หนูตะเภาและกระต่ายหลายชนิดก็แกล้งตายได้ และยังรวมถึงงู อย่างเช่น งูอินดิโกสีน้ำเงิน (Indigo Snake) ไก่บ้านและเป็ดป่า ฉลามบางชนิดอีกด้วย การแกล้งตายหลายครั้งก็ช่วยชีวิตพวกมันได้ แต่ก็มีหลายครั้งเหมือนกันที่มันไม่ได้ช่วยอะไรเลย แต่มาดูกันว่าการแกล้งตายช่วยพวกมันอย่างไรกัน
เมื่อผู้ล่าใกล้เข้ามา ตั๊กแตนแคระญี่ปุ่น (Pygmy Grasshoppers) จะแกล้งตายโดยงายท้องและกางขาไปตามทิศทางต่างๆ ทำให้กบยากที่จะกลืนมันลงไป
อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาตร์ก็ไม่รู้เกี่ยวกับนิสัยพวกนี้มากเท่าไร เพราะว่าเมื่อเจอผู้ล่าที่ต่างกัน พวกมันก็จะตอบสนองต่างกันบางตัวก็แกล้งตายแต่อีกชนิดมันก็ต้องหนี อาจจะเพราะรู้ว่าการแกล้งตายนั้นไม่ได้ผล
อาจเป็นโอกาสสุดท้าย
การแกล้งตายนั้นหลายครั้งใช้ในกรณีที่มันไม่สามารถหนีไม่ทันแล้ว ซึ่งสัตว์หลายชนิดนั้นมักจะล่าเหยื่อที่ยังไม่ตาย การแกล้งตายของพวกมันก็จะทำให้นักล่าไม่สนใจและล้มเลิกความพยายาม แต่ถ้าเจอพวกที่ไม่สนใจก็นับว่าโชคร้ายมากๆ
แกล้งตายเพื่ออาหารหรือการสืบพันธุ์
การแกล้งตายนั้นส่วนมากใช้สำหรับเอาตัวรอด แต่ก็มีสัตว์บางชนิดที่ใช้มันเพื่ออย่างอื่น อย่างเช่น แมงมุมลาย ตัวเมียมักจะล่าตัวผู้เป็นอาหารด้วย ตัวผู้จึงมักจากลากเอาอาหารมาเพื่อล่อตัวเมีย แล้วมันจะแกล้งตาย เมื่อตัวเมียกินอาหาร ตัวผู้จะกลับมาแล้วผสมพันธุ์อีกครั้ง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจมาก และยังพบในแมลงปอ Moorland อีกด้วย โดยตัวเมียจะหยุดบินและตกลงบนพื้นเพื่อหลบตัวผู้ที่ก้าวร้าว
การป้องกันตัว
การแกล้งตายนั้นอาจจะฟังดูแปลกถ้านึกถึงว่ามันคือการป้องกันตัว แต่มันกลับได้ผล อย่างเช่นแมลงช้างอังกฤษ นักวิทยาศาสตร์พบว่าถ้ามันแกล้งตายนานๆ โอกาสที่มันจะถูกกินโดยนักล่านั้นจะน้อยลงมาก
ในปี 1975 ในการวิจัยพบว่า หมาจิ้งจอกจะนำเป็ดกลับไปที่รังเพื่อกินทีหลัง แต่พวกเป็ดที่แกล้งตายนั้น เมื่อสบโอกาสมันก็จะหนีไปทันที นี่ทำให้เรียกการแกล้งตายว่าเป็นโอกาสสุดท้าย เพราะการกระทำทุกอย่างมีความเสี่ยง อาจจะตายได้แต่ก็ยังมีโอกาสรอดชีวิตเช่นกัน