ค้นพบไดโนเสาร์ ‘สายรุ้ง’ ตัวประหลาดที่มีขนสีรุ้งเหมือนนกฮัมมิ่งเบิร์ด

นกจัดว่าเป็นไดโนเสาร์ชนิดสุดท้ายที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน และพวกมันยังเป็นสัตว์ที่มีสีสันสดใสที่สุดในโลกอีกด้วย การค้นพบใหม่เปิดเผยว่าไดโนเสาร์ประเภทนกที่มีอายุ 161 ล้านปีก่อนมีขนสีรุ้ง @แมวบ้าตกปลา

ไดโนเสาร์ขนสีรุ้ง

ไชหง (Caihong juji) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดเล็ก มันมีขนาดประมาณเท่าเป็ด มีกระดูกบนหัวเหมือนเขาและมีขนยาวคล้ายริบบิ้น จากการวิเคราะห์ขนฟอสซิลของมัน ขนบนหัว ปีก และหางน่าจะเป็นสีรุ้ง ด้วยสีที่ส่องแสงระยิบระยับ .. ชื่อของมันสะท้อนถึงลักษณะที่ปรากฏ ในภาษาแมนดาริน แปลว่า “สายรุ้งที่มีเขา” สายพันธุ์ใหม่นี้ ถูกค้นพบครั้งแรกโดยชาวไร่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน

รูปลักษณ์ของมันได้รับการบรรยายโดยทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติที่นำโดย Dongyu Hu ศาสตราจารย์ในวิทยาลัยบรรพชีวินวิทยาที่มหาวิทยาลัย Shenyang Normal ในประเทศจีน

“การรักษาซากไดโนเสาร์ตัวนี้เป็นเรื่องเหลือเชื่อ เรารู้สึกตื่นเต้นมากเมื่อได้ตระหนักถึงระดับของรายละเอียดที่เราสามารถมองเห็นได้บนขนของมัน” Chad Eliason นักวิจัยด้านดุษฏีบัณฑิตและหนึ่งในผู้เขียนงานวิจัย Eliason ยังเป็นผู้ซึ่งเริ่มทำงานในโครงการนี้ในฐานะดุษฎีบัณฑิตที่ มหาวิทยาลัยรัฐเท็กซัส ที่เมืองออสติน กล่าวเสริม

กะโหลกฟอสซิลของ Caihong juji

เมื่อนักวิทยาศาสตร์ตรวจสอบขนภายใต้กล้องจุลทรรศน์อันทรงพลัง พวกเขาสามารถมองเห็นรอยประทับของเมลาโนโซม ซึ่งเป็นส่วนของเซลล์ที่มีเม็ดสี ปกติเม็ดสีที่เคยมีอยู่นั้นหายไปนานแล้วในฟอสซิล แต่โครงสร้างทางกายภาพของเมลาโนโซมยังคงอยู่ ปรากฏว่า เพียงพอแล้วสำหรับนักวิทยาศาสตร์ที่จะสามารถบอกได้ว่าขนนกนั้นเป็นสีอะไร

นั่นเป็นเพราะว่าสีไม่ได้ถูกกำหนดโดยเม็ดสีเท่านั้น แต่โดยโครงสร้างของเมลาโนโซมที่มีเม็ดสีนั้นด้วย เมลาโนโซมที่มีรูปร่างต่างกันสะท้อนแสงสีต่างๆ

“นกฮัมมิ่งเบิร์ดมีขนสีรุ้งสดใส แต่ถ้าคุณเอาขนนกฮัมมิ่งเบิร์ดมาทุบให้เป็นชิ้นเล็กๆ คุณจะเห็นเพียงฝุ่นสีดำ เม็ดสีในขนจะเป็นสีดำ แต่รูปร่างของเมลาโนโซมที่ผลิตเม็ดสีนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้สีในขนนกฮัมมิ่งเบิร์ดที่เราเห็น” Eliason อธิบาย

