7 ข้อเท็จจริงของ ‘ปลาดุกยักษ์’ หายนะแห่งยุโรป หนึ่งในปลาน้ำจืดใหญ่ที่สุดในโลก

10 อันดับแรกปลาน้ำจืดใหญ่ที่สุดในโลก ทุกชนิดใกล้สูญพันธุ์ แน่นอนว่าปลาบึกก็เช่นกัน แต่มีเพียงปลาเวลส์เท่านั้นที่ยังมีเยอะซะจนถูกเรียกว่าสัตว์รุกราน มันทนทานสามารถกินนกเป็นอาหาร แถมมันยังกินเก่งมากอีกด้วย

1. หนึ่งในปลาขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

Advertisements

ปลาเวลส์ (Wels catfish) ชื่อวิทยาศาสตร์ Silurus glanis ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) เป็นหนึ่งในปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีลักษณะเหมือนปลาในสกุลเดียวกันชนิดอื่นทั่วไป มีลำตัวสีน้ำตาลและมีจุดสีดำเป็นกระ กระจายอยู่ทั่วลำตัว หัวมีขนาดใหญ่ มีหนวดที่มุมปาก 2 คู่ยาว ปากกว้างมาก ตามีขนาดเล็ก

มีความยาวได้ถึง 3 เมตร โดยสถิติโลกที่มีบันทึกไว้ คือ น้ำหนัก 250 ปอนด์ ความยาว 8.5 ฟุต ที่ตอนเหนือของอิตาลี มีถิ่นกำเนิดในยุโรปตอนกลาง ไปจนถึงเอเชียกลาง โดยเฉพาะในประเทศรัสเซีย แต่สามารถที่จะเพาะขยายพันธุ์ได้ในที่เลี้ยง จึงมีการนำเข้าจากสหราชอาณาจักรไปปล่อยในแหล่งน้ำของสเปนจนกลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ตั้งแต่ทศวรรษที่ 50

2. ปลาดุกยักษ์กับฝูงนกพิราบ

ที่แม่น้ำ Tran ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส มีฝูงนกพิราบฝูงหนึ่ง พวกมันอยู่บนเกาะขนาดเล็กในแม่น้ำ แต่ที่แปลกคือริมน้ำมีปลาดุกเวลส์จำนวนมาก ว่ายอยู่ใกล้ๆ ทันใดนั้นปลาดุกตัวหนึ่งได้พุ่งขึ้นจากน้ำมาบนฝั่ง พร้อมงับนกพิราบโชคร้ายตัวหนึ่งเข้า ก่อนมันจะกระเสือกกระสนกลับลงไปในน้ำพร้อมนกที่อยู่ในปากของมัน

ปลาดุกยักษ์ “พฤติกรรมนี้ผมเคยเห็นในปลาวาฬเพชรฆาต แต่ผมไม่คิดว่าจะพบในปลาประเภทนี้” – Santoul นักวิจัยปลาจากมหาวิทยาลัย Toulouse ที่ใช้เวลาตลอดช่วงฤดูร้อนศึกษาเหตุการณ์สุดพิลึกนี้

ที่ผ่านมาเรารู้จักพวกมันน้อยมาก โดยปลาดุกเวลส์นี้เริ่มเข้ามาในยุโรปตะวันตกในช่วงยุค 70 เดิมมันเป็นปลาท้องถิ่นในโซนยุโรปตะวันออก โดยมีความยาวมากถึง 10 ฟุต และน้ำหนักมากถึง 600 ปอนด์ แต่เคยมีรายงานว่าพบตัวใหญ่กว่านี้

3. แม้แต่ฝูงแซลมอนอพยพก็ผ่านพวกมันไปไม่ง่าย

โดยปลาชนิดนี้เป็นที่นิยมตกปลาเพื่อกีฬาและใช้เป็นอาหาร และถึงแม้มันจะเป็นปลาต่างถิ่นในยุโรปตะวันตก เดิมมันมีผลกระทบต่อระบบนิเวศน้อยมาก แต่ช่วงหลังมันไม่ได้ล่าแค่ปลาเล็กๆ หรือเศษอาหารอีกแล้ว ช่วงหลังมันเริ่มไล่ล่าปลาชนิดอื่น ที่หนักสุดคือ แม้แต่ฝูงแซลมอนอพยพเองก็ต้องพบจุดจบในท้องของพวกมัน ซึ่งเรื่องนี้ส่งผลกระทบที่ร้ายเเรงมาก

นอกจากปัญหามลภาวะการสร้างเขื่อนและการจับปลามากเกินไปแล้วนั้น ปลาดุกยักษ์พวกนี้กำลังทำให้ประชากรปลาท้องถิ่นหมดสิ้นไป และเป็นไปได้ว่าภายใน 10 ปีถ้าเรายังไม่ทำอะไร ปลาท้องถิ่นคงหมดไปแน่ๆ

