การศึกษาใหม่ชี้ สิ่งที่ฆ่าไดโนเสาร์ได้ก่อให้เกิดป่าเขตร้อนเช่นกัน

อะไรที่คิดถึงป่าเขตร้อน? ดอกไม้สีสันสดใส ป่าเขียวขจี หรือเรื่องราวลึกลับของนักล่าที่ซุ่มซ่อนในเงามืด? แต่ปรากฏว่าสิ่งกล่าวมานั้นไม่เคยมีเลยในอเมริกาใต้ ก่อนที่อุกกาบาตจะกวาดล้างไดโนเสาร์เมื่อ 65 ล้านปีก่อน การศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science ที่ผ่านมา ได้มีการตรวจสอบซากฟอสซิลของพืชในโคลอมเบียเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าหายนะครั้งนั้นทำให้เกิดป่าฝนเขตร้อนขึ้น

กำเนิดป่าฝน

“การพุ่งชนโลกของอุกกาบาตเมื่อ 65 ล้านปีก่อน ได้เปลี่ยนพื้นที่เขตร้อนจนกลายมาเป็นป่าดิบชื้นที่มีอยู่จนถึงทุกวันนี้ มันเป็นผลพวงจากเมื่อ 65 ล้านปีก่อน” Carlos Jaramillo เจ้าหน้าที่บรรพชีวินวิทยาจากสถาบันเขตร้อนของสถาบันสมิธโซเนียนได้กล่าวไว้

ก่อนการพุ่งชนโลก

Advertisements

ก่อนที่จะทำการวิจัยนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบว่า ป่าเขตร้อนของอเมริกากลางและใต้ต่างกันอย่างไร “เป็นเวลานานแล้วที่นักชีววิทยาสันนิษฐานว่า ป่าฝนเขตร้อนที่มีพวกพืชดอกเป็นหลักแบบในปัจจุบัน มีมาตั้งแต่ 130-120 ล้านปีก่อนแล้ว”

ดังนั้นทีมวิจัยต้องใช้เวลาหลายปีในการรวบรวมและตรวจสอบฟอสซิลใบไม้มากกว่า 6,000 ใบ รวมทั้งละอองเกสรมากกว่า 50,000 ตัวอย่างทั้งก่อนและหลังจากการพุ่งชนโลก นี่เป็นงานที่ซับซ้อนและในเวลานานมาก

“การหาฟอสซิลในพื้นที่ๆ ร้อนชื้นไม่ใช่เรื่องง่าย” Monica Carvalho นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Del Rosario ในโคลัมเบีย กล่าว “มีดินที่อยู่ระดับลึกอยู่แทบทุกที และคุณสามารถหาหินที่อยู่ในจุดที่สามารถพบฟอสซิลได้ยากพอสมควร”

นักวิจัยต้องไปตรวจสอบตามเหมืองถ่านหินเพื่อหาฟอสซิลใบไม้ โดยต้องขออนุญาตในการเข้าไปในเหมือง และหลายครั้งก็ไม่พบอะไรเลย Jaramillo ยังบอกว่าสิ่งที่หายากที่สุดคือฟอสซิลใบไม้ที่ยังไม่บุบสลายมากนัก มันใช้เวลาหลายปีมากในการหาตัวอย่างที่เหมาะสม ..แต่สุดท้ายนักวิจัยก็สามารถคาดเดาป่าในยุคครีเตเชียสที่ดูแตกต่างไปจากป่าเขตร้อนในปัจจุบันอย่างมากมาย

Fossil leaves ป่าเมื่อ 70 – 65 ล้านปีก่อนไม่ได้เต็มไปด้วยไม้ดอกและพืชตระกูลถั่วเหมือนทุกวันนี้ ในทางกลับกัน ไม้ดอกนั้นผสมปนกับพวกเฟิร์นและต้นสน ต้นไม้เหล่านี้เติบโตและอยู่ห่างไกลกัน ทำให้แสงส่องลงมาที่พื้นป่าได้ง่าย เป็นเหตุให้ต้นไม้ข้างล่างเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี และพืชตระกูลถั่วมีความชำนาญในการดึงไนโตรเจน

