ทั้งนี้เจ้าหน้าที่สืบทราบว่า นายอภิสิทธิ์ ได้ลักลอบขายปลาปิรันยาผ่านช่องทางออนไลน์ โดยใช้บ้านพักเป็นจุดส่งมอบ ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจนำมาซึ่งความเสียหายต่อระบบนิเวศทางน้ำ และเป็นอันตรายต่อมนุษย์ได้ หากปลาปิรันยาเหล่านี้หลุดรอดลงไปในแหล่งน้ำธรรมชาติ จึงรวบรวมหลักฐานขออำนาจศาลขอหมายค้นเข้าตรวจสอบบ้านพัก ก่อนจะพบปลาปิรันยา ของกลาง จนนำมาสู่การจับกุมตัวดังกล่าว
จากการสอบสวน นายอภิสิทธิ์ ให้การรับสารภาพว่า ได้ซื้อปลาปิรันยาจากเพจเฟซบุ๊ก ก่อนนำมาเลี้ยงไว้เพื่อขายต่อให้กับผู้ที่สนใจตามช่องทางออนไลน์ต่างๆ โดยราคาของตัวปลาจะขึ้นอยู่กับขนาดและความสวยงาม ซึ่งจะมีตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักหมื่นบาท
โดยลักลอบขายมานานกว่า 1 ปี จึงแจ้งข้อหา “ครอบครองสัตว์น้ำ (ปลาปิรันยา) ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่ายกายมนุษย์หรือต่อสัตว์น้ำอื่นโดยผิดกฎหมาย” ก่อนนำตัวส่ง กก.1 บก.ปทส. ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
ปัจจุบันประเทศไทย กำหนดให้ปลาปิรันยา ที่มีชีวิตทุกชนิด รวมทั้งไข่และน้ำเชื้อของปลาดังกล่าว เป็นสัตว์น้ำที่ห้ามมีไว้ในครอบครอง โดยผู้ฝ่าฝืนจะถือว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติการประมงมาตรา 53 และมีโทษตามมาตรา 67 ทวิ คือ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 120,000 บาท จำคุกไม่เกิน 6 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