4. การมาของปลายักษ์สุดสยอง

Advertisements

ย้อนไปในปี 1974 นักตกปลาชาวเยอรมันได้เอาปลาดุกหลายร้อนตัวปล่อยในแม่น้ำ Ebro ในสเปน และพวกนักตกปลาประเทศอื่นก็เอาตาม โดยนำพวกมันไปปล่อยในแหล่งน้ำของประเทศตัวเอง

เหมือนกับพวกเอเลี่ยนสปีชีส์ชนิดอื่น ปลาดุกพวกนี้ถูกนำมาโดยคน มันสามารถอยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิสูงและออกซิเจนน้อยได้ และทำให้สายพันธุ์ดั่งเดิมลดลง มันสามารถมีอายุได้ถึง 80 ปี และขยายพันธุ์ได้ง่ายและรวดเร็วมาก ตัวเมียสามารถออกไข่หลายร้อยฟองในเวลาเดียวกัน

Advertisements

เท่านั้นไม่พอ พวกมันมีทักษะการล่าที่สูง เหมือนกับปลาดุกทั่วไปพวกมันมีประสาทสัมผัสสูงมาก โดยการใช้หนวดของมันในการจับหาเหยื่อ โดยเหยื่อหลักๆ ของมันคือพวกปลาที่เข้ามาในแม่น้ำจากทะเลอย่างเช่น ปลาแซลมอล ซึ่งเดิมมันมีนักล่าน้อยมาก โดยในเคสของฝรั่งเศสบางครั้งปลาดุกพวกนี้จะไปดักรอปลาแซลมอล ในอุโมงปลาของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ!

ถ้าจำนวนปลาดุกยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จำนวนประชากรปลาท้องถิ่นหลายชนิดคงจะหมดไปภายในไม่นานแน่ ซึ่งต่างจากปลายักษ์หลายๆ ชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์ แต่ปลาดุกเวลส์นั้นกลับมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

5. การรุกรานของปลายักษ์

มีตัวอย่างของการรุกรานของปลาต่างถิ่นมาหลายครั้งแล้ว อย่างเช่น ปลากระพงแม่น้ำไนล์ ที่ถูกนำเข้าสู่ทะเลสาบวิกตอเรียกับทะเลสาบอื่นๆ ในแอฟริกาตะวันออกในช่วงยุค 60 เพื่อเป็นเกมกีฬาตกปลา มันนำไปสู่การสูญพันธุ์ของปลามากถึง 200 สายพันธุ์ในปี 1980

“หลายครั้งพวกปลาแบบนี้สามารถปรับตัวได้ดีกว่าปลาท้องถิ่น แถมหลายชนิดยังสามารถขยายพันธุ์ได้รวดเร็วอีกด้วย”

6. พวกมันย้ายถิ่นฐานไปยังต้นน้ำ

การเปลี่ยนแปลงทางนิเวศวิทยา ที่เกิดจากสภาพอากาศและอุณหภูมิที่ร้อนขึ้น มันสร้างเงื่อนไขที่ดีสำหรับปลาดุกเวลส์ในการแพร่กระจายที่กว้างขึ้น

“การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกัน โดยสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นบางชนิดอาจมีการกระจายพันธุ์ที่มากขึ้นเมื่อเทียบกับสัตว์ท้องถิ่น” และสภาพน้ำที่เหมาะสมกับพวกมัน ยิ่งทำให้แพร่กระจายได้ไวยิ่งขึ้นไปอีกด้วย

7. แนวทางแก้ปัญหา?

Advertisements

สำหรับแนวทางแก้ปัญหายังถือว่าทำได้ไม่ดี เนื่องด้วยการที่นักตกปลาส่วนมาก ยังตกและปล่อยปลาดุกเวลส์ แม้มีการพยายามเชิญชวนให้คนหันมากินพวกมัน ถึงแม้มันจะเป็นอาหารในยุโรปตะวันออก แต่ในยุโรปตะวันตกนั้นแทบไม่มีคนกินพวกมันเลย

ประเทศในยุโรปจำเป็นต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น เพื่ออนุรักษ์ระบบนิเวศน้ำจืด และจัดการกับภัยคุกคามต่อปลาอพยพ เช่น เขื่อน แต่ก็ยังไม่มีความพยายามในการกำจัดพวกปลาดุกเหล่านี้อย่างจริงจัง จนตอนนี้พวกมันมีเยอะจนน่ากลัว และต่อไปมันจะมีส่วนทำลายระบบนิเวศอย่างแน่นอน

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
แหล่งที่มาnationalgeographic