เรื่องนี้เป็นปลากระโทงสีน้ำเงินที่มาเกยตื้นที่หาดใน Pembrokeshire เมื่อเดือนกันยายนปี 2016 นับเป็นครั้งที่สองที่มีการเจอปลากระโทงมาเกยตื้นตายที่ชายหาด ด้วยความยาวถึงสี่เมตรทำให้มันเป็นที่น่าสนใจของนักวิทยาศาสตร์มาก พวกเขาต้องการนำมันไปเก็บรักษาไว้เพื่อศึกษาต่อไป
ของเก่าที่กลับไปสดใหม่ได้
ที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นที่เก็บตัวอย่างปลาและสัตว์ทะเลนับแสนตัว โดยพวกมันเก็บรักษาด้วยเอทานอลหรือฟอร์มาลิน โดยฟอร์มาลินเป็นของเหลวใสที่เกิดจากการละลายก๊าซฟอร์มาลดีไฮด์ในน้ำ มันสร้างการเชื่อมโยงระหว่างโปรตีนในเนื้อเยื่อสัตว์ทำให้ไม่เกิดการเน่าเปื่อย
อย่างไรก็ตามแทนที่จะย้ายปลากระโทงสีน้ำเงินไปแช่ในเอธานอลเพื่อเก็บรักษา นักวิทยาศาสตร์ได้เลือกวิธีการใหม่ในการดูแลรักษา
ดร. Ralf Britz นักวิจัยปลาที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้อธิบายว่า “เพราะเราจะจัดแสดงมันในที่สาธารณะด้วย ทำให้เราไม่สามารถใช้สารสองชนิดนี้มากถึง 10,000 ลิตร” เอทานอลเป็นสารไวไฟและไม่เหมาะที่จะใช้จำนวนมากและฟอร์มาลินมีกลิ่นไอที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
ทีมงานพยามเก็บปลาในสารที่เรียกว่า “กรีเซอรอล (glycerol) หรืออาจเรียกว่า กลีเซอรีน” ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อคน แต่ปลาที่มีขนาดใหญ่แบบนี้ต้องแก้ไขเรื่องสารฟอร์มาลินก่อน
ในช่วงยุค 1900 ส่วนมากจะใช้ฟอร์มาลดีไฮด์ในการเก็บรักษามากกว่าเอทานอล และยังคงใช้มาจึงถึงทุกวันนี้ ระหว่างการขนส่งและจัดแสดงปลากระโทง ได้ทำให้รูปทรงมันเสียไปบ้าง แต่เพราะกลีเซอรอล มันสามารถทำให้ส่วนที่บุบกลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง และยังช่วยให้สีของมันเข้มขึ้น
ต้องแช่ไว้สามสัปดาห์
ปลากระโทงสีน้ำเงินตัวนี้ถูกเก็บไว้ในคลังสะสมของพิพิธภัณฑ์ตั้งแต่เดือนกันยายน ปี 2016 ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมา มันถูกแช่แข็งเอาไว้ และเมื่อถึงเวลาจัดแสดง นั้นคือเวลาการละลายน้ำแข็ง
หลังจากใช้เวลาเกือบครึ่งวันในการละลายน้ำแข็ง กระบวนการซ่อมแซมได้เริ่มขึ้น มันเริ่มเหมือนลักษณะเดียวกับตัวอย่างอื่นๆ ที่แช่ในของเหลว แต่คราวนี้ต้องใช้สารละลายฟอร์มาลินที่มีกลีเซอรอลผสม 10%
ปลาจะถูกวางในถังขนาดใหญ่ที่บรรจุสารละลาย แต่ฟอร์มาลินจะทะลุผิวของปลาไปได้เพียงสามถึงสี่เซนติเมตรเท่านั้น ทำให้นักวิทยาศาสตร์ต้องใช้เข็มฉีดเข้าไปในร่างกายปลา
เพื่อให้ครอบคลุมทุกส่วนก่อนจะเริ่มเน่าและย่อยสลาย ..ทีมงานเก็บปลาไว้ในถังฟอร์มาลินเป็นเวลาอย่างน้อยสามสัปดาห์เพื่อให้แน่ใจว่าปลาได้รับการซ่อมแซมอย่างสมบรูณ์
เก็บในที่ปลอดภัย
ขั้นตอนต่อไปคือการเพิ่มปริมาณกลีเซอรอลในถังอย่างต่อเนื่องจาก 10% เป็น 30% ซึ่งมันจะค่อยๆ ซึมเข้าสู่ร่างกายของปลา ตอนนี้เรียกได้ว่าตัวมันจะลอยอยู่ในกลีเซอรอล แต่ด้วยเทคนิคนี้จะทำให้มันดูดซับสารละลายอย่างช้าๆ
เมื่อความเข้มข้นถึง 65% ตัวอย่างปลาจะอยู่ในสภาพสมดุลและถูกยึดด้วยสายรัดสแตนเลส ซึ่งจะอยู่อย่างถาวรเพื่อ ป้องกันไม่ให้ปลาเคลื่อนไปมา
ปลาที่สาบสูญ
ปลากระโทงสีน้ำเงินเป็นหนึ่งในปลาที่มีน้ำหนักมากสุดในทะเล เป็นไปได้ว่าอาจจะมากกว่า 800 กิโลกรัม สายพันธุ์นี้ถูกล่าอย่างหนักทั้งเกมกีฬาและเพื่อเป็นอาหาร พวกมันถูกคุกคามมาก ล่าสุดมันได้อยู่ในบัญชีแดงของ IUNCN ของสายพันธุ์ที่ถูกคุกคาม
ปลากระโทงสีน้ำเงินมักพบในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของมหาสมุทรแอตแลนติก ดังนั้นการที่มันไปโผล่ที่อังกฤษ จึงเป็นเหตุการณ์ที่หายากมาก
“ดูเหมือนว่ามันจะหลงมาจากเขตน้ำอุ่นของสหรัฐอเมริกา จนมาถึงที่อังกฤษ” – Ralf กล่าว และคิดว่าไม่น่าเกี่ยวกับสภาวะโลกร้อน พวกมันเพียงแค่หลงทางมา
นับตั้งแต่ปี 2013 พิพิธภัณฑ์แห่งชาติอังกฤษได้มีส่วนร่วมในการรวบรวมข้อมูลสัตว์จำพวกวาฬในอังกฤษ และตอนนี้ได้เป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาพวกมันเพื่อป้องกันเหตุวาฬเกยตื้น สำหรับคนที่สนใจเยี่ยมชมปลากระโทงสีน้ำเงินตัวนี้ ปัจจุบันมันถูกจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติอังกฤษในโซนสัตว์ทะเล