สุดยอดการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ ‘กิ้งกือมังกรสีชมพู’ พบได้เฉพาะในไทยเท่านั้น

หน้าตาของเจ้าตัวที่กำลังพูดถึงนี้ อาจไม่เหมือนกิ้งกือเท่าไร แต่มันก็เป็นกิ้งกือจริงๆ มันถูกพบครั้งแรกในประเทศไทย และก็อย่างที่เห็นจากภาพ มันมีรูปร่างที่แปลกประหลาดและยังมีสีชมพูอีกด้วย .. เดี๋ยวมาทำความรู้จักเจ้ากัน

กิ้งกือมังกรสีชมพู

กิ้งกือมังกรสีชม (Shocking pink millipede) ชื่อวิทยาศาสตร์ Desmoxytes purpurosea ค้นพบโดยนักสำรวจสมัครเล่น ของกลุ่ม siamensis.org ในเดือน พ.ค. 2007 พบบริเวณป่าเขาหินปูนแถบภาคกลางตอนบนต่อกับภาคเหนือตอนล่าง และกิ้งกือชนิดนี้จะพบในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวในโลก

จากนั้น ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา นำมาศึกษาภายใต้โครงการวิจัยกิ้งกือและไส้เดือนดิน และร่วมกับ ศ.เฮนริค อิงฮอฟ (Henrik Enghoff) ผู้เชี่ยวชาญด้านกิ้งกือมือหนึ่งของโลก แห่งมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก

พวกเขาพบว่านี่เป็นกิ้งกือที่ไม่เคยพบที่ไหนมาก่อน และเป็นกิ้งกือชนิดใหม่อย่างไม่ต้องสงสัย จึงให้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า เดสโมไซเตส เพอร์พิวโรเซีย (Desmoxytes purpurosea) และได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารนานาชาติ ซูแทกซา (Zootaxa) ตั้งแต่ปี 2007

กระทั่ง 23 พ.ค. 2008 สถาบันไอไอเอสอี (International Institute for Species Exploration: IISE) มหาวิทยาลัยรัฐแอริโซนา (Arizona State University) สหรัฐฯ ประกาศให้กิ้งกือมังกรสีชมพูเป็นสุดยอดการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่อันดับที่ 3 ของโลก รองจากการค้นพบปลากระเบนไฟฟ้าในแอฟริกาและการค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์ปากเป็ดอายุ 75 ล้านปี ในสหรัฐฯ ซึ่งได้อันดับที่ 1 และ 2 ตามลำดับ

สำหรับเหตุที่ได้ชื่อว่ากิ้งกือมังกรสีชมพู นักวิจัยอธิบายว่า เพราะมันอยู่ในวงศ์กิ้งกือมังกรหรือพาราดอกโซโซมาติดี (Paradoxosomatidae) และมีสีชมพูสดใสแบบช็อคกิงพิงค์ (shocking pink) และมีลักษณะโดดเด่นด้วยลวดลายและปุ่มหนามคล้ายมังกรนั้นเอง

Advertisements

โดยกิ้งกือชนิดนี้จะพบได้ในป่าที่มีความชุ่มชื้นสูงและอุดมสมบูรณ์ เมื่อโตเต็มวัยจะมีลำตัวยาวประมาณ 7 เซนติเมตร มีจำนวนปล้องราว 20-40 ปล้อง และสามารถขับสารพิษประเภทไซยาไนด์ออกมาจากต่อมขับสารพิษข้างลำตัวได้ ซึ่งมันเพียงพอจะใช้ป้องกันตนเองจากศัตรูธรรมชาติ อย่างพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements