‘ค่างโปะป้า’ ไพรเมตสายพันธุ์ใหม่ในเมียนมาร์ แต่พวกมันใกล้สูญพันธุ์แล้ว

พบไพรเมตสายพันธุ์ใหม่ในป่าทางตอนกลางของเมียนมาร์ (พม่า) สัตว์ตัวเล็กที่เป็นสัตว์กินใบไม้ มีใบหน้าเหมือนหน้ากากที่โดดเด่น ล้อมรอบด้วยผมหงอกที่ดูเกเร อย่างไรก็ตามมันเหลือน้อยจนอยู่ในจุดใกล้สูญพันธุ์

ไพรเมตสายพันธุ์ใหม่นี้ถูกเรียกว่าค่างโปะป้า หรือ Popa langur (Trachypithecus popa) ถูกพบบริเวณป่าที่ห่างไกลของเมียนมาร์ มันเป็นค่างกลุ่มใหญ่ที่สุดที่รู้จักที่อาศัยแถบนี้ พวกมันมีกันประมาณ 100 ตัว โดยสายพันธุ์นี้น่าจะกำเนิดมาอย่างน้อยหนึ่งล้านปีก่อน แต่ประมาณการพบว่า พวกมันมีอยู่เพียง 200 – 250 ตัว ดังนั้นนักวิจัยจึงเรียกร้องให้จัดประเภทเป็น “ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง”

มันมีขนาดเล็กและหายาก สายพันธุ์นี้ถูกกดดันอย่างมากจาก “การล่าสัตว์ การสูญเสียถิ่นที่อยู่ ความเสื่อมโทรม การกระจายตัวที่เกิดจากการบุกรุกทางการเกษตร และการตัดไม้ที่ผิดกฎหมาย”

ความจริงแล้ว สายพันธุ์นี้ถูกค้นพบครั้งแรกในห้องลับของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติลอนดอน มันเป็นการวิเคราะห์ทางพันธุกรรมของตัวอย่างที่รวบรวมในเมียนมาร์เมื่อกว่าหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมา

สิ่งนี้เปิดเผยว่ามีตัวอย่างบางตัวอย่างเป็นของสายพันธุ์ใหม่ที่ยังไม่รู้จัก ตัวอย่างอุจจาระที่เก็บมาจากป่าทางตอนกลางของเมียนมาร์ .. ทำให้พวกเขาสงสัยว่า ยังมีไพรเมตชนิดอื่นที่พวกเขายังไม่พบ อาศัยอยู่ในป่าแห่งนั้น

จนในปี 2018 ทีมงานก็สามารถจับภาพค่างดังกล่าวได้ทางกล้อง เผยให้เห็นรูปลักษณ์อันโดดเด่นของพวกเขา Trachypithecus popa หรือ T. popa มันมีท้องสีน้ำตาลเทาและขาว มีมือและเท้าสีดำ หางยาวเกือบ 1 เมตร และมีน้ำหนักประมาณ 8 กิโลกรัม หนักประมาณสองเท่าของน้ำหนักแมวบ้านทั่วไป

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เมียนมาร์เปิดรับความร่วมมือจากนักวิทยาศาสตร์ต่างชาติมากขึ้น มันนำไปสู่การค้นพบสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่ๆ ทั้งสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ แต่การค้นพบไพรเมตสายพันธุ์ใหม่นี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นยากมาก และต่อไปพวกเราจำเป็นต้องมีการสำรวจภาคสนามเพิ่มเติมและมาตรการป้องกันโดยด่วน สิ่งนี้ก็เพื่อช่วยค่างจากการสูญพันธุ์

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements