“ปลาฉลามคุกกี้คัตเตอร์ (Cookiecutter Shark) เป็นสายพันธุ์ปลาฉลามหลังหนามขนาดเล็กในวงศ์ Dalatiidae ฉลามชนิดนี้พบได้ทั่วไปในเขตอบอุนน่านน้ำมหาสมุทรทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณใกล้เกาะ และได้รับการบันทึกความลึกที่สุดเท่าพบอยู่ที่ 3.7 กิโลเมตร ฉลามคุกกี้คัตเตอมีลำตัวเป็นแนวยาวทรงกระบอก มีจมูกสั้นทื่อ ตาขนาดใหญ่สองข้าง ไม่มีกระดูกสันหลังและครีบหลัง และมีครีบหางขนาดใหญ่ ตัวมันเป็นสีน้ำตาลเข้ม มีสีเข้มรอบคอและช่องเหงือก”
ฉลามที่ดูเหมือนมนุษย์ต่างดาว มันสามารถโตได้ยาวถึง 20 นิ้ว เป็นสิ่งมีชีวิตที่แปลกมีฟันแหลมคม มีรอยกัดที่เป็นเอกลักษณ์ โดยนักวิทยาศาสตร์มักสังเกตเห็นรอยตัดคุกกี้บนสัตว์ขนาดใหญ่ และสันนิษฐานว่าส่วนใหญ่เป็นฝีมือของฉลามคุกกี้คัตเตอร์
แต่ปรากฎว่าฉลามคุกกี้คัตเตอร์จะแทะหรือกัดกินสัตว์ที่อยู่ด้านล่างของห่วงโซ่อาหารด้วยเช่นกัน นี่หมายความว่าสัตว์เล็กหรือใหญ่ ก็เป็นเป้าหมายของมันได้ จึงทำให้พวกมันมีบทบาทพิเศษในระบบนิเวศของมหาสมุทร”
“พวกมันไล่กัดหรือกินทุกอย่าง ตั้งแต่นักล่าที่มีขนาดใหญ่อย่างฉลามขาว วาฬเพชฌฆาต แม่น้ำ ทุกสิ่งเท่าที่จินตนาการได้ในทะเล แน่นอนสัตว์ขนาดเล็กก็เช่นกัน” ..มีสัตว์ไม่มากนักที่ทำเรื่องแบบนี้ได้
นักวิทยาศาสตร์ได้ทดสอบสมมติฐานที่ว่า ฉลามเหล่านี้ส่วนใหญ่กินสัตว์ขนาดใหญ่ในมหาสมุทร ด้วยศึกษาฉลามคุ๊กกี้คัตเตอร์ 14 ตัวที่จับได้ทั่วฮาวาย โดยพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำมอนเทอเรย์เบย์ พวกเขาตรวจกระเพาะของฉลามส่วนใหญ่ไม่มีอาหาร
แต่ทีมวิจัยพบว่าสัตว์เหล่านี้กินอะไรโดยดูจากองค์ประกอบทางเคมีของเนื้อเยื่อพวกมัน ทีมยังได้ตรวจสอบ DNA ของสิ่งแวดล้อม (eDNA) หรือการมีอยู่ของ DNA ที่ถูกทิ้งไว้เบื้องหลังแม้ว่าจะไม่มีเนื้อเยื่อให้ศึกษาก็ตาม
นักวิทยาศาสตร์พบว่าฉลามคุ๊กกี้คัตเตอร์ ส่วนใหญ่จะกินสัตว์ขนาดเล็ก ที่ความลึกที่ต่างกัน ทั้งกุ้ง หมึก ปลาพวก Ariomma หรือ Cololabis โดยเหยื่อพวกนี้มีขนาดพอที่มันจะกลืนทั้งตัว แต่ในทางตรงกันข้าม สัตว์ขนาดใหญ่ก็ถูกมันกัดแบ่งเนื้อมากินเช่นกัน โดยคิดเป็น 10% ของอาหารทั้งหมดที่ฉลามฉลามคุกกี้คัตเตอร์กิน
การค้นพบนี้ชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของสัตว์ทะเลลึกลับตัวนี้ แต่ยังไงซะตัวอย่างฉลามมีขนาดเล็กและมาจากพื้นที่จำกัด จึงไม่ชัดเจนว่าแนวโน้มการกินอาหารนี้เหมือนกันทั่วโลกหรือไม่
“เคยมีหลายกรณีที่ฉลามคุกกี้คัตเตอร์จู่โจมเรือดำน้ำจนได้รับความเสียหาย ความจริงมันมีชื่อเสียงในเรื่องกัดเรือดำน้ำเลยด้วยซ้ำ”