แมงมุมฆ่ามด (Euryopis umbilicata ) พบได้ในออสเตรเลียตะวันออก พวกมันใช้เวลาทั้งวันซ่อนตัวอยู่ใต้เปลือกไม้ของต้นยูคาลิปตัส ก่อนจะออกมาล่าเหยื่อในยามพลบค่ำ มันต่างจากแมงมุมชนิดอื่นๆ ส่วนใหญ่ เพราะพวกมันไม่ได้สานใยเพื่อดักจับเหยื่อ แต่มันมีกลยุทธ์ในการล่าที่มีประสิทธิภาพมากกว่า
พวกมันเป็นนักล่าที่รวดเร็ว มันจะหันหน้าไปทางพื้นดิน ขณะที่อยู่บนลำต้นของต้นไม้ จากนั้นก็นอนรอเหยื่อเข้ามาใกล้พอ ..มดน้ำตาล (Camponotus consobrinus) ที่เดินอยู่บนต้นยูคาลิปตัสเพื่อหาอาหารในตอนเย็น มดตัวนี้มีความยาวประมาณสองเท่าของแมงมุมฆ่ามด แต่ก็มีมวลใกล้เคียงกัน
ระหว่างที่แมงมุมรอ พวกมันจะติดเส้นใยไว้กับลำต้นของต้นไม้ จากนั้นเมื่อมดเข้าใกล้ แมงมุมจะกระโดดขึ้นไปในอากาศ ลากใยเหนียวๆ ไปข้างหลังและทับมดที่ยังไม่ทันระวังตัว
แมงมุมสามารถเคลื่อนที่จากหยุดนิ่งเป็นความเร็วสูงสุด 25.47 เซนติเมตรต่อวินาที (10 นิ้วต่อวินาที) ภายในมิลลิวินาที ซึ่งเร็วจนตาเปล่าแทบมองไม่ทัน .. หลังจากนั้นมดก็หมดโอกาสที่จะหนีไปได้
นักวิจัยสังเกตพฤติกรรมนี้ 60 ครั้ง โดยสังเกตว่ามดทั้ง 51 ตัวที่แมงมุมจับได้สำเร็จ ในการกระโดดครั้งแรกนั้นถูกจับและกินในภายหลัง นั่นทำให้เทคนิคการล่านี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยมีอัตราความสำเร็จในการจับเหยื่อถึง 85%
เหยื่อที่เป็นมดของแมงมุมฆ่ามดนั้นไม่ธรรมดา เนื่องจากมีแมงมุมเพียง 0.3% เท่านั้นที่กินมด การที่จะเชี่ยวชาญเป็นพิเศษสำหรับการล่ามดเท่านั้น จึงเป็นเรื่องที่ผิดปกติอย่างไม่น่าเชื่อในหมู่สัตว์กินเนื้อที่กินสัตว์อื่นเป็นอาหาร