หายาก ‘ปลาช่อนดำ’ ที่พบในไทยคืออะไรกันแน่

หลังจากที่เริ่มรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกลับปลาไว้ในเว็บ Fishingthai เลยทำให้ได้รู้ว่ามีปลามากมายแค่ไหนที่เราไม่รู้จัก และหนึ่งในนั้นก็เป็นปลาช่อนดำ ซึ่งผมไม่รู้เลยว่ามีอยู่จริงๆ และมันก็มีในไทยด้วย โดยปลาช่อนดำ มันแทบจะไม่ต่างจากปลาช่อนนาบ้านเราเลย เดี๋ยวเรามาเรียนรู้เรื่องของมันไปด้วย

ปลาช่อนดำ

ปลาช่อนดำ (อังกฤษ: Black snakehead, Manu) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa melasoma อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) มีรูปร่างเหมือนปลาช่อน (C. striata) แต่ลำตัวผอมเพรียวกว่า หัวโต ตาสีดำ

รูปร่างและสีของปลาช่อนดำ มันจะไม่ใช่สีดำทั้งหมดเหมือนชื่อ เพราะสีลำตัวค่อนข้างแปรปรวนตั้งแต่สีน้ำตาลซีดจนถึงน้ำตาลเข้มน้ำตาลอมเขียวหรือเกือบดำ ตัวอย่างบางตัว มีแถบสีเข้มที่สีข้างด้านบนด้วยซ้ำ แต่รูปร่างเด่นชัดคือ ตัวเรียวเพียว ครีบหลังและครีบก้นยาวยื่นออกไปถึงครีบหาง ครีบหลังก้นและหางมีสีขาว ดวงตาบางครั้งเป็นสีดำสนิท

ปลาช่อนดำ
ตัวอย่างขนาด 20 ซม. ในลำธารหินซึ่งไหลลงสู่ป่าพรุน้ำจืดที่ยะโฮร์คาบสมุทรมาเลเซีย

ปลาช่อนดำ เมื่อเทียบกับปลาช่อนนา (ปลาช่อนไทย) ถือว่ามีขนาดไม่ใหญ่ เพราะมันโตที่สุดแค่ 30 เซนติเมตร แต่โดยปกติอยู่ราวๆ 20 กว่าเซนติเมตรเท่านั้น อาหารของมันคือ กินปลาขนาดเล็ก ลูกกุ้ง และสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ไม่ต่างจากปลาช่อนธรรมดา

ตัวอย่างสีเข้ม 25 ซม. จาก Bukit Timah ประเทศสิงคโปร์

มันเป็นปลาที่ก้าวร้าว หรือก็คือดุร้ายพอสมควร หากจะเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มันมีแนวโน้มสูงที่จะโจมตีปลาตัวอื่น จึงเป็นปลาที่ควรเลี้ยงเพียงตัวเดียว หรือเป็นคู่ที่เป็นปลาชนิดเดียวกัน

ตัวอย่างในลำธารทรายในป่าพรุน้ำจืดที่อาศัยอยู่ในสิงคโปร์
Advertisements

แหล่งที่พบ

Advertisements

จริงๆ ปลาช่อนดำ พบได้น้อยมากในประเทศไทย เพราะในธรรมชาติสามารถพบได้เฉพาะป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส และแม่น้ำโกลก ในต่างประเทศพบได้ตั้งแต่มาเลเซีย, สิงคโปร์ไปจนถึงอินโดนีเซีย

อาจพบในแอ่งหินที่ฐานของน้ำตกขนาดเล็ก, ปลายน้ำเป็นป่าพรุน้ำจืด
ตัวเต็มวัย 25 ซม. แฝงตัวอยู่ในสระโคลนที่ล้อมรอบด้วยลูกปลาที่เพิ่งฟัก
Advertisements

การเลี้ยงเพื่อเป็นปลาสวยงาม ของปลาช่อนชนิดนี้ ดูเหมือนจะยังไม่ค่อยได้รับความนิยมในไทย อาจเพราะว่ามันหายาก และสีหลักๆ ของมันก็ดูธรรมดา เลยไม่ค่อยสวยเท่าไร แถมยังเลี้ยงค่อนข้างยาก เนื่องจากการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมไม่ค่อยได้ และยังไม่มีรายงานความสำเร็จเกี่ยวกับการผสมพันธุ์ในสภาพกักขัง

อ่านเรื่องของปลาช่อนชนิดอื่น

Advertisements