แมงกะพรุนน้ำจืด Craspedacusta (/คราส-พี-ดา-คัส-ต้า/) ซึ่งเชื่อว่าอยู่บนโลกนี้มานานมากกว่า 550 ล้านปี เก่าแก่กว่าไดโนเสาร์มาก จัดเป็นแมงกะพรุนน้ำจืดชนิดเดียวที่ถูกขนานนามว่า “ฟอสซิลที่ยังมีชีวิต”
ปัจจุบันทั่วโลก มีการพบแมงกะพรุนน้ำจืด 11 สายพันธุ์ย่อย ซึ่งพบในประเทศจีนถึง 9 สายพันธุ์ โดลพวกมันต่างจากแมงกะพรุนในทะเล เพราะมีพิษน้อยมากจนไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์
ลักษณะของแมงกะพรุนน้ำจืด
ลักษณะโดยรวมของแมงกะพรุนน้ำจืด จะคล้ายกับแมงกะพรุนที่พบในทะเล มีลักษณะโปร่งแสง ใส สีขาว มีเส้นผ่าศูนย์กลางลำตัวเพียง 1-2 เซนติเมตรเท่านั้น เมื่อจับขึ้นมาพ้นน้ำแล้ว มองเผินๆ เหมือนคอนแทคเลนส์
จัดเป็นแมงกะพรุนขนาดเล็กมาก บริเวณขอบร่างกายมีหนวดเล็กๆ ซึ่งมีผิวเป็นปุ่มเล็กๆ ซึ่งเป็นเข็มพิษ จำนวนมาก ที่เมื่อจับต้องถูกตัวจะให้เกิดอาการคันหรือปวดแสบปวดร้อนได้ บริเวณกลางลำตัวมีปากที่ยื่นยาวคล้ายแตรที่ขยายออกบริเวณช่องเปิดด้านล่าง บริเวณขอบลักษณะเป็นรอยหยัก 3 แฉก
ปากดังกล่าวจะเชื่อต่อถึงกระเพาะอาหารโดยตรง บริเวณด้านในของร่างกายที่มีลักษณะคล้ายร่ม มีเนื้อเยื่อบาง ๆ ทอดผ่านไปบริเวณขอบในแนวรัศมี 4 ส่วนเท่าๆ กัน
โดยแนวเหล่านี้จะมีอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ ที่มีลักษณะสีขาวขุ่นหรือสีส้มพาดไปในแนวรัศมีเช่นกัน บริเวณขอบด้านในของร่างกายที่มีลักษณะคล้ายร่ม มีกล้ามเนื้อบางๆ เรียงตัวในแนววงแหวนโดยรอบ ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญที่ทำให้แมงกะพรุนน้ำจืดอยู่จัดอยู่ชั้นไฮโดรซัว