นกผู้หลับใหล ‘นกชนิดแรก’ ที่มนุษย์พบว่าหลับได้นานหลายเดือน

นกชนิดนี้มีชื่อแปลกเล็กน้อย มันคือ "Common poorwill" หากแปลตรงตัว poorwill = ความยากจน แต่จะชื่ออะไรก็ตาม ผมก็คิดว่าชื่อนี้ก็เหมาะสมกับมันดี เพราะนกชนิดนี้มีโรคประหลาด ที่ส่งผลให้มันมีอาการมึนงงเป็นเวลานาน จนถึงขนาดอยู่ในสภาวะจำศีล ความจริงมันเป็นนกที่พร้อมจะหลับตลอดเวลาเลยด้วยซ้ำ และนี่คือเรื่องราวของนกตัวนี้

คอมมอนพอลวิล (Common poorwill) เป็นนกกลางคืนชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ฟาแลนนอปทิลัส นัททัลลิ (Phalaenoptilus nuttallii) เป็นนกที่ได้รับชื่อเสียงในฐานะ นกสายพันธุ์แรกที่เรารู้จักว่ามันจะจำศีลเป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน ในถิ่นที่อยู่ธรรมชาติ เคยมีบันทึกว่านกชนิดนี้จำศีลเป็นเวลาถึง 85 วัน อย่างไรก็ตาม ชนพื้นเมืองอเมริกันรู้เรื่องนี้มานานแล้ว และเรียกนกชนิดว่า “ผู้หลับใหล”

ในการเข้าสู่โหมดจำศิลของนกพอลวิล จะเกิดขึ้นเมื่อนกเกิดความเครียดจากสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการหาอาหารไม่ค่อยได้ หรือ สภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย มันก็จะหลับ โดยประชากรส่วนใหญ่ของนกชนิดนี้ จะพบได้ที่สหรัฐอเมริกา หากเป็นพวกที่อยู่ทางเหนือพวกมันจะเลือกอพยพลงใต้ ในช่วงฤดูหนาวแทนที่จะจำศีล

เมื่อจำศีล นกพวกนี้มักจะซ่อนตัวอยู่ตามซอกหินเป็นเวลาหลายสัปดาห์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นช่วงฤดูหนาว และจะโผล่ออกมาในฤดูใบไม้ผลิ หรือเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นและมีอาหารอย่างแมลงให้มันกิน

ตัวอย่างการจำศีล จะพบได้ยากในกรณีนกที่ถูกเลี้ยงไว้ แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ หากถูกปล่อยให้อดอาหาร และอุณหภูมิลดลง โดยนักวิจัยพบว่าพวกมันจะออกมาจากโหมดจำศิลเมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 10 องศาเซลเซียส

กระบวนการจำศิล เกี่ยวข้องกับการชะลออัตราการเผาผลาญโดยตรง มันทำให้อุณหภูมิของร่างกายลดลงอย่างมาก และอัตราการเต้นของหัวใจก็ช้าลงเช่น วิธีนี้ทำให้นกสามารถมีชีวิตอยู่ไปได้โดยไม่มีอาหารเป็นเวลานาน และช่วยให้เอาตัวรอดจากความหนาวเย็นได้

อย่างไรก็ตาม “การจำศิลไม่ได้พบเฉพาะ “คอมมอนพอลวิล” เท่านั้น แต่อาจพบได้กับนกในกลุ่มไนท์จาร์ (Nightjar) ได้เกือบทุกชนิด นอกจากนี้ ยังพบนกชนิดอื่นซึ่งสามารถอยู่ในโหมด “กึ่งจำศิล” ได้เช่น นกฮัมมิ่งเบิร์ด, นกเมาส์หรือแม้แต่นกแอ่น

สำหรับคอมมอนพอลวิล (Common poorwill) ถือเป็นนกในกลุ่มไนท์จาร์ที่มีขนาดเล็กที่สุดในอเมริกาเหนือ มีความยาวประมาณ 18 เซนติเมตร ปีกกว้าง 30 เซนติเมตร หนัก 36 – 58 กรัม ทั้งเพศผู้และเพศเมียมีลักษณะใกล้เคียงกัน เป็นนกที่มีลายสีเทาและดำอยู่ด้านบน ขนหางด้านนอกปลายเป็นสีขาว

นกในกลุ่มไนท์จาร์ ในประเทศไทยมีหรือไม่?

Advertisements

หากถามว่าในไทยมีนกไนท์จาร์อยู่หรือไม่? คำตอบคือมี! โดยในประเทศไทยมักจะเรียกว่า “นกตบยุง” ซึ่งอยู่ในวงศ์นกตบยุง ทั้งนี้ในไทยมีนกตบยุงในธรรมชาติอยู่ประมาณ 6 ชนิด ได้แก่ นกตบยุงพันธุ์มลายู (Eurostopodus temminckii) นกตบยุงยักษ์ (Eurostopodus macrotis) นกตบยุงภูเขา (Caprimulgus indicus) นกตบยุงหางยาว (Caprimulgus macrurus) นกตบยุงเล็ก (Caprimulgus asiaticus) และ นกตบยุงป่าโคก (Caprimulgus affinis)

นกตบยุงพันธุ์มลายู (Eurostopodus temminckii)
นกตบยุงยักษ์ (Eurostopodus macrotis)
นกตบยุงภูเขา (Caprimulgus indicus)
Advertisements
นกตบยุงหางยาว (Caprimulgus macrurus)
นกตบยุงเล็ก (Caprimulgus asiaticus)
Advertisements
นกตบยุงป่าโคก (Caprimulgus affinis)

ลักษณะที่โดดเด่นของนกตบยุงคือมีจะงอยปากแบนกว้าง แต่ไม่ค่อยแข็งแรง มีช่องปากกว้าง รูจมูกเป็นหลอดเล็กน้อยคล้ายกับจมูกของนกจมูกหลอด บริเวณมุมปากมีขนยาว ลำตัวเพรียว หางยาว ปีกยาวปลาย ปีกแหลม ดวงตากลมโต

อาหารส่วนใหญ่จะเป็น แมลงต่าง ๆ หากินโดยการบินโฉบจับแมลงกลางอากาศ ทั้งนี้นกตบยุงมีนิสัยชอบอยู่โดดเดี่ยว และเป็นนกที่ไม่สร้างรัง จึงมักถูกพบเห็นในที่แปลกๆ อย่างเช่นตามพื้นหิน ดิน กิ้งไม้แห้งๆ ซึ่งมันจะไปเกาะแล้วหลับอยู่แบบนั้นในตอนกลางวัน แม้จะเป็นที่โล่งก็ตาม ด้วยเหตุนี้มันจึงเป็นนกที่ดูประหลาดจนกลายเป็นมีมตลกในโซเชียลมีเดีย

และนอกจากนี้ในไทยยังมีนกที่เรียกว่า นกปากกบ (Tawny frogmouth) ซึ่งมีหน้าตาคล้ายกับนกตบยุง เพียงแต่จะมีขนาดใหญ่กว่า ทั้งนี้นกปากกบและนกตบยูงค่อนข้างคล้ายกันมาก และยังหากินในเวลาเดียวกัน อาหารก็เหมือนกัน จึงมักถูกจำสับสน แน่นอนว่าตัวผมเองก็แยกมันไม่ค่อยออกเหมือนกัน

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements