ตอนนี้นักวิจัยได้ทราบ ว่าหนอนเลือดที่อยู่ในสกุล Glycera มีเขี้ยวที่ประกอบไปด้วยคริสตัลทองแดง 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีความทนทานมาก โดยเขี้ยวหนึ่งชุดจะมีอายุการใช้งานประมาณ 5 ปี
เขี้ยวของหนอนเลือดแข็งแกร่งพอที่จะกัดผ่านเนื้อหนัง เปลือกหรือโครงกระดูกภายนอก แล้วฉีดพิษเข้าไปในเหยื่อของพวกมันได้ ด้วยพิษของมันจะทำให้เหยื่อเป็นอัมพาต และเขี้ยวทองแดงของพวกมันอาจทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ช่วยเพิ่มความเร็วของพิษอีกด้วย
วิธีการที่หนอนเลือดสร้างเขี้ยว
ไม่ใช่หนอนเลือดทุกตัวจะมีเขี้ยวแบบนี้ได้ เพราะจากการวิจัยก็พบว่ามีเพียงส่วนน้อยที่ควบคุมพลังของโลหะได้ อาจเพราะเป็นเรื่องยากที่จะรวบรวมธาตุโลหะให้เพียงพอ และยังต้องรวมเข้ากับเขี้ยวทั้งสี่ของมัน .. แต่หากพวกมันรวบรวมได้มากพอ ปัญหาที่สองคือเปลี่ยนให้เป็นเขี้ยวได้ยังไง
และนักวิจัยก็รู้มานานแล้วว่า หนอนเลือดมีความสามารถดูดซับทองแดงได้จากตะกอน ซึ่งหากจะเกิดจากน้ำขึ้นน้ำลง และหากแก้ไขปัญหาแรกได้แล้ว สิ่งที่นักวิจัยอยากทำมากที่สุดก็คือวิธีทำให้เขี้ยวธรรมดากลายเป็นเขี้ยวทองแดง
กุญแจสำคัญคือ สิ่งที่เรียกว่า “MTP (multi-tasking protein)” ซึ่งมีหน้าที่หกประการแยกจากกัน และเป็นสิ่งที่สร้างเขี้ยวที่น่ากลัวเหล่านั้น “เราไม่เคยคาดหวังว่าโปรตีนที่มีองค์ประกอบง่ายๆ เช่นนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไกลซีนและฮิสทิดีน จะทำหน้าที่หลายอย่าง แถมกิจกรรมก็ไม่เกี่ยวข้องกัน” Waite (ศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย) กล่าวในแถลงการณ์
หนอนเลือดได้ชื่อมาจากการกัดอย่างรุนแรง แต่จากข้อเท็จจริงที่ผิวหนังของพวกมันโปร่งแสงมากจนมองเห็นของเหลวในร่างกายที่อุดมด้วยเฮโมโกลบินอยู่ด้านล่าง
พวกมันสามารถเติบโตได้ถึง 25 เซนติเมตร (1.2 ฟุต) และในห้องทดลองของ Waite ได้ศึกษาพวกมันมาเป็นเวลาสองทศวรรษแล้ว และเห็นได้ชัดว่าเขาชื่นชมความคิดริเริ่มทางชีววิทยาของพวกมัน
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าเขาจะไม่ค่อยชอบบุคลิกของพวกมันมากนัก เพราะสังเกตว่า “พวกนี้เป็นหนอนที่ไม่พึงปรารถนาอย่างยิ่ง เนื่องจากพวกมันอารมณ์ไม่ดีและถูกยั่วยุได้ง่าย เมื่อพวกมันพบหนอนตัวอื่น พวกมันมักจะต่อสู้โดยใช้ขากรรไกรทองแดงเป็นอาวุธ”