เยี่ยม! ฉลามหัวบาตรเป็นปลาที่เข้ามาได้ทั่วจริง ตกปลาแบสในคลองก็ยังเจอ

เรื่องแบบนี้จะไม่มีทางเกิดขึ้นที่ไทย แต่กับออสเตรเลียถือเป็นเรื่องปกติ กับเรื่องที่จะพายเรือออกไปตกปลาใกล้ๆ แล้วได้เจอจระเข้ หรือ ฉลาม ในเขตน้ำจืด โดยเฉพาะ ฉลามหัวบาตร ที่มันชอบที่จะเข้ามาหากินในเขตน้ำจืด ตามแม่น้ำ หรือแม่แต่คลองก็อาจเจอมันได้ ..มีเรื่องราวของปลาด้านล่าง

“ปลาฉลามหัวบาตร (Bull shark) ชื่อวิทยาศาสตร์ Carcharhinus leucas เป็นปลาฉลามชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinidae)”

เป็นปลาที่มีนิสัยดุร้าย กินปลาและสัตว์ต่างๆ ในน้ำเป็นอาหาร รวมทั้งอาจทำร้ายมนุษย์ด้วย พบอาศัยในทะเลเขตอบอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก โดยเฉพาะบริเวณชายฝั่ง ขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 3.5 เมตร น้ำหนักหนักได้ถึง 316.5 กิโลกรัม

เป็นปลาฉลามชนิดที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดได้ โดยพบเป็นบางครั้งในแม่น้ำใหญ่ที่ห่างจากทะเลนับร้อยกิโลเมตร เช่น แม่น้ำมิสซิสซิปปี, แม่น้ำอเมซอน, แม่น้ำแซมบีซี, แม่น้ำไทกริส, แม่น้ำแยงซี, ทะเลสาบนิคารากัว ในประเทศไทยเช่น แม่น้ำโขง, แม่น้ำแม่กลอง, แม่น้ำสาละวิน เป็นต้น โดยปลาจะว่ายเข้ามาจากทะเล มีรายงานว่าอยู่ห่างจากทะเลมากที่สุด คือ แม่น้ำอเมซอน ในทวีปอเมริกาใต้ พบอยู่ห่างจากทะเลถึง 2,200 ไมล์

ปลาฉลามหัวบาตร เป็นปลาที่ล่าเหยื่อเป็นอาหาร สามารถที่จะกินปลาขนาดใหญ่เช่น ปลากระเบน หรือแม้แต่พวกเดียวกันได้ โดยฟันที่อยู่กรามล่างจะมีลักษณะแหลมยาวกว่าฟันที่อยู่กรามบน เพราะใช้ในการกัดเหยื่อก่อน ก่อนที่ฟันกรามบนจะงับซ้ำลงมาเพื่อไม่ให้เหยื่อหลุด ในบางครั้งจะสะบัดเหยื่อให้ขาดเป็น 2 ท่อนด้วย โดยแรงกัดที่วัดได้วัดได้สูงสุดถึง 1,250 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว โดยมักใช้หัวพุ่งชนก่อนกัดเหยื่อ อีกทั้งนับได้ว่าเป็นสัตว์ที่มีฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนสูงที่สุดในบรรดาสัตว์โลกทั้งมวลอีกด้วย

Jaws “รู้หรือไม่? ในเหตุการณ์ปลาฉลามโจมตีที่ชายฝั่งเจอร์ซีย์ ค.ศ. 1916 เป็นการจู่โจมมนุษย์โดยปลาฉลามหัวบาตรที่ขึ้นชื่ออย่างมาก และเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ ปีเตอร์ เบนชลีย์ นักเขียนชาวอเมริกัน แต่งเป็นนวยายเรื่อง Jaws ซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็นภาพยนตร์ในชื่อเดียวกันที่โด่งดังมากในปี ค.ศ. 1975”

ด่างเกยไชย ด่างบางมุด เรื่องจริงเป็นยังไงกันแน่

Advertisements

13 เรื่องน่ารู้ของนากแม่น้ำ สัตว์ตลกที่ยุ่งมากที่สุดในแหล่งน้ำ

Advertisements