ปลาหินเป็นปลาที่มีพิษซึ่งพบได้บ่อยมากในเขตชายฝั่งทางตอนเหนือของออสเตรเลีย ตามข้อมูลของผู้ช่วยศาสตราจารย์ Bryan Fry ผู้ที่ศึกษาเรื่องพิษของปลาชนิดนี้มานาน เขาได้กล่าวเสริมว่า มีเหตุผลสองประการที่เมื่อก่อนเราไม่สามารถไขปริศนาพิษของปลาหินได้อย่างละเอียด
ก่อนหน้านี้ห้องทดลองจะตรวจสอบเฉพาะพิษที่แห้งเท่านั้น เนื่องจากพิษที่แห้งจะขนส่งสะดวกและจัดเก็บได้ง่ายขึ้น แต่จากการทดสอบจากพิษสดๆ พบว่าการทำให้พิษแห้งจะลดประสิทธิภาพของพิษที่มีส่วนต่อระบบประสาท ซึ่งเป็นส่วนที่กำลังศึกษาอยู่
การปฏิบัติการทดลองในห้องทดลองส่วนมากใช้พิษแห้งทำให้เราไม่สามารถดูความสามารถของพิษนี้ได้ทั้งหมด มันเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่พิษจะต้องมีส่วนประกอบสำคัญทั้งหมด
ยาแก้พิษปลาหิน
มีเหตุผลสองประการหลักๆที่การศึกษาในอดีตไม่สามารถทราบถึงความลึกลับในพิษของปลาหินได้อย่างละเอียด เดิมนั้นห้องทดลองจะตรวจสอบเฉพาะพิษที่ทำให้แห้ง เนื่องจากการจัดเก็บที่สะดวกและการขนส่งที่ง่ายดาย จากการทดสอบพิษสด การวิเคราะห์นั้นพบว่าพิษที่แช่แข็งนั้นทำให้คุณสมบัติที่แท้จริงของพิษที่กำลังศึกษาอยู่หายไปหมด
การศึกษาในห้องทดลองที่ใช้พิษแห้งทำให้ไม่สามารถศึกษาถึงคุณสมบัติทั้งหมดของพิษ ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทราบของพิษทั้งหมดที่ต้องใช้ในการศึกษาเรื่องระบบประสาท
ปริศนาได้รับการไข
ตามที่ Richard Harris ผู้ที่ศึกษาเรื่องผลกระทบจากพิษของปลาหิน ซึ่งตีพิมพ์ในนิตยาสาร Toxicology Letters เปิดเผยว่าพิษของปลาหิน สามารถทำลายหรือหยุดการเต้นของหัวใจและทำให้เป็นอัมพาตกล้ามเนื้อได้อย่างไร?
โดยเขายังกล่าวว่าผลการศึกษาพบว่าพิษระบบประสาทของปลาหินจะปิดกั้นตัวรับเส้นประสาทกล้ามเนื้อของหัวใจ ซึ่งส่งผลให้อัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจเปลี่ยนไป เขายังอธิบายว่าพิษของมันทำงานแบบเดียวกับงูแอดเดอร์ที่ทำลายเส้นประสาท ซึ่งงูแอดเดอร์ก็เป็นงูพิษอีกชนิดในออสเตรเลีย
ด้าน Dr.Fy ให้ความเห็นในการวิจัยครั้งนี้ โดยให้เครดิตกับอุปกรณ์ตรวจสอบชั้นสูงและหุ่นยนต์ที่ทางสถาบัน Australian Biomolecular Interaction Facility ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจำนวนมากจากทาง Australian Research Council
พิษของปลาหินที่ศึกษาผ่านทางเครื่องกล
ศูนย์วิจัยแห่งนี้ใช้เครื่องจักรที่มีเพียงเครื่องเดียวในเขตซีกโลกใต้ที่สามารถทำการทดลองทางจลนศาสตร์ในอัตราที่สูงมาก Dr.Fry ยังระบุว่าพวกเขาสามารถเปิดเผยการทำงานของพิษปลาหินได้ผ่านเครื่องจักรที่มีชื่อว่า Octet HTX ซึ่งมันคือ โรลส์ รอยซ์ ของเทคโนโลยีทางชีวโมเลกุล