ไดโนเสาร์บางตัวอาจมีวิวัฒนาการ ในลักษณะที่ช่วยให้พวกมันสามารถทนต่อฤดูหนาวที่หนาวจัดในช่วงปลายยุคไทรแอสซิก และต้นยุคจูราสสิก มันสามารถอธิบายได้ว่า พวกมันมาครองโลกในอีก 135 ล้านปีข้างหน้าได้อย่างไร
การวิเคราะห์ตะกอนหินใน Junggar Basin ที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน ได้เพิ่มหลักฐานที่หนักแน่น ว่าไดโนเสาร์ไม่ได้อาศัยเพียงภูมิประเทศที่เขียวขจีไปจนถึงเขตร้อน แต่จริงๆ แล้ว พวกมันยังอาศัยบริเวณป่าน้ำแข็งที่เย็นยะเยือกด้วย
Paul Olsen จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียในนิวยอร์ก และเพื่อนร่วมงานของเขาได้พบสัญญาณที่บ่งบอกว่า ภูมิภาคนี้กลายเป็นน้ำแข็ง ในช่วงเวลาที่สัตว์เลื้อยคลานยุคก่อนประวัติศาสตร์อาศัยอยู่ พวกเขาพบว่าตะกอนมีอนุภาคขนาดใหญ่ผิดปกติซึ่งเป็นเรื่องปกติของทะเลสาบที่กลายเป็นน้ำแข็งทุกปี
ที่ผ่านมามีการพบฟอสซิลไดโนเสาร์ใกล้กับขั้วโลก แต่แบบจำลองที่บ่งชี้ว่า อุณหภูมิของที่นั่นจะลดลงต่ำกว่าจุดเยือกแข็งระหว่าง 237 – 174.1 ล้านปีก่อน ดังนั้นจึงไม่มีใครรู้ว่าจะมีสัตว์เลื้อยคลานอาศัยอยู่ในสภาพอากาศหนาวเย็นจริงหรือไม่
จากการวิจัยฟอสซิล แสดงให้เห็นว่าสัตว์เลื้อยคลานภาคพื้นทวีป ทั้งขนาดกลางและขนาดใหญ่ส่วนใหญ่ หายไปอย่างกะทันหันที่ปลายยุคไทรแอสซิก เมื่ออุณหภูมิลดลงและการปะทุที่ยาวนานหลายทศวรรษ ทำให้อากาศขุ่นมัวด้วยกำมะถัน
แต่ไดโนเสาร์ขนาดใหญ่และขนาดกลางก็ปรากฏขึ้นอย่างรวดเร็วอีกครั้ง หลังผ่านเหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งนี้ .. Olsen กล่าว การที่ไดโนเสาร์ปรับตัวให้เข้ากับความหนาวเย็นของขั้วโลกได้ จะสามารถอธิบายเรื่องที่ว่าทำไมพวกมันจึงกลับมา
เมื่ออุณหภูมิลดลงในช่วงปลายยุคไทรแอสซิก ไดโนเสาร์เหล่านี้ก็ต้องปรับตัวโดยการเอาชีวิตรอดจากด้วยการกินพืชพันธุ์ และเพื่อให้ทนความหนาวเย็น พวกมันก็วิวัฒนาการให้มีขนที่คล้ายกับขนนก .. หลังจากนั้น ไดโนเสาร์เหล่านี้จึงขยายไปทั่วโลกจนเข้าสู่ยุคจูราสสิก สุดท้ายพวกมันก็เข้ามาแทนที่สัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ที่ไม่มีขนซึ่งถูกกำจัดออกไปด้วยความหนาวเย็น
หลักฐานนี้เป็นหลักฐานล่าสุดที่ชี้ให้เห็นว่า แนวคิดเรื่องไดโนเสาร์ของเราต้องมีการคิดใหม่ .. Olsen กล่าว “เอกสารของเราแสดงให้เห็นว่า มุมมองของเราเกี่ยวกับโลกของไดโนเสาร์นั้นผิดทั้งหมด”