Agus Arianto หัวหน้าหน่วยงานอนุรักษ์ของจังหวัดอาเจะห์ กล่าวว่า เธอถูกพบว่าอ่อนแอมากโดยมีบ่วงที่ฝังอยู่ในงวงที่เกือบขาดของเธอ ซึ่งพวกเราพบเธอในวันอาทิตย์ ในเมืองอาลู เมอรักซา หมู่บ้านในป่าในเขตอาเจะห์
“เห็นได้ชัดว่าสิ่งนี้คือการลักลอบล่าสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์เพื่อหารายได้” Arianto กล่าวในแถลงการณ์ “เราจะร่วมมือกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายเพื่อสอบสวนเรื่องนี้”
Arianto กล่าวว่าลูกช้างถูกฝูงทิ้งไว้ข้างหลังเนื่องจากอาการที่ทรุดโทรมของเธอ หลังจากถูกจับด้วยกับดักซึ่งเป็นผู้ลักลอบล่าสัตว์ เขากล่าวว่า “เจ้าหน้าที่สัตว์ป่าจำเป็นต้องตัดงวงครึ่งหนึ่งของลูกช้างเพื่อรักษาชีวิต”
นักอนุรักษ์กล่าวว่าการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ได้ทำให้การลักลอบล่าสัตว์ในสุมาตราที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากชาวบ้านหันไปล่าสัตว์ด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจที่ย่ำแย่
โดยในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่พบช้าง “ไม่มีหัว” ที่สวนปาล์มในอาเจะห์ตะวันออก ตำรวจจับกุมผู้ต้องสงสัยลักลอบล่าสัตว์พร้อมกับผู้ต้องหา 4 คนในข้อหาซื้องาช้างจากสัตว์ที่ตายแล้ว พวกเขาจะต้องโทษจำคุกสูงสุดห้าปีและปรับ 100 ล้านรูเปียห์ (7,000 ดอลลาร์) หากพบว่ามีความผิดจริง
“ในช่วง 9 ปีที่ผ่านมาเฉพาะในเขตอาเจะห์ตะวันออกเพียงแห่งเดียว จำนวนช้างสุมาตราที่เสียชีวิตจากการถูกดักจับและวางยาพิษมีถึง 25 ตัว”
สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติหรือ IUCN ได้ยกสถานะของช้างสุมาตราจากการใกล้สูญพันธุ์เป็น “เสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์” ในบัญชีแดง ปี 2012
ข้อมูลของกระทรวงป่าไม้และสิ่งแวดล้อมของชาวอินโดนีเซียแสดงให้เห็นว่าประชากรช้างสุมาตราลดลงจาก 1,300 ตัว ในปี 2014 เป็น 693 ตัว ..ลดลงเกือบ 50% ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา
ข้อมูลเพิ่มเติมของช้างสุมาตรา
ช้างสุมาตรา (Sumatran elephant) ชื่อวิทยาศาสตร์ Elephas maximus sumatranus เป็นชนิดย่อยของช้างเอเชีย (E. maximus) ชนิดหนึ่ง จัดเป็นช้างที่พบได้เฉพาะบนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น
ช้างสุมาตรา มีรูปร่างที่เล็กกว่าช้างเอเชียชนิดอื่นๆ มีลำตัวสีเทาจางและมีรอยด่างน้อยกว่าช้างเอเชียชนิดอื่น มันมีจุดสีชมพูเฉพาะบนใบหูเท่านั้น โดยช้างสุมาตราตัวเต็มวัยมีความสูงจากพื้นถึงไหล่วัดได้ 2 – 3.2 เมตร น้ำหนักระหว่าง 2,000-4,000 กิโลกรัม มักอาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าและถิ่นที่อยู่ปกคลุมด้วยต้นไม้บางส่วน
แม้ปัจจุบันจะมีการตั้งศูนย์อนุรักษ์ช้างสุมาตราขึ้นภายในอุทยานแห่งชาติเวย์แคมบัส แต่ทว่ารอบๆ ศูนย์อนุรักษ์ก็ยังคงมีปัญหาการไล่ล่าอยู่ ในระยะแรกๆ ที่มีการตั้งศูนย์อนุรักษ์ขึ้นมา ก็ปรากฏมีพรานป่าแอบเข้ามาลักขโมยช้างออกไปฆ่า จนมีการปะทะกับเจ้าหน้าที่หลายครั้ง และได้รับความเสียหายทั้งสองฝ่าย จึงมีการคล้องโซ่ช้างไว้เพื่อให้ได้ยินเสียงในเวลากลางคืน มิได้เป็นไปเพื่อการล่ามหรือกักขังแต่อย่างใด