นักวิทยาศาสตร์สามารถจับคู่รูปร่างของเมลาโนโซมรูปทรงแพนเค้กของเจ้า “ไชหง” กับรูปร่างของเมลาโนโซมในนกที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันได้ เมื่อพบนกที่มีเมลาโนโซมรูปร่างคล้ายคลึงกัน ทำให้พบว่ามันมีสีขนที่ใกล้เคียงกับนกฮัมมิ่งเบิร์ดมากๆ

ขนหลากสีของนกสมัยใหม่มักใช้เพื่อดึงดูดคู่ครอง ขนสีรุ้งของ ไชหง อาจจะเหมือนกับนกยูงยุคก่อนประวัติศาสตร์ ไชหงจึงเป็นตัวอย่างที่เก่าแก่ที่สุดที่รู้จักของเมลาโนโซมที่ยังแสดงลักษณะสีได้

นอกจากนี้ ไชหงยังเป็นสัตว์ชนิดแรกสุดที่มีขนนกแบบไม่สมมาตร ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่นกสมัยใหม่ใช้ในการบังคับทิศทางขณะบิน .. ไชหงไม่สามารถบินได้ เพราะขนของมันมักจะใช้เพื่อดึงดูดเและให้ความอบอุ่น ในขณะที่ขนของนกสมัยใหม่อยู่บนปลายปีก แต่ของไชหง จะอยู่ที่หาง

ฟอสซิลโฮโลไทป์ (holotype) ของ Caihong juji รวมถึงการวาดเส้นของโครงกระดูกฟอสซิล

Xing Xu จาก Chinese Academy of Science กล่าวว่า “ขนหางมันไม่สมมาตร แต่มันไม่มีขนปีก ซึ่งเป็นลักษณะแปลกประหลาดที่ไดโนเสาร์ไม่เคยรู้จักมาก่อน รวมทั้งนกด้วย “สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าการควบคุมการบินของพวกมัน อาจมีการพัฒนาครั้งแรกด้วยขนหางระหว่างการเคลื่อนไหวทางอากาศบางประเภท”

แต่ในขณะที่ขนของไชหง เป็นไดโนเสาร์ที่มีขนแบบนกชนิดแรก มันมีลักษณะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับไดโนเสาร์สายพันธุ์ก่อนหน้านี้ รวมถึงยอดกระดูกบนหัว Julia Clarke จากมหาวิทยาลัยรัฐเท็กซัส ที่เมืองออสติน กล่าวว่า “การผสมผสานของคุณลักษณะนี้ค่อนข้างผิดปกติ “มีกระโหลกศีรษะแบบเวโลซิแรปเตอร์ (Velociraptor) อยู่บนลำตัวของรูปร่างคล้ายนกที่มีขนฟู”

Eliason กล่าวว่าการผสมผสานระหว่างคุณลักษณะทั้งเก่าและใหม่นี้เป็นหลักฐานของวิวัฒนาการ แนวคิดของคุณลักษณะต่างๆ ที่พัฒนาอย่างอิสระจากกันและกัน “การค้นพบนี้ทำให้เราเข้าใจถึงความเร็วของการพัฒนาคุณลักษณะเหล่านี้” เขากล่าวเสริม

สำหรับ Eliason แล้ว การศึกษายังให้ความสำคัญถึงคุณค่าของข้อมูลขนาดใหญ่ “เพื่อหาสีของขนของไชหง เราเปรียบเทียบเมลาโนโซมของมันกับฐานข้อมูลที่เพิ่มขึ้นของการตรวจวัดเมลาโนโซมนับพันที่พบในนกสมัยใหม่” เขากล่าว

นอกจากนี้ยังขยายความสนใจในการวิจัยของเขาเองอีกด้วย “หลังจากการค้นพบครั้งนี้แล้ว ผมมีความสนใจว่าขนสีรุ้งพวกนี้นั้นเริ่มต้นมาเมื่อไรกันแน่” ..@แมวบ้าตกปลา

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements
แหล่งที่มาarchaeology