สตีฟ แฮร์ริส จูเนียร์ นักธนูชาวมอนทาน่า ยิงและตกปลา “ฉลามปากเป็ดอเมริกา” ที่มีสถิติโลกเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ปลามีมหึมาหนัก 92 ปอนด์ ยาว 67 นิ้ว และมีเส้นรอบวง 37 นิ้ว ฉลามปากเป็ดอเมริกาเป็นสัตว์พื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในน่านน้ำอเมริกาเหนือตั้งแต่ยุคครีเทเชียส และเป็นที่รู้จักกันดีจากปากที่คล้ายไม้พาย
สตีฟ แฮร์ริส จูเนียร์ เล่าว่าเขาชอบเที่ยวกลางแจ้ง และเริ่มเล็งเป้าหมายไปที่ฉลามปากเป็ดอเมริกา มาตั้งแต่เขาอายุ 13 ปี โดยปกติแล้วเขาจะจับปลาชนิดนี้ได้ปีละตัว และทำอย่างนี้มาเป็นเวลา 30 ปี ติดต่อกัน แต่บางปีเขาก็จับได้ 3 – 4 ตัว และถึงแม้ปกติจะมีการห้ามกำหนดเป้าหมายที่ปลาหลายชนิดสำหรับ Bow Fishing แต่ดูเหมือนฉลามปากเป็ดอเมริกาจะเป็นข้อยกเว้น แต่ถึงงั้นก็ต้องขอใบอนุญาตก่อน
สถิติโลกเดิมเป็น แอนดรูว์ ไมเยอร์แห่งเนบราสก้า เขายิงฉลามปากเป็ดอเมริกาขนาด 89 ปอนด์ ซึ่งเกิดขึ้นในปี 2019 จนในปี 2021 เป็นสตีฟ แฮร์ริส จูเนียร์ ที่ยิงขนาด 92 ปอนด์ จนได้เป็นเจ้าของสถิติโลกคนล่าสุด
“ปลาฉลามปากเป็ด (American paddlefish) ชื่อวิทยาศาสตร์: Polyodon spathula เป็นปลากระดูกแข็งในอันดับปลาสเตอร์เจียน (Acipenseriformes) ถือกำเนิดมาตั้งแต่ยุคครีเตเชียสกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว พบในหลายพื้นที่ของสหรัฐอเมริกา ในลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปีและแม่น้ำมิสซูรี รวมถึงแม่น้ำโอไฮโอ ปลาฉลามปากเป็ดมีความยาวได้ถึง 6 ฟุต และมีน้ำหนักเกือบถึง 100 กิโลกรัม โดยสถิติตัวที่ใหญ่ที่สุดบันทึกได้ในปี ค.ศ. 1916 มีความยาว 1.96 เมตร น้ำหนัก 90 กิโลกรัม”
Advertisements
ความคุ้มครองทางกฎหมาย
ปัจจุบันมีการคุ้มครองโดยกฎหมายระดับนานาชาติ โดยเป็นสัตว์ในบัญชีหมายเลข 2 (Appendix II) ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ (CITES) ห้ามส่งออกหรือนำเข้าโดยปราศจากใบอนุญาต ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย
ฉลามปากเป็ดเป็นปลาที่ใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่ง ตอนนี้สูญพันธุ์ไปแล้วในพื้นที่ 4 รัฐของอเมริกา เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป และการสร้างเขื่อนขวางกั้นแหล่งน้ำที่ปลาจะว่ายทวนน้ำขึ้นไปวางไข่ไม่ได้ และการทำบันไดปลาโจนไม่สามารถช่วยปลาชนิดนี้ได้ อีกทั้งการลักลอบจับเนื่องจากมูลค่าทางเศรษฐกิจที่สูง
และหากปลาไม่สามารถวางไข่ได้ก็จะแก่และตายไปตามอายุขัย แม้ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ด้วยวิธีการผสมเทียม และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่เลี้ยงให้รอดได้ยาก เนื่องจากเป็นปลาที่ชอบกระโดด อ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพน้ำ อีกทั้งระบบเผาผลาญอาหารในร่างกายก็เป็นไปอย่างรวดเร็วด้วย จึงเป็นปลาที่ต้องกินอาหารอยู่แทบตลอดเวลา …สถานะการอนุรักษ์คือ “ไม่มั่นคง”