ปลากะสง (อังกฤษ: Blotched snakehead, Forest Snakehead) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa lucius อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae)
ลักษณะเด่น เส้นข้างลำตัวลดต่ำลงมา 2 แถว บริเวณเกล็ดที่ 18 – 20 ความกว้างระหว่างตาน้อยกว่าความยาวของจะงอยปาก มีเกล็ดในแนวเส้นข้างลำตัว 61 –66 เกล็ด ส่วนหัวแบนลง จะงอยปากค่อนข้างแหลม
ส่วนหัวเล็กหน้าผากเว้าลาด ตาเล็ก ปากกว้าง จะงอยปากเรียวงอนขึ้นเล็กน้อย รูปร่างป้อม ครีบหลังและครีบก้นค่อนข้างใหญ่ ครีบอกและครีบท้องเล็ก เกล็ดเล็ก ตัวด้านบนมีสีน้ำตาลเข้มอมเหลือง หรือเขียวมะกอกคล้ำ ที่ข้างแก้มมีแต้มสีคล้ำใหญ่ดูคล้ายดวงตา มีแถบสีคล้ำตามแนวยาวพาดตั้งแต่หน้าลูกตาไปถึงกลางลำตัวบนตัวมีลายประดำด่างตลอด ด้านท้องสีจางมีสีประคล้ำทั่ว ครีบสีคล้ำมีจุดสีจางกระจาย
- ขนาด : พบใหญ่สุด 40 ซม. ทั่วไป 20 – 25 ซม.
- ที่อยู่อาศัย : อาศัยในแหล่งน้ำนิ่งแม่น้ำ และลำธารหรือน้ำตก พบทั่วไปทุกภาคจนถึงเกาะบอร์เนียว
- นิสัยการกินอาหาร : กินปลาขนาดเล็ก กุ้งฝอย
- ฤดูการวางไข่ : วางไข่ในช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม กันยายนและธันวาคม
- วิธีทำการประมง : ข่าย แห ลอบ เบ็ดราว ฉมวก
- ประโยชน์ : ปรุงอาหาร, แปรรูป, สวยงาม
นิยมเอามาบริโภคสดและตากแห้งเหมือนปลาในวงศ์ปลาช่อนทั่วไป อีกทั้งสามารถเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้ ซึ่งพฤติกรรมในที่เลี้ยงดุร้ายก้าวร้าว และชอบกระโดด
ปลากระสง ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น “ปลากระจน” ในภาษาอีสาน หรือ “ปลาช่อนไช” ในภาษาใต้ ถ้าน้าๆ อยากจะตกสามารถใช้วิธีตกแบบเดียวกับปลาช่อนได้ เพราะพวกมันมักจะอยู่แหล่งเดียวกัน แต่จำนวนของกะสงจะมีน้อยกว่า จึงเจอได้ยากกว่าเท่านั้นเอง
ตกปลากระสงด้วยเทคนิค ” JIKA RIG “
อ่าน : ปลาช่อน Snakehead Fish
อ่าน : ปลาช่อนงูเห่า มีพิษ กัดคนตายจริง ..?
อ่าน : ปลาช่อนข้าหลวง ปลาช่อนที่พบได้เฉพาะภาคใต้ ?