Philip Joris นักวิจัยด้านการได้ยินในเบลเยี่ยม ได้ขยายการค้นหาหนูชนิดนี้ โดยขอความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงานในยุโรปและอเมริกา สถานที่ๆ แนะนำคือ Moulton Chinchilla Ranch มันอยู่ในชนบทของรัฐมินนิโซตา และดูเหมือนจะเป็นสถานที่เลี้ยงสัตว์เพื่อการวิจัย .. Joris กล่าวกับเจ้าของ Daniel Moulton เขามีปฏิสัมพันธ์ที่ดี ห่วงสัตว์มาก และการขนส่งก็ไม่มีปัญหา
Moulton ส่งหนูสามกลุ่มไปยังสำนักงานของ Joris ในปี 2015 – 2016 มีสัตว์ทั้งหมด 30 ตัว พวกมันทั้งหมดมีสุขภาพดี แต่สิ่งที่ Joris ไม่ทราบคือ สถานประกอบการดังกล่าวถูกอ้างซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่ามีการละเมิดสภาพสัตว์
ระหว่างปี 2013 – 2018 ฟาร์มแห่งนี้ปัจจุบันมีหนูชินชิลล่า 750 ตัว ได้มีการละเมิดกฎบัญญัติสวัสดิภาพสัตว์มากกว่าหนึ่งร้อยครั้ง ซึ่งกฏหมายนี้คุ้มครองสัตว์ที่ใช้ในการวิจัย เช่น สวนสัตว์และห้องทดลอง รวมถึงศูนย์เพาะพันธุ์สัตว์ มีตัวแทนที่ขายหนูที่ได้รับใบอนุญาตมากถึง 85 แห่งในสหรัฐ แต่ไม่มีที่ใดกระตือรือร้นที่จะเลี้ยงสัตว์พวกมันเพื่อการวิจัย
ในการพิจารณาของฝ่ายบริหารกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา (USDA) ซึ่งสรุปเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ที่ผ่านมา ผู้พิพากษา Jill Clifton ได้เพิกถอนใบอนุญาตของ Moulton ในการเพาะพันธุ์ชินชิลล่าและออกค่าปรับ 18,000 ดอลลาร์ เธอกล่าวว่าการละเมิดสวัสดิภาพหนูที่ Moulton Chinchilla Ranch เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาเรื้อรังด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยของสัตว์
“คุณไม่เหมาะที่จะมีใบรับอนุญาต” เธอกล่าว พร้อมเสริมว่าการตัดสินใจของเธอสั่งห้าม Moulton อย่างถาวรไม่ให้ยื่นขอใบอนุญาตการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ตามกฎบัญญัติสวัสดิภาพสัตว์ “ฉันไม่รู้ว่าทำไมคุณถึงไม่เข้าใจข้อกำหนดของกฎบัญญัติสวัสดิภาพสัตว์” เธอกล่าว “ฉันเชื่อว่ามันเป็นความไม่ใส่ใจมากกว่าสิ่งอื่นใด”
Eric Kleiman นักวิจัยจากสถาบันสวัสดิภาพสัตว์ที่ไม่แสวงหากำไร กล่าวว่าการพิจารณาคดีดำเนินไป 18 วัน และเป็นคดีสวัสดิภาพสัตว์คดีแรกที่เกี่ยวข้องกับสัตว์วิจัยที่จะยื่นต่อหน้าผู้พิพากษาในรอบ 6 ปี
ด้าน Moulton ได้ให้การว่าเขาพยายามปรับปรุงสถานที่ และให้การดูแลด้านการแพทย์ต่อสัตว์อย่างต่อเนื่อง แต่หาก Moulton ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการต่อไป “กฎบัญญัติสวัสดิภาพสัตว์จะไม่มีความหมาย” Russ Mead ศาสตราจารย์ด้านกฎหมายสัตว์ที่ Lewis and Clark Law School ในพอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอนกล่าว
การวิจัยเรื่องการได้ยินอาจจะถึงจุดจบ
การสูญเสียฟาร์ม Moulton Chinchilla ในฐานะซัพพลายเออร์สำหรับห้องปฏิบัติการ อาจทำให้การทดลองทำได้น้อยลงเนื่องของการลดลงของชินชิลล่าที่ใช้ในการวิจัยการได้ยิน ชินชิลล่าถูกใช้ในการวิจัยการได้ยินของมนุษย์เพราะพวกมันได้ยินได้ดีกว่าในความถี่ที่ต่ำกว่าหนูตัวอื่นๆ และตรวจดูหูขนาดใหญ่และกายวิภาคของหูได้ง่าย
และในช่วงสี่ปีที่ผ่านมา มีการศึกษาการได้ยินจากชินชิลล่าเพียง 36 ตัวเท่านั้น มันเป็นสิ่งที่ได้รับการระบุไว้ใน PubMed ซึ่งเป็นเครื่องมือค้นหาวารสารทางการแพทย์ เมื่อเทียบกับหนูธรรมดาที่มีมากกว่าหนึ่งพันตัว และหากไม่มีชินชิลล่าจากโรงงานของ Moulton นักวิจัยก็จะหันไปหาหนูตะเภาแทน ..ถึงแม้จะไม่ตรงวัตถุประสงค์เท่าไรก็ตาม
การศึกษาเกี่ยวกับการได้ยิน เช่นเดียวกับการวิจัยในสัตว์ส่วนใหญ่ มักจะไม่ได้รับการอนุมัติในการทดลองกับมนุษย์ ตัวอย่างเช่น ในการศึกษาชินชิลล่าที่ได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เมื่อเร็วๆ นี้ ชินชิลล่าได้รับการทดลองกับเสียงระเบิดหลายครั้ง เพื่อศึกษาการสูญเสียการได้ยินที่เพิ่มขึ้น
Kristie Sullivan รองประธานฝ่ายนโยบายการวิจัยของ Physicians Committee for Responsible Medicine ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรในวอชิงตัน ดี.ซี. กล่าวว่า “ใครๆ ก็สามารถจินตนาการถึงความเจ็บปวดและความกลัวของชินชิลล่าในห้องปฏิบัติการได้ แบบจำลองหูของมนุษย์ที่ใช้เซลล์และเนื้อเยื่อของมนุษย์สามารถ ให้ความเข้าใจในด้านต่างๆ ของการพัฒนาหูและพยาธิวิทยาที่มีลักษณะเฉพาะสำหรับมนุษย์และไม่สามารถหาได้จากการศึกษาในสัตว์”
สรุปคือในตอนนี้สหรัฐได้ถอดใบอนุญาตสำหรับซัพพลายเออร์ที่เลี้ยงชินชิล่า “สำหรับงานวิจัย” รายสุดท้ายไปแล้ว ต่อจากนี้อาจเป็นเรื่องยากที่นักวิจัยจะวิจัยเรื่องที่เกี่ยวกับการยิน เพราะมีเพียงชินชิล่าที่มีระบบการได้ยินใกล้เคียงกลับมนุษย์ ..ต่อไปงานวิจัยจะเป็นเช่นไร คงต้องติดตามกันต่อไป