จระเข้น้ำจืดสายพันธุ์ไทยเป็นยังไง?
จระเข้น้ำจืด, จระเข้บึง, จระเข้สยาม หรือ จระเข้น้ำจืดสายพันธุ์ไทย (Crocodylus siamensis) มีถิ่นกำเนิดในบริเวณประเทศไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม กาลีมันตัน ชวา และสุมาตรา
เป็นจระเข้ขนาดปานกลางค่อนมาทางใหญ่ ยางได้ประมาณ 3–4 เมตร มีเกล็ดท้ายทอย มีช่วงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 10–12 ปี จระเข้ชนิดนี้วางไข่ครั้งละ 20 – 48 ฟอง โดยมีระยะเวลาฟักไข่นาน 68-85 วัน เริ่มวางไข่ในช่วงต้นฤดูฝนประมาณเดือนพฤษภาคม โดยขุดหลุมในหาดทรายริมแม่น้ำ ใช้เวลาเฉลี่ยราว 80 วัน และชอบอยู่และหากินเดี่ยว
“ปัจจุบันจระเข้สายพันธุ์ไทยแท้ๆ ก็ยังหายาก แม้จะในสถานที่เลี้ยงก็ตาม เพราะถูกผสมสายพันธุ์กับจระเข้สายพันธุ์อื่นจนเสียสายพันธุ์แท้ไป เนื่องจากเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจ”
สถานะตามธรรมชาติในไทย
เชื่อว่าจระเข้ที่ยังคงสถานะในธรรมชาติหลงเหลืออยู่ที่คลองระบม-สียัด เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน จังหวัดฉะเชิงเทรา เคยพบจระเข้น้ำจืดในพื้นที่ดังกล่าว แต่ปัจจุบันพบเพียงตัวผู้เพียงตัวเดียว หรืออาจไม่มีแล้ว (ไม่ได้เห็นมานานแล้ว)
เมื่อปี 2547 ได้มีการปล่อยจระเข้สายพันธุ์ไทย ที่มีการคัดเลือกสายพันธุ์อย่างถูกต้อง ตามหลักวิชาการสู่ธรรมชาติที่วังแก่งหินดาด ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติปางสีดา จำนวน 10 ตัว เป็นตัวผู้ 5 ตัว และตัวเมีย 5 ตัว และยังคงพบตัวได้ 1 ตัวที่อยู่ทุกวันนี้
“เมื่อปี 2563 มีข่าวการประกาศ “จระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทย” คาดว่าเหลือแค่ 20 ตัว โดยอาศัยใน 3 อุทยาน กรมอุทยานฯ เผยผลสำรวจปี 63 ประชากรจระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทยเหลือเพียง 3 แห่งเท่านั้น และคาดว่ามีจำนวนแค่ 20 ตัว ได้แก่ บริเวณห้วยน้ำเย็น อุทยานฯ ปางสีดา บริเวณคลองชมพู , ทุ่งแสลงหลวง จ.พิษณุโลก, บริเวณต้นน้ำเพชรบุรี แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี โดยจระเข้น้ำจืดสายพันธุ์ไทยเสี่ยงสูญพันธุ์อย่างมาก”