล้านปีก่อน

พวกมันมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Kinyang mabokoensis และ Kinyang tchernovi โดยจระเข้แคระยักษ์เหล่านี้มีจมูกสั้น ลึก และฟันทรงกรวยขนาดใหญ่

รูจมูกของพวกมันเปิดขึ้นเล็กน้อยและหันไปทางด้านหน้า ไม่ได้ตั้งตรงเหมือนจระเข้สมัยใหม่ คาดว่าเป็นเพราะจระเข้ในช่วงเวลานั้น ส่วนใหญ่จะใช้เวลาอยู่ในป่า เพื่อรอซุ่มโจมตีเหยื่อ แทนที่จะอยู่ในน้ำ

Professor Christopher Brochu นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยไอโอวากล่าวว่า “พวกมันมีหน้าตาที่ดูกำลังยิ้มกว้างจนทำให้พวกมันดูมีความสุข แต่พวกมันจะกัดหน้าคุณทันทีถ้าคุณให้โอกาสพวกมัน”

สำหรับ Kinyang mabokoensis และ Kinyang tchernovi มีความเกี่ยวข้องกับจระเข้แคระ ซึ่งปัจจุบันพบในแอฟริกากลางและตะวันตก .. แต่จระเข้แคระยักษ์เหล่านี้มีขนาดใหญ่กว่ามาก ดังนั้นชื่อนี้จะทำให้รู้ว่าตัวมันใหญ่กว่าญาติสมัยใหม่ของพวกมัน

โดยจระเข้แคระ (สมัยใหม่) จะมีความยาวประมาณ 1.2-1.5 เมตร (4-5 ฟุต) แต่ Kinyang mabokoensis และ Kinyang tchernovi อาจยาวได้ถึง 3.7 เมตร (12 ฟุต) และยังมีแนวโน้มว่าจะเป็น สัตว์ที่อยู่ในระดับบนของห่วงโซ่อาหาร

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements
แหล่งที่มาsciencealert