งานวิจัย 40 ปี ชี้ ‘นกในแอมะซอน’ กำลังปรับตัวจนมีขนาดเล็กลง

วันนี้จะมาขอพูดถึงงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่น่าสนใจ และผมเองก็จะพยายามสรุปมันออกมาให้ง่ายต่อการฟัง มันเป็นเรื่องที่นักวิจัยค้นพบว่า นกในแอมะซอนกำลังปรับตัวให้มีขนาดเล็กลงอย่างต่อเนื่อง มันเป็นงานวิจัยที่ใช้เวลามานานกว่า 40 ปี และได้ถูกนำเสนอเอาไว้ในวารสารวิทยาศาสตร์ ไซเอินซ แอดวานซ (science advances) ...เอาละเดี๋ยวมาลองรับฟังกันดีกว่า

ในช่วงเวลา 40 ปีที่ผ่านมา นักวิจัยได้ศึกษาข้อมูลนกเขตร้อน 77 สายพันธุ์ พวกเขาพบสิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่ง นั้นคือนกทุกตัวได้สูญเสียมวลกาย โดยบางสายพันธุ์สูญเสียน้ำหนักไปเกือบ 2% ต่อทศวรรษ หนึ่งในสามของสายพันธุ์ที่ศึกษาก็มีปีกที่ยาวขึ้นเช่นกัน

เคยมีเอกสารงานวิจัยหลายฉบับรายงานว่า “นกมีขนาดเล็กลง” แต่เนื่องจากนกตัวอย่างที่อยู่ในงานวิจัยชิ้นนั้นเป็นนกอพยพ จึงมีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดความสับสนที่อาจทำให้นกตัวเล็กลง เช่น เกิดจากการล่าสัตว์ การใช้ยาฆ่าแมลง หรือการสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัย

แต่จากการศึกษาใหม่ล่าสุด ที่ดำเนินการกับนกที่ไม่อพยพย้ายถิ่นในป่าฝนอันบริสุทธิ์ที่สุดแหล่งหนึ่งของโลก ซึ่งก็คือ “ป่าแอมะซอน” ซึ่งผลลัพธ์ก็เหมือนเดิม พวกเขาพบว่า “นกมีขนาดเล็กลงจริง” และในตอนนี้ สภาพอากาศที่อุ่นขึ้นเป็นเพียงสาเหตุเดียวที่ทราบในตอนนี้

การวิจัยนี้เกิดขึ้นที่ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพของแอมะซอน ในประเทศบราซิล ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ดำเนินมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 (1970) โดยมีเป้าหมายเพื่อเรียนรู้ผลกระทบของการตัดไม้ทำลายป่า ที่มีผลต่อระบบนิเวศ นักวิจัยได้ใช้พื้นที่ห่างไกลที่สุดเป็นพื้นที่ศึกษา

และเพราะเป็นการวิจัยที่ต้องใช้เวลายาวนาน จึงมีนักวิจัยหลายต่อหลายรุ่น ที่ต้องคอยจับและตรวจสอบนกในพื้นที่ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน พวกเขาจับนกด้วยตาข่าย ชั่งน้ำหนักและวัดขนาดปีกของพวกมัน จนตอนนี้พวกเขาวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับนก 77 สายพันธุ์ ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา และสรุปได้ว่าพวกมันตัวเล็กลงจริงๆ และหนึ่งในสามของพวกมันยังมีปีกที่ยาวขึ้นอีกด้วย

นักวิจัยเชื่อว่าความร้อนที่เพิ่มขึ้นของโลก อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงนี้ เพราะตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 (1970) ภูมิภาคนี้อุ่นขึ้น 1.65 องศาเซลเซียส ในฤดูแล้ง และ 1.0 องศาเซลเซียส ในฤดูฝน นอกจากนี้ ฤดูฝนก็เริ่มมีความชื้นมากขึ้น และฤดูแล้งก็แห้งแล้งมากขึ้นเช่นกัน

Advertisements

“นกสูญเสียมวลมากขึ้นอย่างรวดเร็วในฤดูแล้งหรือฤดูฝน นี่อาจเป็นการตอบสนองระยะสั้นต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม เช่น การขาดน้ำฝน ทำให้จำนวนแมลงที่นกกินมีจำนวนลดลง และเป็นผลต่อเนื่องจนเป็นเหตุให้นกต้องปรับตัว”

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ สามารถเปลี่ยนแปลงร่างกายของนกได้อย่างไร? คำอธิบายที่น่าเชื่อถืออย่างหนึ่งที่นักวิจัยพูดถึงคือ หลักการอายุ 150 ปี ที่เรียกว่ากฎของเบิร์กมันน์ (Bergmann’s rule) ที่ระบุว่า สิ่งมีชีวิตจะมีขนาดเล็กลง เมื่ออยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร ซึ่งคิดว่าหากมีร่างกายที่ใหญ่จะทำให้รักษาความอบอุ่นได้ดีกว่า ในทางกลับกันหากร่างกายเล็กลงจะทำให้รักษาความอบอุ่นไม่ดี

ด้วยกระบวนการเดียวกันนี้ อาจใช้ได้ผลในแอมะซอน นั้นเพราะอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น จึงคาดเดาได้ว่า แอมะซอนน่าเข้าใกล้เส้นศูนย์สูตรมากขึ้น จึงทำให้สัตว์มีขนาดเล็กลงนั้นเอง

นักวิจัยกล่าวเพิ่มเติมว่า ความยาวของปีกที่เพิ่มขึ้นนั้นน่าสนใจมากกว่า เพราะมันยากที่จะหาทฤษฎีมารองรับว่าทำไมนกจึงมีปีกที่ยาวขึ้น แต่ก็มีคำแนะนำว่า ในตอนนี้นกอาจต้องบินให้ไกลขึ้น

และนักวิจัยเองก็ไม่แน่ใจว่า การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากแรงกดดันทางวิวัฒนาการหรือไม่? หรืออาจเป็นลักษณะเฉพาะส่วนบุคคลเพื่อให้ได้เปรียบในแข่งขัน หรือนกมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเมื่อพวกมันอายุมากขึ้น ซึ่งก็เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป …ทฤษฎีทั้งหมดที่พูดไป ถือว่าเป็นไปได้ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานมารองรับ …และนี่คือสิ่งที่เรารู้ในตอนนี้

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements
แหล่งที่มาnewscientist