“ป่าฝนที่มีอยู่ก่อนการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์นั้น มีคุณประโยชน์และแตกต่างจากป่าฝนในปัจจุบัน” Carvalho กล่าว

มันมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ในช่วงปลายยุคครีเตเชียส อุกกาบาตขนาดเท่าเกาะแมนฮัตตัน ได้พุ่งเข้าชนคาบสมุทรยูคาตัน การทำลายล้างนั้นน่ากลัวมาก ชิ้นส่วนอุกกาบาตที่กระเด็นไปทั่วทำให้เกิดไฟป่า และยังมีเมฆฝุ่นที่มาพร้อมขี้เถาที่บดบังดวงอาทิตย์ไว้เป็นเวลาหลายปี

มันทำให้สามในสี่ของสิ่งมีชีวิตในช่วงนั้นสูญพันธุ์ รวมถึงไดโนเสาร์ด้วย และยังทำลายพืชไปอีก 45% และหายนะที่ล้างเผ่าพันธุ์ไดโนเสาร์และสัตว์เลื้อยคลานครั้งนี้ ทำให้เกิดป่าฝนได้อย่างไร นักวิจัยมีทฤษฏีสามข้อ

  1. ป่าในสมัยนั้นจะเป็นป่าเปิด ที่มีพื้นที่เว้นระยะห่างกัน คาดว่าอาจจะเป็นเพราะไดโนเสาร์มีขนาดใหญ่เดินไปเดินมา แต่เมื่อมันหายไปจึงทำให้มีพื้นที่ให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้มากขึ้น
  2. เถ้าถ่านจากการกระแทกของอุกกาบาตได้ฟุ้งไปลงหลายพื้นที รวมถึงไฟป่าจนทำให้ดินได้รับแร่ธาตุ ทำให้พืชดอกเติบโตได้เร็วมากขึ้น
  3. การสูญพันธุ์ของต้นสนในเขตร้อนที่มีอยู่ในยุคไดโนเสาร์ เป็นการเปิดทางในการเติบโตของพืชชนิดใหม่ๆ

“ชีวิตบนโลกยังดำเนินต่อไป โลกได้ผ่านสิ่งมีชีวิตมาหลายพันชนิด สุดท้ายเมื่อมีสิ่งมีชีวิตใดสูญพันธุ์ไป สายพันธุ์ใหม่ก็จะเกิดขึ้นมา ชีวิตย่อมมีหนทางของมัน แต่คำถามที่แท้จริงคือมนุษย์สามารถเอาชีวิตรอดจากการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ได้หรือไม่?

ผลกระทบที่มนุษย์ก่อต่อป่าเขตร้อน

ปัจจุบันป่าฝนทั่วโลกถูกคุกคามอย่างหนักจากมนุษย์ เช่น ป่าอเมซอนมีอัตราการทำลายป่าสูงมาก ในปี 2020 มีความกังวลว่าหากต้นไม้ถูกโค่นมากเกินไป ป่าส่วนใหญ่จะเสียหายจนไม่สามารถช่วยในการเกิดฝนได้ สุดท้ายจะกลายเป็นทุ่งหญ้า ซึ่งมันจะไม่สามารถฟื้นมาเป็นแบบเดิมได้อีกเลย

ไฟป่า

Advertisements

“ความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลกยังถูกคุกคามอย่างหนัก ขนาดที่ว่าวิทยาศาสตร์ยังคิดว่าเราอาจจะใกล้กับการสูญพันธุ์ครั้งที่หก” Carvalho กล่าว 45% ของพืชที่สูญพันธุ์ไปเมื่อ 65 ล้านปีก่อนนั้น เทียบเท่ากับจำนวนสายพันธุ์ที่คาดว่าอาจจะสูญพันธุ์ไปในสิ้นศตวรรษที่ 21 นี้ หากการทำลายป่ายังดำเนินต่อไป

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements