การศึกษาใหม่ ‘ตุ๊กแกหงอน’ มีหางเหนียวรับน้ำหนักได้มากกว่า 5 เท่า

ตุ๊กแกสำหรับคนไทย สมัยคงจะมีแทบทุกบ้านโดยเฉพาะต่างจังหวัด และหลายคนก็ไม่ค่อยชอบมันเท่าไร เพราะมันคล้ายจิ้งจกที่ตัวใหญ่ และมีชื่อเสียงที่น่ากลัวเล็กน้อย อย่างเช่นถ้าโดนมันกัดมันจะไม่ปล่อยง่ายๆ ส่วนตุ๊กแกที่เอามาพูดถึงเป็นสายพันธุ์ที่มีคนเอามาเป็นสัตว์เลี้ยงในกลุ่มของคนที่ชอบสัตว์แปลกๆ ด้วย

ตุ๊กแก

พบตุ๊กแกหงอนมีหางที่ทรงพลัง

Advertisements

ผลการศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Proceedings of the Royal Society Bได้สรุปทักษะของหางตุ๊กแกหงอนที่เหนียวนี้ ซึ่งเป็นลักษณะร่วมกันของ 21 สายพันธุ์ในสกุลนี้ และหากพิจารณาเฉพาะ Crested gecko (Correlophus ciliatus) หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ “ตุ๊กแกหงอน” พวกเขาตรวจสอบความสามารถหางที่พิเศษนี้ ด้วยความสงสัยที่ว่ามันถูกสร้างขึ้นจากสิ่งเดียวกันกับแผ่นรองนิ้วเท้าแบบเหนียวหรือไม่?

ตุ๊กแกหงอน ผู้เขียนศึกษาอธิบายว่า “ความสามารถในการยึดติดที่น่าประทับใจ” จากการสังเกตและการคำนวณ สามารถประเมินว่าพื้นผิวปลายหางสามารถรับน้ำหนักรวมของตุ๊กแกหงอนได้ถึงห้าเท่า

และจากข้อมูลของตัวอ่อนช่วยสนับสนุนแนวคิดที่ว่าพื้นผิวที่ปลายหาง คล้ายกับแผ่นรองนิ้วเท้ามาก เนื่องจากพบว่าความเหนียวของหางพัฒนาในช่วงเวลาเดียวกับนิ้วเท้าที่เหนียว มันเกิดระหว่างกระบวนการกำเนิดตัวอ่อน

สุดท้ายคงต้องบอกว่าแผ่นพื้นผิวที่หางของตุ๊กแกหงอน ใช้งานได้ดี มันสามารถใช้หางเพื่อยึดเกาะสิ่งต่างๆ แต่จะไม่ต่างจากใช้เท้าที่เหนียวของมัน แต่น่าเสียดายที่หางของมันจะเป็นเช่นนี้ได้ก็ต่อเมื่อเป็นหางดั่งเดิม หางที่มีประสิทธิภาพสูงนี้จะไม่งอกใหม่ ซึ่งต่างจากตุ๊กแกชนิดอื่นที่จะงอกหายขึ้นมาใหม่ได้ ..ตุ๊กแกหงอนคือตุ๊กแกไม่กี่ชนิดที่ไม่สามารถงอกหางใหม่ได้

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
แหล่งที่มาiflscience